ความตกลง FTA กรอบ ASEAN…ความหวังช่วยขับเคลื่อนส่งออกไทย
ความตกลง FTA ของอาเซียน โดยเฉพาะ FTA ระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาต่างๆ ได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ที่คาดว่าความตกลงจะสามารถบังคับใช้ได้ในปี 2552 โดยอาจทยอยดำเนินการได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 หลังจากการลงนามความตกลง FTA ในเดือนกุมภาพันธ์และเมษายน 2552 ซึ่งถือเป็นโอกาสให้อาเซียนและไทยใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน เข้าสู่ประเทศคู่เจรจาต่างๆ ได้มากขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 3 กุมภาพันธ์ 2552)
FTA …อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ไทยขาดดุลกับญี่ปุ่นและจีนเพิ่มขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ไทยจะได้รับผลกระทบพอสมควร โดยเฉพาะชิ้นส่วนรถยนต์ที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นและสหรัฐฯซึ่งคาดว่าจะชะลอลงกว่าที่คาดไว้เดิม ทำให้คาดว่ามูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ในปี 2552 อาจจะชะลอลงจากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 21.5 ในปี 2551
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 11 พฤศจิกายน 2551)
FTA ไทย-เปรู : ช่วยกระตุ้นส่งออก ... เสริมฐานะดุลการค้าไทย
การขยายตลาดส่งออกของไทยจากการเปิดเสรีสินค้าภายใต้การเจรจาจัดทำ FTA ไทย-เปรู รวมถึง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ และ FTA อาเซียน-ญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2551-2552 จะช่วยฐานะดุลการค้าของไทยให้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย จากปัจจุบันในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ที่ไทยขาดดุลการค้า 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 23 มิถุนายน 2551)
เอฟทีเออาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี เตรียมลงนามสิงหานี้
การประชุมคณะเจรจาการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ครั้งที่ 22 ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้มีการลงนามพิธีสารเข้าร่วมความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าและการค้าบริการในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-เกาหลี ในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการลงทุนยังไม่คืบหน้า
(กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 24 เมษายน 2551)
จับตาเกาหลีใต้ใช้ประโยชน์จาก FTA : ขยายการลงทุนในอาเซียน-ไทย
การจัดทำความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ คาดว่าจะช่วยให้สินค้าส่งออกของอาเซียนรวมทั้งไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้นในเกาหลีใต้ โดยเฉพาะการแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากจีนที่แย่งส่วนแบ่งตลาดของอาเซียนในเกาหลีใต้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2545-2549) และคาดว่าจะส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดสินค้าของอาเซียนในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 29 มกราคม 2551)
นโยบาย FTA ของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของพรรคเดโมแครต : ผลต่อไทย
หลังจากที่พรรคเดโมแครตของสหรัฐฯ ครองเสียงข้างมากของทั้งสองสภาสหรัฐฯ อาจส่งผลให้การเจรจาเปิดเสรีการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการเจรจา รวมทั้งประเทศไทย ต้องล่าช้าออกไป ถือเป็นปัจจัยลบอีกประการหนึ่งต่อการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ที่เดิมคาดว่า การจัดทำความตกลง FTA ไทย-สหรัฐฯ จะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทยที่ช่วยให้ขยายตลาดสินค้าในสหรัฐฯ ได้มากขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 23 กรกฎาคม 2550)
ม.มหิดล อินเตอร์จัดบรรยาย “ผลกระทบของ FTA ต่อประเทศไทย”
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “ผลกระทบของเขตการค้าเสรี (FTA) ต่อประเทศไทย” โดย ดร.เกียรติ สิทธิอมร เนื้อหาของการบรรยายได้กล่าวถึงภาพรวมของเขตการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
(วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล 25 สิงหาคม 2549)