แผนปั้นเศรษฐกิจทรท.สะดุดตอ ประชาชนรับกรรมแบกภาระแทนรัฐ
แม้ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่ง แต่ผลจากโครงการที่วางไว้กลับสร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตประชาชน บางรายต้องซื้อบ้านหวังพึ่งรถไฟฟ้าใต้ดิน กลับแพงกว่าปกติ หลังจากที่เมกะโปรเจกท์ต้องยืดออกไปไม่มีกำหนด ส่วนผู้ประกอบการต้องวัดดวงอยู่หรือไป แถมแผนระดมเงินออมหนุนโครงการพ่นพิษให้ดอกเบี้ยกู้พุ่ง ค่าไฟฟ้าที่หวังดันกฟผ.เข้าตลาดหุ้น กลับทำลายกำลังซื้อ หวั่นหนี้ไม่ก่อรายได้พอกพูน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 เมษายน 2549)
ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับ"พันธมิตร"แบงก์-ประกันชีวิตแลกหมัดชิงเงินออม
ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยนอนแน่นิ่งสลบเหมือดต่ำแตะพื้นอยู่นานหลายปี ธุรกิจประกันชีวิตดูเหมือนจะเบ่งบาน ผลิดอกออกผล เพราะเม็ดเงินออมที่ถูกผลักไสจากธนาคารพาณิชย์แทบทุกแห่งต่างก็ไหลมากองรวมกันจนเบี้ยประกันของบริษัทหลายแห่งทะลุชนเพดาน ก่อนหน้านี้อาจเป็นชั่วโมงทองของประกันชีวิต แต่หลังจากนี้เม็ดเงินกำลังจะเปลี่ยนเส้นทางเดิน ไหลคืนกลับไปกองในตู้เซฟธนาคาร ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยหมุนกลับทิศไปในแดนบวก พื้นที่ว่างสำหรับพันธมิตร "แบงก์-ประกันชีวิต" จึงเหลือน้อยเต็มที....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มกราคม 2549)
"ยาขม"ที่อาจเคลือบ"ยาพิษ"ถ้าส่งสัญญาณดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อพลาด!
สัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐหรือ "เฟด" และเสียงป่าวร้องขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากฝั่ง"บางขุนพรหม" ก่อนหน้านี้ เดินไปในทิศทางเดียวกันราวกับนัดหมายกันไว้ โดยหลักคือ ความพยายามควบคุมเงินเฟ้อ แต่สำนักวิเคราะห์บางแห่งกลับมองว่า การส่งสัญญาณที่ขาดความแม่นยำ อาจทำให้คนรับข้อมูลแปลงสัญญาณแบบผิดๆได้ โดยเฉพาะภาคครัวเรือน ผู้ประกอบการ และการลงทุนภาคเอกชน...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 พฤศจิกายน 2548)
ธอส.แชมป์ดอกเบี้ยกู้บ้าน
นับเป็นครั้งที่ 3 ภายในรอบ 2 เดือนที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวสำหรับผู้ขอกู้บ้านขยับขึ้นไปที่ 7% มีผลตั้งแต่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นดอกเบี้ยสำหรับผู้กู้ซื้อบ้านที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับผู้ให้บริการเดียวกันอย่างธนาคารพาณิชย์รายใหญ่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 พฤศจิกายน 2546)
ดอกเบี้ยกู้บ้าน ธอส.แซงหน้าแบงก์พาณิชย์ ลูกค้าลอยตัวรับกรรมจ่ายแพงกว่า0.5%
ดอกเบี้ยบ้านพ่นพิษภายในกันยายนเดือนเดียว ธอส.ปรับขึ้น 0.5% ส่งผลดอกเบี้ยกู้โดดไปที่ 6.75% สูงกว่าแบงก์พาณิชย์อยู่ 50 สตางค์ ส่งผลลูกหนี้ ธอส.ต้องจ่ายแพง-เป็นหนี้นานกว่า เหตุต้นทุนสินเชื่อแพงกว่าแบงก์ทั่วไป ผู้ที่ยังต้องผ่อนบ้านอยู่อาจจะรู้สึกแปลกใจว่า ใบเสร็จรับเงินที่แจ้งมาในช่วง 1-2 เดือนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรืออาจจะเรียกได้ว่าภายในรอบ 30 วัน ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% เบ็ดเสร็จผู้กู้ต้องแบกรับกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 0.5%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 ตุลาคม 2548)
