Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article

industry
company
people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ57  
Positioning91  
ผู้จัดการรายวัน23  
ผู้จัดการรายสัปดาห์25  
PR News251  
Total 422  

Listed Company
Manager Lists
 
Industry > Entertainment and Leisure > Musics


ผู้จัดการรายสัปดาห์ (11 - 20 of 25 items)
อาร์เอส ประกาศก้อง “กลับมาแล้ว”Fully Digital Music คืนภาพเจ้าธุรกิจเพลง ภาพของอาร์เอสในรอบปีที่ผ่านมา อาจทำให้หลายคนคิดว่า อดีตค่ายเพลงวัยรุ่นแห่งนี้กำลังจะพาองค์กรเดินหนีจากธุรกิจเสียงเพลง แนวนโยบายธุรกิจที่ตั้งไว้เป็น Entertainment & Sport Content Provider นำธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาแชร์สัดส่วนรายได้จากธุรกิจเพลงให้เล็กลง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการฟังเพลงของกลุ่มวัยรุ่นจากสื่ออนาล็อก เทปเพลง ซีดี มาสู่โลกดิจิตอล ยิ่งทำให้อาร์เอส มีรายได้จากธุรกิจเพลงลดลงไปอีก แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ปีใหม่ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด กลับมั่นใจว่า แม้อาร์เอสจะเปลี่ยนบทบาทของธุรกิจไปบ้าง แต่ธุรกิจเพลงก็จะยังเป็นแกนหลักเหมือนเช่นเดิม(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มกราคม 2553)
เปิดแผนรุก 2 ค่ายบันเทิงไทย แกรมมี่-อาร์เอส กับเป้าหมายที่ต่างกัน * จากคู่แข่งอมตะของวงการบันเทิงเมืองไทย แกรมมี่-อาร์เอส สู่เส้นทางต่างคนต่างไป * อาร์เอส จองพื้นที่คอนเทนต์บันเทิง จากเพลงถึงกีฬา สร้างความยิ่งใหญ่ในเมืองไทย * แกรมมี่ประกาศอาสานำทัพบันเทิงไทย โค่น K-Pop ครองตลาดเอเชีย(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 ตุลาคม 2552)
แกรมมี่พาโมเดลแฮปปี้ แวมไพร์บุกไต้หวันจับมือจงหัว เทเลคอม ดูดลูกค้าอาเซียน 4 ประเทศ ตลาดเพลงในยุคนี้ได้เคลื่อนเข้าสู่โลกของดิจิตอลอย่างเต็มตัว ค่ายเพลงหันไปหารายได้จากการดาวน์โหลดแทนการขายแผ่นซีดี แต่ละค่ายหันไปจับมือกับโอเปอเรเตอร์มือถือ เปิดกลยุทธ์การตลาดบนโลกดิจิตอลกันอย่างดุเดือด แผ่นซีดีที่เคยเสนอขาย 10-12 เพลง ราคา 100-200 บาท วันนี้ ผู้บริโภคจ่ายเพียง 20-30 บาท ต่อเดือน สามารถดาวน์โหลดเพลงยกค่าย ไม่ว่าเก่าหรือใหม่อย่างไม่จำกัด ดูในมุมผู้บริโภคอาจมองว่าคุ้มค่ากว่าก่อนที่การซื้อหาเพลงในยุคนี้ สามารถเลือกเฉพาะเพลงฮิต เพลงดังได้ ไม่ต้องซื้อเหมายกอัลบัมเหมือนก่อน แต่ในมุมของค่ายเพลงเอง ยิ่งคุ้มค่ากว่า เพราะทุกเดือนจะมีลูกค้านับแสนราย จ่ายเงินเดือนจะมีลูกค้านับแสนรายจ่ายเงินรายเดือน 20-30 บาท ให้กับค่าย เปลี่ยนโฉมสินค้าที่เคยขายขาดครั้งเดียว กลายเป็นสินค้าที่ต้องจ่ายรายเดือน สร้างรายได้ให้กับค่ายเพลงอย่างมั่นคง(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 ตุลาคม 2552)
อาร์เอส ทวงคืนเจ้าตลาดเพลง ระดมขุนพลดนตรีเจาะทุกเซกเมนต์ เส้นทางธุรกิจกว่า 27 ปีของอาร์เอส ถ้าจะมอบตำแหน่งค่ายเพลงที่ยืนยงยาวนานที่สุดในประเทศ ก็คงไม่ผิดตัว แต่หากพิจารณาลึกลงไปถึงกองทัพดนตรีอาร์เอส นับแต่องค์กรเปลี่ยนชื่อจาก โรส ซาวด์ เหลือเพียงอักษรย่อ RS คงไม่มีช่วงเวลาไหนที่ขุนพลนักร้อง นักดนตรีของค่ายเพลงนี้ จะถดถอยอยู่ในวงแคบเท่าวันนี้(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 ธันวาคม 2551)
