Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article

industry
company
people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ12  
Positioning1  
ผู้จัดการรายวัน184  
ผู้จัดการรายสัปดาห์31  
PR News104  
Total 301  

Listed Company
Manager Lists
 
Industry > Banking and Finance > Banking > Interest Rate


ผู้จัดการรายสัปดาห์ (11 - 20 of 31 items)
เฟดลอกสูตรดอกเบี้ย0%บีโอเจ ลุ้นกระตุ้นปล่อยกู้-หยุดศก.ซึม การลดดอกเบี้ยของเฟดเหลือเฉียด 0% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ละม้ายคล้ายการตัดสินใจของบีโอเจเมื่อทศวรรษก่อนเพื่อหยุดยั้งภาวะเศรษฐกิจนิ่งงันเรื้อรัง กระนั้น นักวิเคราะห์ชี้ลำพังมาตรการดอกเบี้ยอย่างเดียวคงไม่สามารถกู้วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ได้ แต่ต้องอาศัยแผนการเชิงรุกมาเสริมเหมือนที่โตเกียวเคยทำสำเร็จมาแล้วในการฟื้นศรัทธาระบบการเงิน ที่สำคัญวอชิงตันต้องลงมือทำให้ไวกว่าญี่ปุ่น(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 ธันวาคม 2551)
แบงก์กดดบ.ฝากติดดิน หุ้นกู้เริ่มเสี่ยง-พันธบัตรรับโชคจ่อคิวขาย ตลาดเงินส่อเค้าติดหล่ม หลังแบงก์พร้อมใจกดดอกเบี้ยฝากตามนโยบายรัฐ ผลักผู้มีเงินฝากหาแหล่งเงินออมใหม่ แม้หุ้นกู้เอกชนดอกเบี้ยสูง แต่สัญญาณเริ่มไม่ดีจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ทางกว้างเปิดสู่พันธบัตรรัฐที่จ่อคิวขาย นักการเงินเตือนอย่าปล่อยให้เอกชนไร้ทางออกจะซ้ำเติมคนตกงานมากขึ้น(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 ธันวาคม 2551)
"แบงก์ชาติ" หอกค้ำคอพูดได้ไม่เต็มปากขึ้นดอกเบี้ยรั้งเงินเฟ้อ-ประคองเศรษฐกิจ สถานะธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ในตอนนี้สามารถกลายเป็นอัศวินม้าขาว หรือผู้ต้องหาที่กระทำผิดขั้นร้ายแรงได้ในคราวเดียว เนื่องจากต้องชี้ขาดตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยนโยบายจะไปในทิศไหนถึงช่วยรั้งเงินเฟ้อที่ขยับขั้นสูงอย่างน่าใจหาย และขณะเดียวกันก็ต้องพยุงเศรษฐกิจที่กำลังจะอับปางให้รอดต่อไปได้ หากแต่ถึงวันนี้แบงก์ชาติก็ยังพูดได้ไม่เต็มปากเหมือนมีหอกค้ำคอว่าจะกำหนดทิศทางอย่างไร ด้านนักวิชาการเหน็บพวกทวนกระแส"ไร้สติ"ทิศทางดอกเบี้ยถึงเวลาต้องปรับขึ้น แถมสอนมวยรัฐให้รู้ว่าสถานการณ์เช่นนี้นโยบายการคลังสำคัญกว่านโยบายการเงิน(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 มิถุนายน 2551)
ลูกหนี้อ่วม!!! ดอกเบี้ยจ่อคิวขึ้น 0.5-1%คลัง‘จ้องปลด’ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ รัฐบาลเดือดแบงก์ชาติแข็งข้อ สวนทางนโยบายบริหารประเทศด้วยดอกเบี้ยต่ำ ต้องเร่งหาทางบีบ-เปลี่ยนตัวผู้ว่าแบงก์ชาติ หลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่อเค้าแท้ง หากปล่อยดอกเบี้ยสูงอีกกระทบจัดเก็บภาษี นักเศรษฐศาสตร์คาดปีนี้ได้เห็นดอกเบี้ยขึ้น 0.5-1% แนะคนมีภาระกู้ทำใจ(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 มิถุนายน 2551)
ดอกเบี้ยกลับทางเป็นขาขึ้นเลือกหุ้นบริโภคในประเทศ เงินเฟ้อสูงทำพิษ แบงก์ชาติทั่วโลกไม่มีประเทศใหนกล้าลดดอกเบี้ย ธนาคารพาณิชย์ไทยกระตุกดอกเบี้ยเล็กน้อยนำทาง กนง. โบรกเกอร์ชี้ต้นทุนของเงินที่แพงขึ้น จะทำกำลังซื้อของประชาชนหด ลดค่าใช้จ่าย อยู่บ้านมากขึ้น แนะเก็บหุ้น 3 กลุ่ม มีเดีย, โฮมดิลิเวอร์รี่, โทรศัพท์มือถือ(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มิถุนายน 2551)
