ไทยพร้อมลงนาม FTA ไทย-ชิลี เพิ่มโอกาสสินค้าไทยรุกตลาดละตินอเมริกา
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในระยะ 5 ปีนับจาก FTA ไทย-ชิลีมีผลบังคับใช้ มูลค่าการค้าระหว่างไทยและชิลีจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 13 ต่อปี ส่งผลให้มูลค่าการค้ามีแนวโน้มขยายตัวประมาณ 1 เท่าตัว จาก 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2556 เป็น 1,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2561
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 12 กันยายน 2556)
FTAไทย-เปรู...อีกหนึ่งย่างก้าวที่น่าจับตามอง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า จากการที่การค้าระหว่างไทยและเปรูเป็นไปในลักษณะที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน และไม่ได้แข่งขันกันโดยตรง เพราะไทยผลิตและส่งออกสินค้าสำเร็จรูป ส่วนเปรูส่งออกสินค้าวัตถุดิบที่ยังไม่ได้แปรรูป จึงเป็นไปได้ว่าความตกลงการค้าเสรีไทย-เปรูที่คาดว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2554
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 17 ธันวาคม 2553)
ยางพาราและผลิตภัณฑ์ : กรอบ FTA ผลักดันส่งออกพุ่ง...นำเข้าเพิ่ม
ยางและผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าเกษตรที่ได้รับอานิสงส์กรอบ FTA ผลักดันการส่งออก เนื่องจากประเทศคู่เจรจาเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ ผนวกกับการพลิกฟื้นของอุตสาหกรรมรถยนต์ส่งผลให้ความต้องการยางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม กรอบ FTA ส่งผลให้การนำเข้ายางและผลิตภัณฑ์ของไทยเพิ่มขึ้นด้วย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 4 สิงหาคม 2553)
สินค้าเกษตรและอาหาร : ผลผลิตลด...ส่งออกพุ่ง อานิสงส์ FTA
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมตลอดทั้งปี 2553 ยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ตามความต้องการสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ยังคงขยายตัว และอานิสงส์จาก FTA กรอบต่างๆที่ยังส่งผลให้การส่งออกเพิ่มขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 29 กรกฎาคม 2553)
FTA กรอบอาเซียน ช่วยดึงดูด FDI … ไทยเผชิญการแข่งขัน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า การเปิดเสรี FTA ภายใต้กรอบอาเซียนต่างๆ จะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมไทยที่สามารถนำเข้าวัตถุดิบ/สินค้ากึ่งสำเร็จรูปเข้ามาใช้ในการผลิตโดยมีอัตราภาษีลดลง ทำให้มีต้นทุนการผลิตลดต่ำลง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 25 มกราคม 2553)
FTA อาเซียน-จีน: โอกาสขยายการค้าของไทยและอาเซียนในมณฑลกว่างซี
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าภายใต้การเปิดเสรีการค้าระหว่างอาเซียน-จีน เป็นโอกาสการขยายช่องทางส่งออกสินค้าของไทยไปยังมณฑลกว่างซีให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผลไม้ไทยที่มีศักยภาพในตลาดจีนเนื่องจากความต้องการในผู้บริโภคชาวจีนที่ขยายตัวมากขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
FTA ปี 2553 : โอกาสและการปรับตัวของธุรกิจไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังประเทศคู่เจรจาควรเร่งปรับปรุงโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับแหล่งกำเนิดสินค้าซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละความตกลง แนวทางหนึ่งคือ การร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีในการสร้างเครือข่ายการผลิตที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำในกระบวนการผลิตจนถึงภาคการส่งออกเพื่อให้สินค้ามีต้นทุนการผลิตต่ำลง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
FTA อาเซียน-จีน...โอกาสขยายธุรกิจบริการของไทย
แนวโน้มธุรกิจบริการของผู้ประกอบการไทยในตลาดจีนคาดว่า ภายใต้ข้อตกลง FTA อาเซียน-จีน ด้านการค้าบริการที่มีกำหนดเปิดตลาดมากขึ้นเป็นลำดับ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาเปิดตลาดรอบที่สองนั้นน่าจะทำให้ไทยและประเทศอาเซียนอื่นๆ มีขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นในตลาดจีน
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
FTA อาเซียน-อียูชะงัก...ขณะที่การส่งออกไทยหดตัวจากภาวะถดถอยของยุโรป
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (FTA อาเซียน-อียู) ที่ต้องยุติลงชั่วคราวอาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย มากนัก เพราะกระบวนการเจรจา FTA จะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจนกว่าจะเสร็จสิ้นซึ่งอาจจะไม่ทันท่วงทีที่จะช่วยกระตุ้นการส่งออกท่ามกลางกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายได้
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )