บัตรเครดิตเร่งขยายฐานลูกค้า ปรับกลยุทธ์เจาะเซกเมนต์ใหม่
แม้บัตรเครดิตจะมีการแข่งขันที่รุนแรงอยู่แล้วอย่างไร แต่เพราะธุรกิจบัตรเครดิตคือการรุกกลุ่มลูกค้ารายย่อย ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าการให้บริการลูกค้ารายใหญ่ ทำให้ผู้ให้บริการหลายรายยังต้องเดินธุรกิจในเชิงรุก พลิกมาใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ ในการเพิ่มฐานลูกค้า โดยใช้วิธีการหันไปเจาะเซกเมนต์ใหม่ที่ยังมีโอกาสเติบโตได้
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 ธันวาคม 2553)
เงินด่วน-บัตรเครดิตร้อนระอุ หน้าใหม่-เก่ารุกหนักรับไฮซีซันส์
ใกล้เวลาปลายปีซึ่งเป็นช่วงไฮซีซันส์ของการใช้จ่ายทั้งกิน-เที่ยว-ช็อป จึงเป็นที่รู้กันว่าจะเป็นฤดูกาลที่บัตรเครดิตทุกค่ายจะออมแคมเปญในรูปแบบต่างๆ เพื่อตักตวงยอดใช้จ่ายในช่วงนี้ โดยมีผู้เล่นหน้าใหม่ คือ ธนชาต กับทีเอ็มบี ผู้เล่นหน้าเก่าที่รีแบรนด์ตัวเองใหม่จนหมดจดเข้ามาขอท้าชิงตลาดในปีนี้ด้วย
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 ตุลาคม 2553)
SCBลั่นขอผงาดผู้นำเอสเอ็มอี KBANK สวนกลับเร่งแซงบัตรเครดิต
ความเคลื่อนไหวของไทยพาณิชย์และเคแบงก์ในช่วงครึ่งปีหลังต่อจากนี้ แม้จะเดินไปด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่าง แต่ในท้ายที่สุดเป้าหมายปลายทางของทั้งคู่ก็มุ่งไปสู่จุดเดียวกัน นั่นคือ การเร่งสปีดในธุรกิจที่ตัวเองเคยเป็นเบอร์รองในตลาดให้ขยับขึ้นไปสู่การเป็นผู้นำตลาดให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกเหนือไปจากการเติบโตในธุรกิจที่ตัวเองเป็นผู้นำตลาดอยู่แล้ว
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 สิงหาคม 2553)
ยอดใช้บัตรเครดิตส่งสัญญาณหดตัว
ในช่วงเริ่มต้นปี 2553 ดูเหมือนว่าธุรกิจบัตรเครดิตเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง ตามทิศทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ การฟื้นตัวของภาคส่งออก และการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นต้น จากการที่ภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นต่อนโยบายภาครัฐและทิศทางเศรษฐกิจ ต่างเริ่มดำเนินแผนการลงทุนโครงการธุรกิจใหม่มากขึ้น
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 พฤษภาคม 2553)
'KTC' เดินหน้าแชร์ตลาดสินเชื่อบุคคลตลาดวายความเสี่ยงสูงแต่ไม่ยอมตกเทรน
ตลาดสินเชื่อบุคคลเงียบไม่คึกคัก ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจ และใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง แม้จะมีกระแสว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ความเชื่อมั่นในการบริโภคขยับตัวดีขึ้นบ้างก็ตาม แต่โดยรวมสินเชื่อบุคคลก็ยังน่าเข้าไปเล่น เพราะสามารถเลือกกลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพได้ ทำให้ทั้งแบงก์ และนอนแบงก์โหมโรงกลับมาบุกธุรกรรมด้านนี้อีกครั้งในช่วยท้ายปี52
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 ตุลาคม 2552)
สู่องค์กรสร้างสรรค์ ยุควิกฤตสไตล์KTC
* ผ่าแนวคิด Creative Organization
* คน-วัฒนธรรม-บริษัท-ลูกค้า กุญแจสำคัญ
* เผยหลักคิดทำธุรกิจแบบสร้างสรรค์แบบเคทีซี
* อาศัยพื้นฐาน“ Positive Thinking ”ตอบโจทย์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 เมษายน 2552)
"เคทีซี"หยุดเกมรุกตั้งรับมือเศรษฐกิจฟุบฉวยโอกาสฝรั่งล้มเลื่อนจับ"ลูกค้าไฮโซ"
"เคทีซี"ยึดเสาหลักตั้งมั่นหยุดเดินเกมรุก ลดอัตราการขยายตลาดบัตรเครดิต แม้จะเห็นช่องทางในการสร้างรายได้เข้ากระเป๋าเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยเฉพาะความอ่อนแอของผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันแต่ต่างสายเลือดที่ได้รับผลกระทบจากความง่อนแง่นของบริษัทแม่ในต่างแดนที่โดนพิษวิกฤตการเงินสหรัฐเข้าเล่นงานเต็มๆ งานนี้เคทีซีแค่ฉวยจังหวะเหมาะเข้าเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าไฮโซ ขณะที่พอร์ตลูกค้าระดับกลางยังไม่ทิ้งเน้นเกมดูแลด้วยโปรโมชั่นจูงใจ เพื่อรักษาฐานพอร์ตเดิมไว้อย่างมั่นคง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 ธันวาคม 2551)
ธุรกิจเครดิต การ์ด ตัดสินใจปรับตัวครั้งใหญ่
ผลกระทบของวิกฤติการซับไพร์ม (Sub Prime) ในสหรัฐฯ ไม่ได้ส่งผลต่อพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินของกองทุนรวมและสถาบันการเงินต่างๆ มีการด้อยค่าลงและประสบกับผลขาดทุน จนถึงจุดจบของกิจการธนาคารวานิชธนกิจชื่อดังนับร้อยปีอย่าง เลแมน บราเธอร์เท่านั้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2551)
บัตรเครดิตเหยียบคันเร่งครึ่งปีหลัง เจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่มดันยอดใช้จ่าย
บัตรเครดิตเร่งเครื่องกระตุ้นยอดใช้จ่ายผ่านบัตร ระดมสมองออกแคมเปญรุกกิจกรรมสร้างสีสันและความหลากหลายให้ตลาด เจาะจงกลุ่มลูกค้ามากขึ้นโดยเฉพาะระดับบนที่ยังมีกำลังใช้จ่ายสูง "เคทีซี" เปิดตัวบัตรเครดิต "เคทีซี-ซูบารุ ไทเทเนียม มาสเตอร์การ์ด" เพื่อกลุ่มคนรักรถแบรนด์นี้โดยเฉพาะ แบงก์ทหารไทยไม่น้อยหน้าด้วยบัตร "ทีเอ็มบี-ไอเอ็มซีซี ฟิต การ์ด" สำหรับกลุ่มคนรักกอล์ฟที่ต้องการเอกสิทธิ์เต็มวงสวิง ตามมาด้วยค่ายวีซ่า เปิดแคมเปญ" วีซ่า แพลทินัม พรีวิลเลจ โปรแกรม" และ กรุงศรี จีอี กับแคมเปญแคมเปญใหญ่ "กรุงศรี จีอี โบนัสทันใจ "
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 สิงหาคม 2551)