ศก.ซบ'หนี้เน่า'บัตรเครดิตพุ่ง ถกธปท.ลดเกณฑ์จ่ายขั้นต้น
ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตเตรียมยื่นหนังสือของผ่อนผันเกณฑ์การชำระขั้นต่ำจาก 10% ลงมาเหลือ 5% หลังผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลงจนกลายเป็นเอ็นพีแอล ระบุอีก 2-3 เดือนพร้อมปรับค่าธรรมเนียมลูกค้าต่างชาติที่ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดมาใช้จ่ายในเมืองไทย
(ผู้จัดการรายวัน 18 มิถุนายน 2551)
"KTC"ประจันหน้า"ไทยพาณิชย์" "งัดข้อ"ชิงขุมทรัพย์"บัตรเครดิต"
" KTC" ยอมรับผลวิจัย ยังมีปัญหาจุดชำระเงินไม่สะดวกเพียงพอจะรองรับฐานลูกค้าในมือกว่า 1.46 ล้านราย ต้องวางระบบซอฟท์แวร์รุ่นใหม่ ขยายไปในสาขาแบงก์พันธมิตร กว่า 1 พันจุด ออกแรงต้าน "แบงก์ใบโพธิ์" ในฐานะเจ้าของบัลลังก์แชมป์ ที่ใช้เวลาช่วงสั้นวิ่งแซงหน้าไปไกลหลายช่วงตัว แถมอิมพอร์ตคนจาก "ยูนิลีเวอร์" เข้ามาปูรากฐานลูกค้าแบงก์ ที่มีบัญชีมากกว่า 9.5 ล้านราย ผ่านแคมเปญไม้ตาย "ชีวิตดับเบิ้ล".... ขณะที่ KTC เลือกใช้แนวคิด " KTC is real" ...ของแท้ไม่จัดฉาก... "แบงก์ใบโพธิ์" ที่กำลังสลัดภาพ "นายแบงก์ศักดินา" ก็กำลังเดินเกมด้วย คอนเซ็ปท์ "บัตรที่ลูกค้าต้องคิดถึงอยู่ตลอดเวลา" เพื่อช่วงชิง "ขุมทรัพย์" บัตรเครดิต ตลาดที่ทุกแบงก์ต่างก็จดจ้องจะใช้ฐานลูกค้าเป็นตัวพลิกเกมการตลาด...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 ธันวาคม 2550)
ระวังตกเป็นเหยื่อรายใหม่ แฉสารพัดกลโกง การเงิน!
- มิจฉาชีพบานสะพรั่งรับน้ำมันแพง
- แก๊งไฮเทคออกอุบายต้มคนพกบัตรเครดิต
- กลุ่มรากหญ้าเจอ “แชร์ลูกโซ่” สูบเกลี้ยงก่อนเชิด
- พัฒนากลโกงหลากรูปแบบล่อ “คนโลภ” ติดกับ
- แนะทางรอดเพื่อคุณไม่ตกเป็นเหยื่อรายใหม่!
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 พฤศจิกายน 2550)
สีสันแคมเปญบัตรเครดิต รูด-แลก-ลด-ลุ้นชิงเข้าป้าย
"บัตรเครดิต" เร่งสปีดเติมสีสัมให้กับแคมเปญช่วงท้ายปี ชิงเข้าป้าย "แบรนด์รอยัลตี้" เป็นเบอร์หนึ่งบัตรที่ต้องรูด "ซิตี้แบงก์" ออกแคมเปญครบเครื่องรูด แลกแต้มง่ายๆ ลุ้นทองคำ ระบบัตรกำนัลตามร้านค้าที่สอดรับกับไลฟ์สไตล์ ฝั่ง "เทสโก้ วีซ่า" กระโดดจากกรอบรูดช้อปเฉพาะโลโก้เทสโก้มาเป็นรูดไม่จำกัดแบรนด์ และร้านอาหารทั่วประเทศ ขณะที่ "เคทีซี" เดินหน้ารุกพันธมิตรค้าปลีก "วัตสัน" ด้วยแคมเปญที่ยาวนานร่วม 6 เดือน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 กันยายน 2550)
ผู้ออกบัตรเสนอรัฐใช้บัตรเครดิตกระตุ้นเศรษฐกิจ "สังศิต" เน้นแก้กฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรค
ผู้ประกอบการบัตรเครดิตแนะรัฐใช้กลไกบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลให้เป็นประโยชน์ เชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เผยกฎเกณฑ์แบงก์ชาติคุมเข้ม เมื่อการเมืองไม่นิ่ง ไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทุกอย่างยิ่งทรุด คนยิ่งไม่กล้าจับจ่าย ประธานคณะกรรมาธิการการคลังพร้อมรับฟังข้อเสนอ เห็นด้วยเรื่องเน้นเสถียรภาพสถาบันการเงิน แต่เศรษฐกิจต้องเดินได้ด้วย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 เมษายน 2550)
