"Artist Management" ปั้นศิลปิน สร้างเงิน 360 องศา
WHO "IAM" คำถามที่ต้องตอบในวันที่โมเดลการบริหารศิลปินประสบความสำเร็จ ทำชื่อเสียงให้เกิดและรักษามูลค่าให้คงที่ยาวนาน คือหน้าที่หลักของเขา...หากบอกว่า "ข้า" คือผู้อยู่เบื้องหลังทั้งศิลปินทั้งองค์กร สร้างเงินสร้างงานครบวงจร ฟิล์ม-แดน-บีม เรื่อยมาจนโปงลางสะออน ต้นแบบที่จัดการแล้วได้ผล
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มีนาคม 2550)
จับตาทัพหลัง "RS" เมื่อเฮียสั่งลุย!!
เมื่อทัพหน้าอย่าง "เฮียฮ้อ" สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ประกาศอย่างชัดเจนว่ากระบวนการรีแบรนดิ้งของบริษัทอาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) จะต้องปรับไปในทุกองคาพยพขององค์กร มิเพียงแต่โลโก้ที่จะสดใสขึ้นเท่านั้น กระบวนการคิดและการทำงานของขุนพลคนอาร์เอสก็จะต้องเปลี่ยนไปด้วย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
ดิจิตอลมิวสิก ตลาดอนาคตจีเอ็มเอ็มดีเปิดศึกชนอาร์เอสดิจิตอล
2 ค่ายเพลงดังประกาศศึกชิงตลาดดิจิตอลมิวสิก จีเอ็มเอ็มดีเตรียมบุกตลาดเต็มที่ ขอโฟกัสตลาดที่เชี่ยวชาญประสานพันธมิตรรอบด้าน ทำตลาดเชิงรุกดิจิตอลคอนเทนต์แบบเซ็นทริกทั้งออนไลน์และออฟไลน์ หวังกินแชร์กว่า 70%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
เศรษฐกิจฉายแววสดใส สื่อ - บันเทิงไทย เก็บกำไรงาม
ธุรกิจบันเทิงสุดคึกคัก ตั้งแต่สถานีโทรทัศน์ ค่ายเพลง ยันผู้ประกอบการภาคเอกชนรายย่อย ต่างตบเท้ากางตัวเลขแถลงผลการดำเนินการไตรมาส 3 ว่าโตดีไม่มีสะดุด แม้สารพัดปัจจัยลบทั้งการเมืองและเศรษฐกิจจะรุมเร้า แต่มั่นใจปีหน้าต้องดีกว่าปีนี้ พร้อมตั้งเป้าการเติบโตและรายได้ปีหน้าเอาใจผู้ถือหุ้นและสร้างความมั่นใจในตลาดส่งท้ายปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 พฤศจิกายน 2549)
'อาร์เอส' ปรับองศาธุรกิจเข้าที่ สิ่งพิมพ์ - วิทยุ ติดเครื่องเสริมทัพมีเดีย โพรไวเดอร์
อาร์เอส ปรับทัพตามแนวคิด Entertainment Content & Media Provider เริ่มเข้าที่ เดินหน้าสร้างอาณาจักรความบันเทิงครบวงจร โหมปรับลุคส์คลื่นวิทยุในมือยกแผงใหม่หมด พร้อมปิ๊งไอเดียเด็ด 'โฟร์อินวัน' ควบ 4 หัวสิ่งพิมพ์ดัง ภายใต้ชื่อ 'อาร์เอส พับลิชชิ่ง' เร่งเพิ่มอำนาจต่อรองธุรกิจลุยแหลกตลาดสิ่งพิมพ์ นับจากนี้ไปอาร์เอสมีครบ 3 ขา วิ่งฉลุยในธุรกิจโลกบันเทิง ทั้งสิ่งพิมพ์และสื่อวิทยุ หลังจากปล่อยให้ฟากคอนเทนต์บันเทิงและเพลงร้อนแรงแซงหน้าไปก่อน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 ตุลาคม 2549)
