แพลทินั่ม:"ไฮโซเทียม"หรือ"ผู้ดีแท้" พรีเมี่ยมเซ็กเม้นท์ที่แบงก์ไม่เคยวางตา
สมัยก่อนถ้าใครถือ "บัตรเครดิตสีดำ" อยู่ในมือ บุคคลนั้นจะถูกจัดชั้นให้อยู่ในกลุ่ม "อภิคหบดี" เป็นที่นับหน้าถือตา บ่งบอกถึงสถานภาพทางสังคม...แต่วันนี้เจ้าของ "บัตรแพลทินั่ม"ไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมือง ผู้ลากมากดี นามสกุลดัง มีสกุลรุนชาติ แค่มีรายได้ระดับสูง ก็เพียงพอจะเอื้อมถึง "การ์ดสีดำ"ได้ ขณะที่แบงก์ต่างๆจะเอาอกเอาใจประหนึ่ง"ราชา"... "แพลทินั่ม"ในความหมายใหม่ ในเซ็กเม้นท์ไฮ-เอนด์ จึงแยกไม่ออกว่า แท้จริงแล้วเจ้าของบัตรถูกจัดอยู่ในกลุ่มไหนระหว่าง "ไฮโซเทียม" หรือ "ผู้ดีแท้" เพราะเวลานี้การได้ครอบครองบัตรสีดำเกือบจะไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจเหมือนในอดีต....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 สิงหาคม 2549)
ผู้บริโภคหมุนเงินผ่านบัตรเครดิต หนี้คงค้างพุ่ง - เบิกเงินสดล่วงหน้าเพียบ
ผู้ถือบัตรเครดิตใช้บัตรเครดิตแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ส่งผลยอดใช้บัตรเครดิตเพิ่มกว่า 19% ผู้ประกอบการเผยซื้อเท่าเดิมแต่จ่ายแพงกว่า หวั่นใจยอดสินเชื่อคงค้างสูง แถมยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าพุ่งตาม ขณะที่บัตรใหม่เพิ่มสะท้อนทำเพิ่มหมุนเงิน-หาส่วนลด วอนรัฐหากผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้ วิกฤติลูกโซ่ลามถึงวงการอื่น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กรกฎาคม 2549)
"บัตรเครดิต"ยิ่งทุบก็ยิ่งร้อนธุรกิจฝ่าวงล้อมขยายแนวรบรักษาพื้นที่
ตัวเลขอัตราค้างชำระหนี้"บัตรเครดิต"ที่โผล่พรวดพราดขึ้นมา "ประจาน"ธุรกิจบัตรเครดิตและความสามารถในการผ่อนชำระของลูกค้า ในช่วงที่เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยพุ่งทะยาน อาจจะสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการ ในขณะที่ฝั่งบางขุนพรหม "แบงก์ชาติ" ก็ยังไม่ยอมลดราวาศอกยืดหยุ่นให้กับหลักเกณฑ์ที่ค่อนข้างเข้มงวด ธุรกิจบัตรเครดิตจึงดูเหมือนจะถูกตีขนาบจากทุกๆด้าน แต่ถึงอย่างนั้น"แบงก์"หรือ"นอน แบงก์"แทบทุกรายก็ไม่ยอมตกเป็น "เป้านิ่ง" ให้โจมตีอยู่ฝ่ายเดียว เกือบทุกค่ายจึงหาทางออกด้วยการขยายแนวรบแบบไม่มีขีดจำกัด เพื่อรักษา "อาณาจักร"หรือฐานลูกค้าอย่างเหนียวแน่น....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 กรกฎาคม 2549)
"นอนแบงก์"แทรกพื้นที่บัตรเครดิต"โอเค-เซทเทเลม"เลี่ยงชนแบงก์-ตีโอบภูธร
"นอนแบงก์" เปิดฉากรุกธุรกิจบัตรเครดิต "แคปปิคอล โอเค-เซทเทเลม" ปูพรมพื้นที่ภูธร หลบเลี่ยงการปะทะกับแบงก์พาณิชย์ ที่ได้เปรียบในด้านพละกำลัง จนครอบครองอาณาบริเวณใจกลางเมืองหลวง เดินหมากแทรกซึมเนื้อเค้กบัตรเครดิต ต่อยอดธุรกิจสินเชื่อบุคคล และธุรกิจเช่าซื้อ เงินผ่อน เพื่อกระจายความเสี่ยง ในช่วงภาวะเศรษฐกิจยังอึมครึม ออกสารพัดโปรโมชั่นเป็นแม่เหล็กดูดกำลังซื้อ งัดข้อยุคมนุษย์เงินเดือนตัวเบา กระเป๋าแฟ่บ หนี้ภาคครัวเรือนทะยาน บวกกับความสามารถชำระหนี้หล่นวูบ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 พฤษภาคม 2549)
"นครหลวงไทย"เร่งสปีดบัตรเครดิตยึดโมเดล"ซิตี้แบงก์"แม่แบบเชิงรุก
