ไดเนอร์สคลับก้มหัวง้อตลาดระดับกลาง จัดทัพใหญ่เจาะฐานลูกค้าบัตรเครดิต
ดูเหมือน "ไดเนอร์สคลับ" ตื่นจากผวังค์ได้ไม่นานกับการก้าวเข้ามาเล่นในตลาดบัตรเครดิตที่จ้องเจาะไปในฐานลูกค้าระดับกลาง หลังจาก 37 ปีที่ผ่านมา บริษัทแห่งนี้ มุ่งแต่จะเจาะฐานลูกค้าระดับสูงด้วยหวังสร้าง แบรนด์ของบัตรให้เหมาะสมกับฐานลูกค้าตนที่หรูหราฟูฟ่าและไฮโซ แต่ด้วยกระแสการแข่งขันในธุรกิจบัตรเครดิตที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น การคิดแบบเดิมทำให้ไดเนอร์สคลับตระหนักได้ว่า อาจวิ่งไม่ทันแรงกระแสสังคมด้วยเหตุนี้เองทำไดเนอร์สคลับต้องยอมก้มหัวเหลี่ยวมองตลาดบัตรเครดิตสำหรับรุ่นใหม่ในกลุ่มรายได้ปานกลาง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 กุมภาพันธ์ 2549)
วีซ่า New look หวังโดนใจลูกค้ากลุ่มใหม่
แม้ว่าชื่อเสียงในวงการบัตรเครดิตเพื่อการชำระเงินของวีซ่า จะโด่งดังเป็นที่ยอมรับ และยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่ทาบรัศมีได้ แต่ผู้บริหารกลับยังไม่พอใจนัก ล่าสุดวีซ่าได้ตัดสินใจปรับเปลี่ยนโลโก้ของกิจการ พร้อมกับการออกแบบตัวบัตรเครดิตใหม่ ให้โฉบเฉี่ยว หรูหรา เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ มากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มกราคม 2549)
"บัตรเครดิต"ยิ่งห้ามก็ยิ่งโตสินเชื่อบุคคลบูมตลาดฐานราก
ตัวเลขปริมาณบัตรและการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของแบงก์ชาติ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพิ่มจำนวนขึ้นชนิดที่คาดไม่ถึง ทั้งๆที่มีกฎเกณฑ์คุมเข้มเพดานการคิดอัตราดอกเบี้ยไม่ให้เกินกว่า 18% ปริมาณและยอดการรูดจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้นกลับสะท้อนให้เห็นว่า การตีกรอบไม่ได้ทำให้ธุรกิจชะลอตัว แต่ในอีกมุมหนึ่งสินเชื่อบุคคลที่เพิ่งจะถูกคุมให้อยู่ในกฎเพดานคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 28% ก็ไม่ได้ลดลง แถมนับวันยังเติบโตไม่สิ้นสุด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มกราคม 2549)
จับชีพจร-วัดความดัน"นักรูด" บัตรKTCเติมน้ำมันปีละ8พันล้าน
กฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเข้มงวด โดยเฉพาะการกำหนดเพดานคิดดอกเบี้ยกับลูกค้าธุรกิจ "บัตรเครดิต"ของทางการ อาจเริ่มเห็นผลกระทบโดยตรงกับปริมาณบัตร แต่ที่ทางการควบคุมให้อยู่ในกรอบแทบไม่ได้เลยก็คือ การพยายามดิ้นรนหาทางออกของผู้ประกอบการ ที่สะท้อนออกมาในรูปแคมเปญส่งเสริมการขาย ซึ่งมากระจุกตัวในช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้ ว่ากันว่าการขีดกรอบให้เดินยังใช้ไม่ได้สำหรับ "นักรูด" ขณะที่โปรแกรมล่อใจให้จับจ่ายใช้สอยก็ยังมีอยู่ชุกชุม....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 พฤศจิกายน 2548)
"เคทีซี"เครียดต้นทุนระดมทุนพุ่ง เจ้าของบัตรเตรียมรับมือดอกเบี้ยวิ่ง
ชั่วโมงที่เงินเฟ้อกระโดดสูง การฉีด "ยาขม" เพื่อสยบเงินเฟ้อ โดยการออกแรงบีบให้ธนาคารต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นัยหนึ่งเพื่อดูดซับเงินออม เป็นการช่วยชีวิตเจ้าของเงินฝาก แต่อีกมุมหนึ่งกราฟที่วิ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ยก็กำลังกลายเป็น "ยาพิษ" สำหรับภาคธุรกิจที่พึ่งพาเม็ดเงินจากการกู้เงินหรือระดมทุนมาขยายธุรกิจ เหมือนที่กำลังจะเกิดกับ "บัตรเครดิต"...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 ตุลาคม 2548)