แบงก์-รัฐเปิดศึกชิงเงินฝาก แนะสำรวจตัวเองก่อนลงทุน
คนวงการบริหารเงินแนะผู้มีเงินออม สำรวจตัวเองก่อนเลือกลงทุนในยุคที่ทุกค่ายแย่งชิงเงินออม ฝากระยะสั้นมีโอกาสเลือกผลตอบแทนสูงในอนาคตได้ง่ายกว่า หากไม่คิดมากเลือกพันธบัตรรัฐบาล 5% ก็น่าสนใจ ส่วนกองทุนรวมผุดจ่ายดอกทุก 3 เดือนให้ผลตอบแทน 3.8%ต่อปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 กันยายน 2548)
property watch : ดอกเบี้ยป่วนตลาดจัดสรร
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วจากนี้ไปดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น ที่สำคัญยังได้รับคำยืนยันจากแบงก์ชาติที่ออกมาประกาศว่าดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 สิงหาคม 2548)
จัดสรรโหนกระแสดอกเบี้ยแพง หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำดันยอด
บิ๊กจัดสรรแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และแสนสิริ โหนกระแสดอกเบี้ยแพง หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำพิชิตยอดขาย แลนด์เตรียมเปิดให้บริการธนาคารพาณิชย์ เพื่อรายย่อยปลายปี ส่วน"แสนสิริ"อาศัยสายสัมพันธ์แนบแน่นแบงก์รวงข้าว ปล่อยกู้ดอกเบี้ยคงที่ 3.25% 2 ปีแรก หลังจากนั้น MLR-1.0%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 สิงหาคม 2548)
จัดสรรแห่ใช้ลูกเล่นทางการเงิน ชูดอกเบี้ยต่ำคงที่นานมัดใจลูกบ้าน
จัดสรรเร่งเครื่องดันยอดขายช่วงเศรษฐกิจฝืด ดอกเบี้ยขาขึ้น น้ำมันแพง งัดลูกเล่นทางการเงินกระตุ้นกำลังซื้อ "แสนสิริ"ประกาศแคมเปญเด็ด ดอกเบี้ยคงที่ 5.75% นานถึง 25 ปี ขณะที่เอเชี่ยนจับมือแบงก์รวงข้าว ยื่นเงื่อนไขดอกเบี้ย 2.5% ปีแรก MLR-1.5% ในปีที่ 2 หลังจากนั้นMLR-1% ตลอดอายุสัญญา ฟากเพอร์เฟคคิดดอกเบี้ยเพียง 1% นาน 1 ปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2548)
เฟดขึ้นดอกเบี้ยอีกสลึงตามคาด
ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 9 ในรอบ 1 ปี อีกทั้งยังไม่แสดงสัญญาณว่ากำลังจะยุติเรื่องนี้ โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นเฟดฟันด์เรต ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปอีก 0.25% เป็น 3.25% แถมคำแถลงภายหลังการประชุมระบุว่า นโยบายการเงินยังคง "เอื้ออำนวย" ซึ่งหมายความว่ากระทั่งเพิ่มขึ้นคราวนี้แล้ว อัตราดอกเบี้ยก็ยังอยู่ในลักษณะกระตุ้นส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเฟดจึงพูดสำทับเหมือนกับการประชุม 10 ครั้งหลังสุดว่า คาดหมายว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปด้วยฝีก้าว "สุขุมรอบคอบ" ส่วนที่คำแถลงครั้งล่าสุดแตกต่างไปจากคำแถลงของการประชุมคราวก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ได้แก่การประเมินภาวะเศรษฐกิจในแง่สดใสมากขึ้น กล่าวคือครั้งนี้ชี้ว่า "ถึงแม้ราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้นต่อไป แต่การขยายตัว(ของเศรษฐกิจ)ก็ยังคงมั่นคง และเงื่อนไขในตลาดแรงงานก็ยังคงกระเตื้องขึ้นอย่างช้าๆ"
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 กรกฎาคม 2548)