“ซับไพร์ม”พ่นพิษ เงินฝากประจำพิเศษจุกดอกเบี้ยเปลี่ยนทิศขาลง-ชิงได้เปรียบฝากยาว แบงก์ไทยแข่งหาเงินฝากเพลิน งัดดอกเบี้ยสูงล่อใจผู้ฝาก ตายใจคิดดอกเบี้ยขาขึ้น เฟดดับฝันลดดอกเบี้ยแรง ส่งผลดอกเบี้ยในประเทศต้องปรับลง นายแบงก์ยอมรับงานนี้เจ็บตัว ค่ายใดเสนอดอกเบี้ยสูง ฝากได้ยาวเจ็บหนัก แนะผู้มีเงินออมฉวยโอกาสล็อกฝากยาว คาดดอกเบี้ยในประเทศต้องลงอย่างน้อย 0.5% ผนวกรัฐบาลใหม่ต้องการเห็นดอกเบี้ยต่ำ กลายเป็นบทพิสูจน์ฝีมือแบงก์ชาติต้องคุมทั้งเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยนให้ได้(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 กุมภาพันธ์ 2551)
แบงก์คึกคักลดดอกเบี้ยกระตุ้น เศรษฐกิจแน่นิ่งไม่ตอบสนอง การตอบสนองนโยบาย "ธปท."ของ"แบงก์พาณิชย์"ด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งขา"ฝาก"และ"กู้"เพื่อกระตุ้นการบริโภค ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะดึงเศรษฐกิจให้พ้นจากปากเหวได้ ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่สำคัญสุดคือ"ความเชื่อมั่น"ที่มีพลังเบาบาง ไม่อาจกระตุ้นผู้ประกอบและผู้บริโภคควักเงินออกจากประเป๋า แม้ต้นทุนการกู้จะต่ำ และผลตอบแทนเงินฝากไม่จูงใจแล้วก็ตาม(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 มิถุนายน 2550)
"แบงก์"พาเหรดปล่อยกู้บ้านเรียกขวัญดักทาง"มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ" ภาวะเศรษฐกิจถูกตรึงแน่นอยู่กับที่กลายเป็นเกมท้าทายภาครัฐ ก่อนระดมสมองงัดมาตรการทั้ง "การเงิน-การคลัง" แก้ปัญหาเศรษฐกิจติดหล่ม"เรียกขวัญ"ความเชื่อมั่นที่เปราะบางกลับคืน แบงก์พาณิชย์ ประเดิมพาเหรดลดดอกเบี้ยขากู้ กระตุ้นการบริโภค โดยเฉพาะในสินค้าคงทนอย่าง บ้าน รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หวังปลุกเศรษฐกิจคืนชีพภายใต้มรสุมการเมืองยังคาดเดาได้ยาก...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 เมษายน 2550)
แบงก์ยุติสงครามแย่งชิงเงินฝากเปิดช่องกองทุนวิ่งไล่คว้ารายได้ สัญญาณการปรับอัตราดอกเบี้ยในแต่ละช่วงเวลา คือตัวแปรที่บอกให้รู้ว่า แบงก์และธุรกิจจัดการกองทุน ต้องผลัดกันรุก ผลัดกันรับ ยื้อแย่งเม็ดเงินในกระเป๋าเจ้าของเงินออมให้มากที่สุด... หลังหมอกควันในสมรภูมิช่วงชิงเงินฝากของบรรดาแบงก์ต่างๆเมื่อ 2-3 เดือนค่อยๆเจือจางลง ผสมกับท้องฟ้าเหนือตลาดหุ้นยังอึมครึม ครึ้มฟ้าครึ้มฝน จึงเปิดช่องว่างให้ธุรกิจจัดการกองทุนเริ่มมองหาวิธีแสวงหารายได้ในรูปแบบที่จะเพิ่มมูลค่าผลตอบแทนให้น่าดึงดูดใจ ในระหว่างรอจังหวะเงินฝากประจำใกล้จะครบดีล ขณะที่แบงก์ทุกแห่งยังไม่เคลื่อนไหวปรับอัตราดอกเบี้ย...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มิถุนายน 2549)
แบงก์ชาติปราบเงินเฟ้อแค่สะเก็ดระเบิดเศรษฐกิจขยายตัวบาดเจ็บฟกช้ำเล็กน้อย การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบไล่หลังติดกันไม่นานของแบงก์ชาติ นอกจากจะกลายเป็นความกังวลต่อภาคธุรกิจว่าจะมีผลเบรกการขยายตัวของเศรษฐกิจหรือไม่ ขณะเดียวกันก็มีการตั้งคำถามว่าการปราบเงินเฟ้อด้วยวิธีปรับขึ้นดอกเบี้ยจะมีจุดสิ้นสุดตรงไหน ล่าสุดผลการศึกษาฝั่งบางขุนพรหมเชื่อสนิทใจว่าภาพรวมเศรษฐกิจยังมีหน้าตาดูดี ไม่มีผลกระทบให้น่ากังวล แม้ความเชื่อมั่นหรือการบริโภคจะหดตัว แต่ภาคส่งออกยังทำหน้าที่ "พระเอก"ประคับประคองเศรษฐกิจต่อไปได้ ผู้บริหาร"แบงก์บัวหลวง"เห็นพ้องการควบคุมเงินเฟ้อคงเกิดอีกไม่กี่ครั้ง และแทบไม่มีผลต่อเศรษฐกิจ เพราะราคาสินค้าแพงขึ้น ไม่ได้มาจากอุปสงค์ในประเทศ แต่เป็นผลมาจากต้นทุนที่ขยับสูงขึ้น...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 เมษายน 2549)

Page: 1 | 2 | 3 | 4





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us