กองทุนคุ้มครองเงินต้นยังขลังโตสวนกระแสเศรษฐกิจดิ่ง-หุ้นตก
กองทุนพันธบัตร-ตราสารหนี้ ขายดีสวนกระแสเศรษฐกิจขาลง ด้วยแบบกองทุนที่มีความเสี่ยงในระดับต่ำ และนักลงทุนก็อยากพิทักษ์ทรัพย์ของตนไว้ในสถานการณ์เช่นนี้ อิงแนวคิดกำไรต่ำแต่เงินต้นอยู่ครบ ทำให้ปีที่ผ่านมามูลค่าตลาดรวมกองทุนพันธบัตร-ตราสารหนี้โต19% โดดเด่นด้วยกองทุนประเภทซื้อคืนอัตโนมัติที่ออกกันแทบจะทุกค่ายดอกเบี้ย 4.5-4.8% ลงทุนสภาพคล่องสูงกว่าฝากประจำแบงก์ ยูโอบีเพิ่มสีสันวัตกรรมการลงทุนผุด อินโนเวทีฟ ไรสซิ่ง เจแปน อิงผลตอบแทนกับดัชนีนิเคอิ 225 คุ้มครองเงินต้น100%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 ตุลาคม 2549)
โบรกฯแห่เทรดฟิวเจอร์ผ่านเว็บต่อจิ๊กซอว์เสริมมิติความพร้อม
แนวคิดการเพิ่ม "ผู้ลงทุน” “บริษัทสมาชิก” และ “สินค้า” ถือเป็นยุทธศาสตร์หลักของ “ตลาดอนุพันธ์” ที่พยายามจะขยายตลาดให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาไปอีกขั้นด้วยการเปิด “ซื้อขายฟิวเจอร์ส” ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต รองรับฐานลูกค้ารายย่อยที่จะดึงเข้ามาถ่วงดุลนักลงทุนสถาบัน ในเบื้องต้นโบรกเกอร์กว่า 10 แห่งพาเหรดเปิดเทรดผ่าน “เซ็ทเทรดดอทคอม” เอิกเกริก ส่วนอีก 3 รายมีการพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาใช้เอง เป็นการต่อจิ๊กซอว์ เพื่อเพิ่มความสะดวกนักลงทุนและสภาพคล่องในตลาด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 กันยายน 2549)
ใบสั่ง!กองทุนพยุงหุ้น-บูมเศรษฐกิจ.กบข.-ประกันสังคม- วายุภักษ์ สูญนับหมื่นล้าน !?
* ชำแหละ 3 กองทุนรัฐ ทั้ง กบข.-ประกันสังคม- วายุภักษ์ แหล่งระดมทุนภาคประชาชนที่ถูกกระแสโจมตีอย่างต่อเนื่องว่ามี "ใบสั่ง" การเมืองให้เข้าไปพยุงหุ้นเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยรวม
* ดังนั้นหุ้นที่ซื้อจึงมี ทั้งหุ้นที่มีปันผล หุ้นเสี่ยง ควบคู่กันไป ขึ้นอยู่กับ ใบสั่งและความเหมาะสม ปัจจุบันหุ้นดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าแล้วเสียหายหรือเจ๊งนับหมื่น ๆ ล้านบาทจริงหรือ!?
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 สิงหาคม 2549)
"บลจ.ทหารไทย"ฉีกตำรา"ธุรกิจกองทุน" "ติดอาวุธ"นักลงทุนผ่านมูลค่าเพิ่มบริการ
"บลจ.ทหารไทย" เปิดตัว The Library ห้องสมุดการเงิน ตอกย้ำกลยุทธ์ CRM ชูจุดเด่นด้านบริการ แบบฉีกประเพณีปฏิบัติของธุรกิจจัดการลงทุนทั่วๆไป เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า และขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ ซึ่งแต่ละปียังเติบโตได้อีกมาก ขณะที่ระบบ Call Center จะสมบูรณ์แบบและได้เห็นในช่วงปลายปี พร้อมก้าวสู่ผู้นำด้านบริการครบวงจร...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 สิงหาคม 2549)
“บล.ฟิลลิป”อัดสารพัด“กลยุทธ์”หมายตายืนหัวแถวตลาดอนุพันธ์
บล.ฟิลลิป เปิดภารกิจ หวังเพิ่มนักลงทุนตลาดอนุพันธ์ ดึงเกมจำลองเสมือนจริงทดลองเทรด พร้อมจัดแข่งขันหวังเสริมความรู้การลงทุนทางอ้อม หวังเป็นที่1ในดวงใจนักลงทุน พร้อมขอเข้าไปทำหน้าที่เป็นมาร์เก็ตเมคเกอร์หนุนวอลุ่มหวังมาร์เก็ตแชร์ เตรียมงบไว้กว่า 20-30 ล้านบาท โหมเพิ่มบัญชีอนุพันธ์จากปัจจุบัน 180 รายสู่เป้าสิ้นปีที่ 500 ราย ขอมาร์เก็ตแชร์ปีนี้ 10% จากปัจจุบันเฉลี่ยที่ 6% เป็นเพียงแค่ที่6
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 กรกฎาคม 2549)
"กองทุน"เหินฟ้าบินไป"ขุดทอง" พาเหรดเข็น FIF หอบเงินลงทุนนอก
