"เอ็กซิมแบงก์"เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง ประคององค์กรฝ่ามรสุมการเงิน
เมื่อถึงจุดที่"เอ็กซิมแบงก์"ต้องเติบโตขึ้นไปอีกขั้น การเพิ่มทุนจึงเป็นแผนงานของแบงก์...ที่ประทับตราไว้บนหัวกระดาษว่า"ด่วนมาก"นั่นเพราะแบงก์แห่งนี้ต้องการทุนเพื่อต่อลมหายใจอีกเฮือก เงินส่วนนี้วางไว้เพื่อขยายธุรกิจ และขับเคลื่อนผู้ประกอบการภาคส่งออกให้เข้มแข็งตามที่รัฐปรารถนา แต่ด้านฟากกระทรวงการคลังในบทพี่เลี้ยงกลับไม่แสดงท่าทีตอบรับแผนเพิ่มทุน ผลจากความไม่ชัดเจนทำให้ "เอ็กซิมแบงก์"ต้องอยู่คนที่เอาตัวรอดไปวัน ๆ ประคองกายไม่ให้ล้มด้วยเงินทุนที่เหลืออย่างจำกัดต่อการดำเนินธุรกิจ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 กุมภาพันธ์ 2550)
"เอ็กซิมแบงก์"กรุยทาง "นกน้อย"เลือก "กิ่งไม้"สร้างโอกาสนักลงทุนขวัญอ่อนหาผลตอบแทน
"นกน้อย"เลือกกิ่งไม้ที่จะเกาะได้ ก็เปรียบเหมือนนักลงทุนที่สามารถเลือกประเทศที่อยากเข้าไปลงทุนได้เช่นกัน เหตุผลสำคัญคือการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน หลังจากกี่ลงทุนในประเทศมีต้นทุนสูงขึ้น การย้ายถิ่นฐานจึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ทำให้ต้นทุนต่ำลง ผู้ประกอบการไทยเองก็มองเห็นโอกาสดังกล่าวเช่นกัน หากแต่ยังขวัญอ่อนเกินไปหากเทียบกับผู้ลงทุนอื่นในโลกนี้ จนอาจนำมาสู่การสูญเสียโอกาสอันดี ทำให้ "ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย" (เอ็กซิมแบงก์) ต้องออกโรงเข้ามาเพิ่มความมั่นใจด้วยบริการ "ประกันความเสี่ยง"ให้นักลงทุนไทยในต่างประเทศเป็นนกที่กล้าลงเกาะกิ่งไม้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มกราคม 2550)
จี้เอ็กซิมแบงก์เคลียร์เงินกู้พม่า 4 พันล้าน
ครป.บุกเอ็กซิมแบงก์ จี้ถามเงินกู้ 4 พันล้าน หวั่นพม่าเบี้ยวหนี้ทำคนไทยต้องรับกรรม แต่นายทุนพม่า –ทุนไทย พุงกาง เชื่อ"แม้ว"เยือนพม่าเกี่ยวข้องกับปัญหาใช้คืน ให้เวลา 7 วัน ไม่เคลียร์บุกทวงถามถึงทำเนียบฯ ด้านกรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ แจงเป็นเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของพม่า มีการเบิกจ่ายและชำระดอกเบี้ยตามปกติ อ้างเป็นการช่วยสร้างงาน และรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการในธุรกิจส่งออกเครื่องจักร รับเหมาก่อสร้าง และปิโตรเคมี ของไทยจำนวนมาก
(ผู้จัดการรายวัน 9 สิงหาคม 2549)
EXIMแบงก์ออกแรงเข็น"เอสเอ็มอี""ปิดจุดอ่อน"ผลักวอลุ่มภาคส่งออก
เอ็กซิมแบงก์ ในยามนี้ถึงจะเหนื่อยแต่ก็ต้องสู้ เพราะไม่เพียงต้องแก้ปัญหา NPL ที่คลังตั้งเกณฑ์ไม่ให้เกิน10% แล้ว ยังต้องเร่งผลักดันผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีออกสู่ตลาดโลก ฟังดูเป็นเรื่องง่ายแต่ทำได้ยากเพราะจุดอ่อนที่สร้างความเหน็ดเหนื่อยให้แบงก์แห่งนี้คือผู้ประกอบการแทบไม่มีความเข้าใจเรื่องการส่งออก ขณะเดียวกันนโยบายรัฐก็ต้องการเห็นภาคส่งออกขยายตัวด้วยบทบาทสำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเอ็กซิมแบงก์ก็เป็นหนึ่งในองค์กรที่ต้องสนองนโยบายดังกล่าว ด้วยเหตุนี้เอ็กซิมแบงก์จึงไม่เพียงแค่เหนื่อย แต่ยังเต็มไปด้วยแรงกดดัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 กุมภาพันธ์ 2549)
เปิดแผนสินเชื่อ 5 ปีธสน.ปล่อยกู้ลงทุนชาติลุ่มน้ำโขง - ปี 48 เป้า 1 แสนล.
ธสน. วางแผนสินเชื่อใหม่ มุ่งปล่อยกู้ให้นักธุรกิจที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง ตามด้วยเอเชียตะวันตกและเอเชียตะวันออก พร้อมทั้งเร่งจัดทำข้อมูลเชิงลึกของแต่ละประเทศ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจ หวังดันไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 พฤศจิกายน 2547)