แกรมมี่วาดแผนรุกตลาดดิจิตอลอินเทอร์เน็ตจับไลฟ์สไตล์ขายเทลเลอร์ เมด ตลอดเส้นทาง 25 ปีของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ นอกเหนือจากเหล่าศิลปิน นักร้อง นักดนตรีที่เดินเข้า เดินออก มากหน้าหลายตาแล้ว สิ่งที่ปรับเปลี่ยนคู่กันมาโดยตลอดเช่นกัน คือคู่แข่งในธุรกิจเพลง(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 พฤศจิกายน 2551)
พาศิลปินโกอินเตอร์สไตล์ไทยๆ ทางออกตลาดลูกทุ่งของอาร์เอส โลกของความบันเทิงในวันนี้ ถูกทะลายกำแพงกั้นระหว่างชนชาติเกือบหมดสิ้น ความบันเทิงจากฟากตะวันตกที่เคยหลั่งไหลสู่ฟากตะวันออกเพียงทางเดียว ทั้งภาพยนตร์ และเสียงเพลง ปัจจุบันความบันเทิงจากฝั่งตะวันออก เดินสวนทางกลับไปสร้างตลาดในฝั่งตะวันตกได้เช่นกัน ผู้กำกับจากเกาะฮ่องกงกลายเป็นผู้กำกับมือทองของฮอลลีวู้ด ภาพยนตร์ญี่ปุ่นสร้างความสนใจให้กับคนทั่วโลก จนถูกซื้อไปดัดแปลงเป็นเวอร์ชั่นฮอลลีวู้ด หรือศิลปินเกาหลีกลายเป็นศิลปินที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กันยายน 2551)
การตลาดบทใหม่ GMM Grammyจัด 6 ทัพดนตรี วิ่งหาความต้องการผู้บริโภค การวางกลยุทธทางการตลาดในวันนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า โจทย์สำคัญที่นักการตลาดต้องตอบให้ได้ หาใช่การสร้างสินค้าให้ดีเลิศตามความคิดของผู้ผลิตอีกต่อไป หากแต่ได้กลายเป็นการหาคำตอบจากความต้องการของผู้บริโภคให้พบ เปลี่ยนศูนย์กลางจากผู้ผลิตมาสู่ผู้บริโภค นำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง ซึ่งหนึ่งในองค์กรใหญ่ที่ครองความเป็นหนึ่งในธุรกิจบันเทิงอย่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ก็ยอมรับในความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างชัดเจน(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 มีนาคม 2551)
สงครามลูกทุ่งยุคดิจิตอล เมื่อตลาดเปิดประตูสู่แมส จากล่างถึงบน - สนามรบสงครามเพลงลูกทุ่งเคลื่อนทัพสู่ยุคดิจิตอล ตลาดขยายพรมแดนสู่กลุ่มเป้าหมายแนวกว้าง - ดิจิตอลเทคโนโลยีนำเพลงลูงทุ่งสู่กลุ่มคนเมือง สินค้าไฮเทค ละครทีวี ภาพยนตร์แห่รุมตอมเกาะกระแส - เจ้าของค่ายวนกลับมาเป็นคู่ต่อกรหน้าเดิม แกรมมี่ - อาร์เอส ชิงความเป็นหนึ่ง - อาร์สยามนำร่องปลดแอกลิขสิทธิ์เพลง พร้อมดันนักร้องใหม่แต่เก๋า จินหรา พูนลาภ กุ้ง สุทธิราช เจาะกลุ่มแฟนเพลงอีสาน - แกรมมี่ไม่น้อยหน้าผลักแผนต่อยอดความสำเร็จตลาดลูกทุ่งทั่วไทย เตรียมรุกตลาดใต้ คาดสิ้นปีมีแชร์เพิ่มขึ้น พร้อมขยายแนวรบเครือข่ายการจำหน่าย ชู Customer centric เป็นเรือธงแห่งความสำเร็จ(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กันยายน 2550)
ดิจิตอลมิวสิก ตลาดอนาคตจีเอ็มเอ็มดีเปิดศึกชนอาร์เอสดิจิตอล 2 ค่ายเพลงดังประกาศศึกชิงตลาดดิจิตอลมิวสิก จีเอ็มเอ็มดีเตรียมบุกตลาดเต็มที่ ขอโฟกัสตลาดที่เชี่ยวชาญประสานพันธมิตรรอบด้าน ทำตลาดเชิงรุกดิจิตอลคอนเทนต์แบบเซ็นทริกทั้งออนไลน์และออฟไลน์ หวังกินแชร์กว่า 70%(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
กลยุทธ์การตลาด: แกรมมี่หวังจะ "ขาขึ้น" อีกครั้งคุณคิดว่าไพบูลย์หวังมากไปหรือเปล่า หลังจากเก็บตัวเงียบมานานพอสมควร แกรมมี่ก็ได้เปิดแถลงข่าวถึงทิศทางธุรกิจในปีนี้ บริษัทฯ จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และตลาดรวมถึงผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยได้ปรับบทบาทการทำตลาดการขายรูปแบบธรรมดา ... มาเป็นการทำตลาดแบบ "ดิจิตอล"(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กุมภาพันธ์ 2550)

Page: 1 | 2 | 3





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us