อียู-จีนบรรลุข้อตกลงส่งออกสิ่งทอฉันมิตร ตรงข้ามกับวิธีใช้ไม้แข็งลูกเดียวของสหรัฐฯ
สหภาพยุโรป(อียู) กับจีนตกลงกันได้แทบจะในชั่วโมงสุดท้าย ในเรื่องการจำกัดสินค้าสิ่งทอส่งออกของแดนมังกรเข้าสู่อียู แม้มันจะเป็นการโอเคกันได้อย่างเคร่งเครียดและเฉียดฉิว แต่ก็ช่างตรงกันข้ามกับวิธีอันเอื้อเฟื้อน้อยกว่าของสหรัฐฯ ซึ่งประกาศตูมจำกัดโควตาสินค้าจีนตามอำเภอใจฝ่ายเดียว แถมความเคลื่อนไหวคราวนี้ยังบังเกิดขึ้น ขณะที่ยุโรปกับอเมริกากำลังแตกแยกกันมากขึ้น ในประเด็นเรื่องจะรับมือกับการผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจของปักกิ่งกันอย่างไร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 มิถุนายน 2548)
วิตกสกุลเงินยูโรจะอยู่รอดหรือไม่ ในภาวะที่อียูประสบวิกฤตล้ำลึก
ประเทศสำคัญๆ ในกลุ่มผู้ใช้สกุลเงินยูโร (ยูโรโซน) กำลังประสบสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่เป็นทิวแถว อิตาลีก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นรอบที่สองในช่วงเวลา 2 ปีเมื่อตอนไตรมาสแรกปีนี้ เยอรมนีก็กำลังดิ้นกระเสือกกระสนอยู่กับอัตราเติบโตซึ่งแสนจะวังเวงขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับตัวเลขสองหลัก และโปรตุเกสที่กำลังต่อสู้กับภาวะถดถอยอยู่เหมือนกัน เพิ่งประกาศว่ายอดขาดดุลงบประมาณของตนจะพุ่งขึ้นเท่ากับ 6.8% ของจีดีพีในปีนี้ หรือกว่าสองเท่าตัวของขีดลิมิต 3% ตามที่กำหนดเอาไว้ในสนธิสัญญาว่าด้วยเสถียรภาพและการเจริญเติบโตซึ่งลงนามกันที่เมืองมาสทริชต์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 มิถุนายน 2548)
จีนใกล้เปิดศึกการค้าสิ่งทอกับUS-EU
จีนขยับใกล้การระเบิดสงครามการค้ากับสหรัฐฯและสหภาพยุโรป เมื่อกระทรวงการคลังแดนมังกรแถลงในวันที่ 30 พ.ค.ว่า จะยกเลิกภาษีส่งออกซึ่งจัดเก็บจากสินค้าสิ่งทอของตนรวม 81 ประเภทตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. หลังจากได้จัดเก็บมานับแต่เริ่มต้นปีนี้ นอกจากนั้นจีนยังจะยกเลิกประกาศในวันที่ 20 พ.ค.ซึ่งเรียกเก็บภาษีส่งออกจากสินค้าส่งทอและเครื่องแต่งกายของตนอีก 74 ประเภทด้วย การแถลงของปักกิ่งคราวนี้ดูจะเป็นการตอบโต้สหรัฐฯกับอียูที่ยังคงเดินหน้ามาตรการจำกัดสิ่งทอจีน ด้วยข้ออ้างว่าผลิตภัณฑ์แดนมังกรทะลักท่วมท้นตลาดของพวกเขา ภายหลังข้อตกลงค้าสิ่งทอแบบจำกัดโควตาหมดอายุลงตอนสิ้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้สหรัฐฯได้ประกาศใช้สิทธิตามมาตรการคุ้มครองตัวเอง กำหนดโควตานำเข้าสิ่งทอจีนรวม 7 ประเภทไปแล้ว ขณะที่อียูก็เรียกร้องเจรจากับจีน ด้วยความมุ่งหมายบีบบังคับให้แดนมังกรยอมจำกัดการส่งออกสินค้าเสื้อผ้าบางประเภทเข้าอียู
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 มิถุนายน 2548)
ฝรั่งเศสลงมติไม่ยอมรับธรรมนูญอียูสหภาพยุโรปซวนเซแต่ยังไม่ถึงกับล้ม
การโห่ร้องอย่างชื่นชมและการเฉลิมฉลองอย่างปรีดาปะทุขึ้นทันที ในกลุ่มรณรงค์เรียกร้องให้ออกเสียง "ไม่ยอมรับ" (non) ซึ่งชุมนุมกันอยู่ในจัตุรัสปลาซ เดอ ลา บาสติลล์ ของกรุงปารีส ตอนเวลา 4 ทุ่มคืนวันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม เมื่อหน่วยเลือกตั้งต่างๆ ปิดการลงคะแนน และบรรดาเครือข่ายโทรทัศน์ของฝรั่งเศสรายงานผลเอ็กสิตโพล ซึ่งต่างทำนายว่าผู้ออกเสียงลงประชามติชาวฝรั่งเศสปฏิเสธเด็ดขาดไม่ยอมรับธรรมนูญฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป(อียู) และเมื่อผลเป็นทางการประกาศออกมาในช่วงชั่วโมงแรกๆ ของวันจันทร์ (30) ก็ปรากฏว่าไม่แตกต่างไปจากเอ็กสิตโพลเท่าใดนัก โดยปรากฏว่า ผู้ออกเสียง 54.9% ลงคะแนน "ไม่ยอมรับ" และมีเพียง 45.1% ลงคะแนน "ยอมรับ" (oui)
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 มิถุนายน 2548)