สัญลักษณ์สีแดงเพลิงของ "แบงก์นครหลวงไทย" บอกเป็นนัยถึง โลกของการค้าขายที่ไม่จำกัดชนชั้น แต่หากย้อนหลังไปช่วง 4-5 ปี กลับพบว่า การขยายธุรกิจไม่ได้เข้มข้นมากพอจะทะลุทะลวงเข้าถึงทุกหลังคาเรือนของลูกค้ารายย่อย ตลาดที่แบงก์ต่างๆจดๆจ้องๆจะไขว่คว้ามาไว้ในอาณัติของตัวเอง แต่หลังจากนี้การตลาดเชิงรุกของแบงก์นครหลวงไทยกำลังจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ โดยวัดจากอัตราการเร่งสปีดธุรกิจ "บัตรเครดิต" ตลาดที่เชื่อว่าจะทำให้แบงก์สามารถยืดหยุ่นกับภาวะเศรษฐกิจได้ทุกสถานการณ์ ซึ่งสำหรับ "นครหลวงไทย" "ซิตี้แบงก์" เจ้าตลาด "รีเทล แบงกิ้ง" ก็คือแม่แบบที่จะอธิบายทฤษฎีนี้ได้เป็นอย่างดี....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 พฤษภาคม 2549)
กรณีศึกษาของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
เรื่องร้อน ๆ ในขณะนี้คงหนีไม่พ้นธุรกิจ Non Bank ที่เป็นบริษัทดำเนินกิจการธุรกิจบัตรเครดิตและให้สินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีเรื่องร้องเรียนกันอยู่ตลอดเวลาของผู้ประกอบการบางรายในการกู้ยืมเงินแล้วคิดอัตราดอกเบี้ยรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเข้ามาควบคุมดูแลให้ถูกต้อง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 เมษายน 2549)
ความสำเร็จ 'KTC' บน 5 บุคลิกองค์กร
- ถอดวิธีคิดสู่ความสำเร็จของ 'KTC' บน 5 บุคลิกองค์กร
- การบริหารจัดการแบรนด์ให้ล้อไปกับทุกองคาพยพ คน องค์กร สินค้าและบริการ ผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกัน
- กลยุทธ์การสื่อสาร "เว้ากันซื่อๆ" ตรงไปตรงมา สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และทำทุกอย่างให้จับต้องได้
-โจทย์ความสำเร็จ ตอบสนองทุกความต้องการลูกค้า ด้วยความเข้าใจและมีสปีด เหน็บด้วยกระบวนการคิดเพื่อไขว่คว้าหาโอกาสใหม่ๆ ตลอดเวลา
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 เมษายน 2549)
"HOME&AWAY"ยุทธศาสตร์แบงก์นอก HSBCอิมพอร์ตไอเดียโกลบอลเขย่าบัตรเครดิต
เครดิตอย่างเอาจริงจัง ของสาขาแบงก์จากเกาะอังกฤษ "HSBC" เมื่อ 2 ปีก่อน ในมุมมองแบงก์ทั่วๆไปจึงไม่ใช่เรื่องธรรมดา และอาจจะไม่ธรรมดายิ่งกว่านั้น ถ้าสังเกตุเห็นรูปแบบการโปรโมชั่นหนักๆ โดนใจ แบบรัวถี่ยิบแทบจะทุกสัปดาห์ พร้อมๆกับการเปิดตัว "มือการตลาด" คนใหม่ที่อิมพอร์ตตรงจากสิงคโปร์ ซึ่งกำลังเริ่มวาง "ยุทธศาสตร์" HOME&AWAY คอนเซ็ปท์ที่ว่ากันว่า เป็นข้อได้เปรียบของแบงก์นอก ที่แม้จะมีสาขาเพียงหนึ่งเดียว แต่ก็สามารถเขย่าตลาดบัตรเครดิตให้สั่นคลอนได้ในเวลาอันรวดเร็ว...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 มีนาคม 2549)
"เงินอิเลคทรอนิกส์"ไม่มีวันจนมุม วีซ่าเจาะช่องรัฐคลุมไม่ถึงชดเชยเครดิตการ์ดนิ่ง
ธนาคารพาณิชย์กว่า 21 แห่ง ซึ่งเป็นสมาชิกบัตรชำระเงินของ "วีซ่า"อาจเป็นคู่แข่งขันกันในสนามรบ โดยเฉพาะการวิ่งไล่ล่าลูกค้าบัตรเครดิต ที่ทางการจำกัดบริเวณไม่ให้ขยายใหญ่ไปกว่านี้ เพื่อชะลอหนี้ภาคครัวเรือนไม่ให้ขยายตัวจนเข้าขั้นรุนแรง แต่ในฐานะแบรนด์ชำระเงินอิเลคทรอนิคส์คู่อริที่แท้จริงของวีซ่ากลับหมายถึง "เงินสด"การแช่แข็งธุรกิจบัตรเครดิต จึงหมายถึง การปิดโอกาสการเติบโตอย่างรวดเร็วของ "วีซ่า" ดังนั้นการบุกเบิกช่องทางใหม่ๆ ในกลุ่มลูกค้าหน้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็น บัตรพรีเพด บัตรองค์กร บัตรเดบิตหรือชนชั้นระดับสูงขึ้นไปอีก ซึ่งเกณฑ์ภาครัฐคลุมไม่ทั่วถึง จึงบอกได้ถึง โอกาสที่ "เงินพลาสติก"จะถูกต้อนเข้ามุมอับนั้น แทบจะใช้ไม่ได้กับ "วีซ่า" แบรนด์ระดับโลกแม้แต่น้อย...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 มีนาคม 2549)