หุ้นธุรกิจบันเทิงผลประกอบการผงาดเริงร่าทำกำไรเรียงแถวขยายการลงทุน
ไตรมาส 2 ถือเป็นช่วงเวลาบันเทิงของหุ้นกลุ่มบันเทิงหลังอุตสาหกรรมนี้ฟื้นตัวดีขึ้น ด้วยการผลประกอบการที่โตเกินคาดทำกำไรเรียงแถวแซงหน้าภาพรวมตลาด นักวิเคราะห์คาดสัญญาณการฟื้นตัวยังดีต่อเนื่อง คาดว่าภาคธุรกิจบันเทิงจะขยายการลงทุนเพิ่ม ส่งผลให้ไตรมาส3-4 ผลประกอบการยังดีต่อเนื่อง ผนวกกับเป็นช่วงที่หลายธุรกิจเริ่มใช้จ่ายค่างบโฆษณา ยิ่งเป็นแรงผลักให้หุ้นกลุ่มกลุ่มบันเทิงโต
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 สิงหาคม 2549)
4 ป๋าดันบันเทิง R.S.-เวิร์คพอยท์-ตี 10-AF3 ปรากฏการณ์ปั้นคนให้เป็นดาว
เปิดสูตรเด็ดปั้นดินให้เป็นดาวของ “ป๋าดัน” ตัวจริงเสียงจริงวงการบันเทิงไทย
ทำไม ? น้องเดียว-โปงลางสะออน-ฟิลม์ รัฐภูมิ-แก๊งสามช่า ฯลฯ จึงเป็นที่รู้จักมากมาย แถมทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ
จับตาซูเปอร์สตาร์หน้าใหม่จะเกิดขึ้นมาประดับวงการอีกเพียบ เมื่อเวทีเปิดกว้างเน้นรับคนมากความสามารถ งานนี้คนไม่สวยไม่หล่อมีเฮ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 กรกฎาคม 2549)
ล้างไพ่ค่ายเพลงไทยอาร์เอส. เบียด แกรมมี่ ชิงหัวขบวน
* ค่ายเพลงถึงคราวเปลี่ยนบทบาทหนีตาย เมื่อเทคโนโลยีกลืนกินวัฒนธรรมการบริโภคความบันเทิงแบบเดิม ๆ
* เอ็มพี 3 และการดาวน์โหลด เข้าแทนที่เครื่องเล่นซีดี และแผงเทป นักร้องยอดนิยมขายแผ่นได้แค่หลักหมื่น
* อาร์เอส ปิดบทบาทค่ายเพลง เคลื่อนองค์กรสู่ธุรกิจ Entertainment Content Provider
* จีเอ็มเอ็ม เพิ่งได้ฤกษ์เปิดขายเพลงผ่านเว็บ มั่นใจตามเทคโนโลยีทัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กรกฎาคม 2549)
จับตาทิศทางขาลงยักษ์"แกรมมี่-อาร์เอส" การเมืองครอบงำผลงานทำกำไรคลุมเครือ
หน้าตาผลประกอบการไตรมาส 1 ที่ไม่ค่อยสดสวยงดงามเท่าที่ควร ของธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์คอนเทนต์โพรไวเดอร์ ซึ่งกุมธุรกิจสื่ออยู่ในมือมากมายอย่าง แกรมมี่(GMM) และ อาร์เอส(RS) เจ้าใหญ่ไม่กี่รายในตลาด เริ่มสะท้อนให้เห็นว่า ช่วงที่ผ่านมา ได้รับแรงสั่นสะเทือนจากภาวะรายรอบอย่างไม่มีการปราณี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่อยู่ในช่วงขาลง สินค้าปลอมแปลงและการดาวน์โหลดเพลงในอินเตอร์เน็ตระบาด ท่ามกลางราคาน้ำมันที่ไม่มีท่าทีจะหยุดนิ่งได้ง่ายๆ ผนวกกับกำลังซื้อหดหาย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคถดถอย ผสานกับบรรยากาศการเมืองที่ค่อนข้างอึมครึมเข้าครอบงำ....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มิถุนายน 2549)