"ยูโอบี"ขยายฐานลูกค้า"แพลทินัม"โตสวนกระแสธุรกิจบัตรเครดิตชะลอ
"ธนาคารยูโอบี" วิ่งสวนกระแสธุรกิจบัตรเครดิตขาลง ขยายฐานบัตรใหม่ 100,000 ใบ เจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน"กลุ่มแพลทินัม" ที่มีขีดความสามารถใช้จ่ายผ่านบัตรสูง หลังประสบความสำเร็จในการขยายฐานบัตรกลุ่มแพลทินัมได้ถึง 50,000 ใบ โดยปีนี้จะสร้างยอดเพิ่มเป็น 70,000 บัตร ดันยอดรวมบัตรเครดิตยูโอบีทุกประเภททะลุ 500,000 ใบ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
KTC เปิดสงครามหน้าปัดวิทยุจูนคลื่นบัตรเครดิต “Virgin 24”
เพียง 3 คลื่นยอดฮิตในเครือ “เวอร์จิ้น เรดิโอ ไทยแลนด์” ที่มีผู้ฟังร่วม 2 ล้านราย และมีสมาชิกถือบัตร “วีไอพี” รวมกันมากกว่า 1 แสนราย ก็ดูมากเพียงพอจะเป็นช่องทางขยายฐานลูกค้ารายใหม่ของ “KTC24” ได้อย่างไม่ยากเย็น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
โหมโปรโมชั่นยั่วลูกค้าบัตรเครดิตวางเป้าเปลี่ยนลูกค้าดีสู่ผ่อนชำระ
ผู้ออกบัตรเครดิตโหมโปรโมชั่นยั่วใจ กระตุ้นผู้ถือบัตรใช้จ่าย ระวังติดกับดอกเบี้ยปีหน้ามีสิทธิปรับเป็น 20% คนในยอมรับต้องทำเพราะถูกแบงก์ชาติบีบ จากนี้ไปรายการกระตุ้นใช้จ่ายจะมากขึ้น ขณะที่ใช้เงินสดซื้อสินค้าเสียเปรียบจ่ายราคาเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่บัตรเครดิตได้ส่วนแบ่ง 3%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 พฤศจิกายน 2549)
สนามรบ"บัตรเครดิต"อุณหภูมิเดือดแบงก์นอกเครื่องร้อนเร่งความถี่"รูด"กินดื่มช้อป
เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยมักจะตรวจจับสภาพเศรษฐกิจและหนี้ภาคครัวเรือนจาก สถิติการใช้จ่าย "บัตรเครดิต" จนกลายมาเป็นคำนิยาม "ธุรกิจมอมเมา"ก่อหนี้สิน สร้างพฤติกรรมฟุ่มเฟือยให้กับผู้ถือบัตร ขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการก็จะถูกมองไม่ต่างจาก "โจรสลัด" คอยดักปล้นสดมภ์นักเดินเรือกลางท้องทะเลลึก... แต่ถึงอย่างนั้นสนามรบ "บัตรเครดิต" ก็ไม่เคยลดอุณหภูมิร้อนลงแม้แต่ครั้งเดียว ตลอดปีที่ผ่านมาจึงมีสงครามรบพุ่ง ท้าทายกฎเกณฑ์แบงก์ชาติอยู่เป็นระลอก โดยเฉพาะฝั่ง "แบงก์นอก" ที่กลายมาเป็น "ผู้จุดชนวน" อัดโปรโมชั่น เพิ่มอัตราความถี่ รูด กิน ดื่ม ช้อป ชนิดไม่มีฤดูกาล...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 ตุลาคม 2549)
ผู้ถือบัตรเครดิตลดใช้จ่าย-ยอมเป็นหนี้ วอนรัฐรอบคอบก่อนผลักสู่หนี้นอกระบบ
ผู้ประกอบการเตือนยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตลด รัฐอย่างเพิ่งดีใจ เหตุยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นแทน แถม NPL เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รับต้นทุนทำธุรกิจสูงขึ้นขณะที่รายได้ถูกคุม ส่งผล KTC กำไรหด วอนผ่อนชำระขั้นต่ำ 10% เหลือ 5% ผู้บริโภคได้ประโยชน์ ดีกว่าไล่ให้ไปหาสินเชื่อนอกระบบ ที่ดอกเบี้ยและทวงหนี้โหด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 สิงหาคม 2549)