กองทุนรวมลงทุนในต่างประเทศ (FIF) เข้าสู่ยุคเบ่งบาน ธุรกิจจัดการลงทุนหนีภัยหุ้นร่วง เศรษฐกิจชะงักงัน ตลาดโลกยังไม่หยุดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เร่งรีบนำวงเงินที่ขอโควต้าจากแบงก์ชาติกว่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขนไปลงทุนในต่างประเทศ ก่อนจะหมดอายุ และเรียกคืนจัดสรรให้กับรายอื่น กว่า 6 บริษัท คือ กสิกรไทย เอ็มเอฟซี ธนชาติ ไอเอ็นจี กรุงไทย และแอสเซ็ทพลัส พาเหรดเข็น FIF หลากรูปแบบ ประชันขันแข่งแย่งชิงเม็ดเงินจากลูกค้ากันคึกคัก...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กรกฎาคม 2549)
แบงก์ยุติสงครามแย่งชิงเงินฝากเปิดช่องกองทุนวิ่งไล่คว้ารายได้
สัญญาณการปรับอัตราดอกเบี้ยในแต่ละช่วงเวลา คือตัวแปรที่บอกให้รู้ว่า แบงก์และธุรกิจจัดการกองทุน ต้องผลัดกันรุก ผลัดกันรับ ยื้อแย่งเม็ดเงินในกระเป๋าเจ้าของเงินออมให้มากที่สุด... หลังหมอกควันในสมรภูมิช่วงชิงเงินฝากของบรรดาแบงก์ต่างๆเมื่อ 2-3 เดือนค่อยๆเจือจางลง ผสมกับท้องฟ้าเหนือตลาดหุ้นยังอึมครึม ครึ้มฟ้าครึ้มฝน จึงเปิดช่องว่างให้ธุรกิจจัดการกองทุนเริ่มมองหาวิธีแสวงหารายได้ในรูปแบบที่จะเพิ่มมูลค่าผลตอบแทนให้น่าดึงดูดใจ ในระหว่างรอจังหวะเงินฝากประจำใกล้จะครบดีล ขณะที่แบงก์ทุกแห่งยังไม่เคลื่อนไหวปรับอัตราดอกเบี้ย...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มิถุนายน 2549)
MFCเปลี่ยนวิกฤติการลงทุนเป็นโอกาสออก"MGS" ดึงผลตอบแทนต่างประเทศ
MFC สะบัดธงนำ ออกกองทุนใหม่ "โกลบอล สมาร์ทฟันด์"ลงทุนต่างประเทศ เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและความผันผวนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ ณ ปัจจุบัน อันเกิดจากผลทางการเมือง และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยRP/14วันขยับขึ้น การขยายช่องทางลงทุนต่างประเทศเป็นการกระจายความเสี่ยง และด้วยเครือข่ายพันธมิตรของ MFCที่มีหลากหลายจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยบริหารจัดการกองทุน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 มีนาคม 2549)
ร่างทรงใหม่กดดันบลจ.ยูโอบี เร่งสร้างผลงานพิสูจน์ศักยภาพ
ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจกองทุนรวม ความแตกต่าง และภาพลักษณ์ที่โดดเด่นโดยเฉพาะในเรื่องของผลตอบแทนจากการลงทุน คือสิ่งสำคัญที่ดึงดูความสนใจลูกค้าให้อยากเข้ามาลงทุน และสำหรับน้องใหม่แต่หน้าเก่าอย่าง บลจ.ยูโอบี ปี49น่าจะเป็นปีแห่งความท้าทายในหลาย ๆ ด้าน หลังจากมีการปรับเปลี่ยนองค์กรที่ ยูไนเต็ด โอเวอร์ซีล์ เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 มีนาคม 2549)
ระวัง!!FTA"ภาคการเงิน"ซ้ำรอยอดีต..วิกฤตถาโถมฝรั่งปลดป้ายหนีเอาตัวรอด
คนในแวดวง "ตลาดเงิน-ตลาดทุน" เริ่มวิตกถึงภัยคุกคามที่มองไม่เห็น จากการเตรียมเปิดเสรี FTA ภาคการเงินกับอเมริกา ต้นแบบลัทธิทุนนิยม โดยมุ่งความสนใจไปที่ พฤติกรรมนักล่าผลประโยชน์ทุกอย่างที่ขวางหน้า แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดวิกฤตก็จะเผ่นแน่บ หนีเอาตัวรอดคนเดียว "ทิ้ง" ให้คนในท้องถิ่นต้องแบกรับผลกรรมแบบไม่ใส่ใจใยดี "นายแบงก์" กังวลการกำกับดูแลอาจไม่เท่าเทียม รัฐคุมแบงก์ไทยได้แต่สั่งฝรั่งไม่ได้ ส่วนโบรกฯไม่มีทางเลือกต้องปรับโมเดลให้อยู่รอดโดยเลือกเอาความชำนาญเฉพาะทาง ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ห่วงเงินไหลเข้า-ออกอาจคุมไม่อยู่....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 มีนาคม 2549)