หัวเว่ยเปิดตัวสองนวัตกรรมล้ำสมัย ในงาน Mobile World Congress ณ กรุงบาร์เซโลนา
ไอ-โม (i-Mo) โมเด็มไร้สายที่เล็กที่สุดในโลก ด้วยขนาดเล็กเท่าพวงกุญแจ ไอ-โมจึงสะดวกต่อการพกพา และสมาร์ทโฟนเครื่องแรกที่ใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์ จะออกวางจำหน่ายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 โดยคาดการณ์ว่ายอดจำหน่ายของสมาร์ทโฟนในปี 2554 จะสูงกว่า 24% ของโทรศัพท์มือถือทั้งหมดทั่วโลก
(หัวเหว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) 28 กุมภาพันธ์ 2552)
หัวเว่ยช่วยเทเลโฟนิกา O2 ขยายเครือข่าย 3จี
บริษัท เทเลโฟนิกา O2 จำกัด ผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่ให้บริการ 3จีในสาธารณรัฐเชก เลือกหัวเว่ย เทคโนโลยี่ ให้เป็นผู้ติดตั้งเครือข่าย UMTS เพื่อขยายพื้นที่การให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ด้วยเทคโนโลยี UMTS/HSDPA ไปยังเมืองต่างๆของประเทศ
(แฟรนคอมเอเชีย, บจก. 22 ธันวาคม 2551)
หัวเว่ยเดินหน้าร่วมผลิตบุคลากรด้านโทรคมนาคม
ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดอบรมเสริมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีโทรคมนาคมแก่นิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าในช่วงปิดภาคการศึกษา ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 วัน ที่ศูนย์ฝึกอบรมหัวเว่ย
(แฟรนคอมเอเชีย, บจก. 29 ตุลาคม 2551)
IDC จัดอันดับหัวเว่ย ครองอันดับหนึ่งโครงการไวแม็กซ์ 16e เชิงพาณิชย์
ปัจจุบันหัวเว่ยมีโครงการติดตั้งเครือข่ายไวแม็กซ์ 16e เชิงพาณิชย์ทั้งสิ้น 29 โครงการ และโครงการทดลองใช้งานอีกกว่า 35 โครงการ ส่งผลให้ไอดีซี (IDC) บริษัทให้บริการข้อมูลและคำปรึกษาทางการตลาดชั้นนำของโลก จัดอันดับให้หัวเว่ยเป็นผู้นำร่วมในตลาดไวแม็กซ์ 16e
(แฟรนคอมเอเชีย, บจก. 13 ตุลาคม 2551)
หัวเว่ยมอบประกาศนียบัตรแก่นิสิตจุฬาฯ
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ (ประทศไทย) จำกัด มอบประกาศนียบัตรแก่นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสสำเร็จหลักสูตร “เทเลคอม เน็ตเวิร์ค” เพื่อต่อยอดความรู้ด้านเทคโนโลยีโครงข่ายโทรคมนาคมนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน
(แฟรนคอมเอเชีย, บจก. 24 กันยายน 2551)
สตาร์ฮับเลือกหัวเว่ยอัพเกรดเครือข่ายเป็น HSPA+
สตาร์ฮับ เซ็นสัญญาแต่งตั้งบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ จำกัด ให้เป็นผู้ขยายและอัพเกรดเครือข่ายบรอดแบนด์เคลื่อนที่ 3.5G ให้เป็น HSPA+ ในราวไตรมาสสองของปี 2552 เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ รวมทั้งรองรับแทรฟิคของข้อมูลขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน
(แฟรนคอมเอเชีย, บจก. 15 สิงหาคม 2551)
หัวเว่ยร่วมกับจุฬาฯ พัฒนาการเรียนรู้เทคโนโลยีโทรคมฯ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด พัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีโครงข่ายโทรคมนาคมต่อยอดความรู้นอกเหนือจากห้องเรียน โดย ทีมผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ยจะร่วมบรรยายและถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงาน
(แฟรนคอมเอเชีย, บจก. 28 กรกฎาคม 2551)
หัวเว่ยมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่ประเทศจีน
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด มอบเงินจำนวน 300,000 บาท แก่ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย เพื่อสมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ ที่เมืองเหวินฉวน ในมณฑลเสฉวน
(แฟรนคอมเอเชีย, บจก. 24 มิถุนายน 2551)