ไฮซีซัน 'สวนสนุก' ปีเสือคึกคัก 'สยามปาร์คซิตี้' เดินเกมรุกชิงตลาด
ธุรกิจสวนสนุกในประเทศไทยแม้จะมีความเคลื่อนไหวที่น้อยมาก เนื่องจากมีข้อจำกัดที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถใช้เงินท่องเที่ยวได้ทุกวัน กอปรกับอุปกรณ์เครื่องเล่นที่เปิดให้บริการก็แบบเดิมๆ ซึ่งกว่าจะถึงเวลาเปลี่ยนใหม่ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง ตลอดจนช่วงเวลาในการประกอบติดตั้งที่ยาวนาน
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 มีนาคม 2553)
'สวนสยาม'พลิกเกม ปลุกกระแสสวนสนุกไทย
ที่ผ่านมาความเคลื่อนไหวของการแข่งขันธุรกิจการให้บริการความบันเทิงแม้จะไม่หวือหวาเหมือนธุรกิจค้าปลีกทั่วไปก็ตาม ซึ่งน่าจะเกิดจากข้อจำกัดที่ธุรกิจความบันเทิงไม่สามารถใช้เงินท่องเที่ยวได้ทุกวัน กอปรกับมีสินค้าแบบเดิมๆ เปิดให้บริการซึ่งกว่าจะถึงเวลาเปลี่ยนใหม่ก็ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง ตลอดจนช่วงระยะเวลาในการประกอบติดตั้งที่ยาวนาน
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 พฤศจิกายน 2552)
ปัดฝุ่น 'สวนน้ำ-ทะเลกรุงเทพ''สวนสยาม'เปิดเกมรุกตลาดนอก
มูลค่าเม็ดเงินประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปีที่ไหลเวียนเข้าสู่ธุรกิจสวนสนุกของเมืองไทยผสมกับยอดตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอีก 10% ในทุกๆปี เชื่อได้ว่าการมีอัตราการยอดรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการสวนสนุกในเมืองไทยต้องปรับกระบวนยุทธ์เข้าฟาดฟันกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะจุดขายใหม่ประเภทเครื่องเล่นที่เริ่มเห็นภาพการแข่งขันที่ชัดเจนมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 พฤษภาคม 2552)
สวนสยาม vs ดรีมเวิลด์!สวนหมัดข้ามสนามรบ
ตัวเลขการเติบโตลดลง 5% ของตลาดสวนสนุกในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เป็นเสมือนแรงบีบให้ผู้เล่นหลักๆในตลาดอย่าง สวนสยาม และ ดรีมเวิลด์ ต้องพลิกกระบวนรบ ควานหาดีมานด์เพื่อกระตุ้นให้ตลาดที่มีแนวโน้มถดถอยนี้ กลับมามีสีสันอีกครั้ง และนั่นคือเกมรบใหม่ของตลาดสวนสนุกที่มีมูลค่าเกือบหมื่นล้านบาทต่อปี ที่ต่างต้องเร่งปักธงรบเพื่อขอเป็นผู้นำของตลาด....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 พฤษภาคม 2551)
ผ่าธุรกิจ “สวนสนุก”...ไม่มีวันตาย
ช่วงปีที่ผ่านมาธุรกิจสวนสนุกเมืองไทยมีเม็ดเงินที่แพร่สะพัดไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาทโดยเฉพาะยอดตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เห็นอย่างนี้หากเป็นผู้ประกอบการคงยากที่จะตัดสินใจขายกิจการในภาวะการณ์แข่งขันที่มีอัตราการยอดรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 มกราคม 2551)
ปฏิบัติการรีแบนด์ดิ้ง “สวนสยาม”ขึ้นแท่นสวนสนุกครบวงจร
แผนธุรกิจของสวนสยาม ตั้งแต่ปีนี้ ไปถึงปี 2551 สวนสยาม ยอมทุ่มทุนกว่า 3,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงสวนสยาม ทะเล-กรุงเทพฯ ให้เป็นสวนสนุกแบบครบวงจร พร้อมปรับโครงสร้างภายในองค์กร ให้เป็นมืออาชีพอย่างเต็มรูปแบบ สลัดภาพความเป็นบริษัทแบบครอบครัว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
"สวนน้ำ"ในห้างฯขอแจมอัดโปรโมชั่น
การแข่งขันของธุรกิจสวนสนุกที่รุนแรงมากขึ้นของค่ายยักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นสวนสยามและดรีมเวิล์ด รวมถึงที่กำลังจะเข้ามาอย่าง วันเดอร์เวิล์ดอีกค่ายหนึ่ง แน่นอนการปรับแผนกลยุทธ์ของทั้งค่ายต่างๆของธุรกิจสวนสนุกจึงต้องมีตามมา และผลกระทบอาจส่งถึงธุรกิจสวนสนุกบนห้างสรรพสินค้าซึงจะมีการปรับตัวอย่างไรนั้นต้องติดตาม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 มีนาคม 2549)
สวนสนุกถอดใจ คนไทยหมดอารมณ์กรี๊ด!
ปลายปีนี้สวนสนุกไม่ได้สาดแสง ส่งเสียงยึดเมืองกรุงเหมือนปลายปีกลาย สวนสนุกอิมพอร์ท หมดโอกาสวาดลวยลาย หลังผู้จัดถอดใจ "ตี๋ แม็ทชิ่ง" ขออานิสงฆ์บอลโลก มาปลุก UK Fun Fair ปลายปีหน้า ฮาวคัม เดินตาม เก็บ Amazing Fun Park ลงกล่อง ส่งผลเจ้าถิ่น "ดรีมเวิลด์" ฉวยโอกาสพักรบ ควัก 30 ล้าน ปรับโฉมรอรับมือ ชี้ไม่หวั่นคู่แข่งเพราะมีแต่จะทำให้ตลาดเติบโต แต่ห่วงสารพัดโรคภัยที่ถาถม ฉุดนักท่องเที่ยวไทย-เทศหนีหาย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 ธันวาคม 2548)