3 บลจ.ตั้งFIF ลุยหุ้น BRIC มองโตสวนกระแสซับไพรม์ได้
แอสเซ็ทพลัส -ไอเอ็นจี สบช่องเห็นโอกาสการลงทุนในกลุ่ม BRIC แนวโน้มสดใส เหตุมีการบริโภคภายในแข็งแกร่ง เติบโตได้สวนกระแสแม้จะมีซับไพรม์ เรียงคิวเปิด FIF กองใหม่ช่วงชิงลูกค้า ขายจุดต่างวิธีการบริหาร-การกระจายพอร์ตการลงทุนที่ไม่ซ้ำกัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 พฤศจิกายน 2550)
TDEX...กองทุนใหม่ที่เป็นราวกับ "ซุปเปอร์หุ้น"
หากคุณชื่นชอบที่จะลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งตลอด 2 เดือนที่ผ่านมาเรียกได้ว่าให้ความหฤหรรษ์อย่างมาก ขึ้น-ลงหวือหวามีความแตกต่างกันถึงวันละสิบยี่สิบจุด เรียกได้ว่าสนุกสนานไม่แพ้การเล่นรถไฟเหาะ หนึ่งในสิ่งที่ไม่ควรพลาดก็คือ TDEX (ThaiDex SET50 ETF) หรือกองทุน ETF กองแรกของไทยที่กำลังจะเปิดให้ซื้อขายกันแล้วตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน2550 เป็นต้นไป
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 สิงหาคม )
ไทยพาณิชย์บริการ"ชินคอร์ป"ครบวงจรกินดอกเบี้ยกู้-ค่าธรรมเนียมเบ็ดเสร็จ
ไทยพาณิชย์เป็นธนาคารที่"ชิน คอร์ป" ไว้วางใจมากที่สุด หลัง คตส.เปิดเผยทักษิณและคนใกล้ชิดเปิดบัญชีถึง 15 เล่ม หลังบริษัทลูกเข้ารับงานเบ็ดเสร็จ ทั้งที่ปรึกษาซื้อขายหุ้น ปล่อยกู้ให้เทมาเส็ก บริหารเงินให้พานทองแท้-พิณทองทาด้วยการซื้อกองทุนรวมค่ายทหารไทย และบริการพิเศษประธานแบงก์นั่งกรรมการชิน คอร์ป พร้อมด้วยปมปริศนากองทุนไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ตราสารหนี้เพิ่มแสนล้านแค่ 5 เดือนเศษ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มิถุนายน 2550)
ถอดรหัสหนึ่งทศวรรษ "กบข." องค์กร "Small but Beautiful"
10 ปี ของการตรากตรำทำงานหนัก คือดัชนีชีวัดการคลับเคลื่อน "กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ" (กบข.) ให้เติบใหญ่สู่องค์กรที่มีความเป็นสากล มีขุมทรัพย์จำนวนมหาศาลที่ต้องดูแลกว่า 3.2 แสนล้านบาท ด้วยบุคลากรเพียง 240 คนในองค์กร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มีนาคม 2550)
สำรวจพอร์ต "กบข." ยุคเศรษฐกิจพอเพียงแสวงหาแหล่งลงทุนใหม่สร้างผลตอบแทน
ถ้าเทียบการตัดพอร์ตลงทุนในปี 2550 กับปีที่ผ่านมาคงไม่แตกต่างกันนัก ด้วยสถานการณ์แวดล้อมที่ยังอยู่ในภาวะเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และการเมือง ยังผลให้ "กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ" (กบข.) จัดสรรเงินลงทุนต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยงมากขึ้น พร้อมเสาะแสวงแหล่งลงทุนใหม่ ๆ ที่จะทำให้สมาชิกรับผลตอบแทนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
"เอ็มเอฟซี" เดินเกมรุก FIF เต็มพิกัดหวังใช้เป็นฐาน ตั้งเป้าโต สู้ บลจ.เครือแบงก์ยักษ์ใหญ่
จับทิศ "เอ็มเอฟซี" ตั้งเป้าบุกเอาดีกับการลงทุนหุ้นในต่างประเทศ ตลอดปี 50 นี้ เรียงคิวกันออกถึง 6 กอง หวังใช้เป็นหมัดเด็ดในการต่อกรแย่งชิงเม็ดเงินกับ บลจ.เครือแบงก์ยักษ์ใหญ่ ชูจุดเด่นมีทีมงานและระบบคอมพิวเตอร์บริหารเอง ผลงานที่ผ่านมาเอาชนะดัชนีมาตรฐานได้ ลุยจับฐานลูกค้าเดิมและสถาบันเป็นหลักเหตุเสียเปรียบเรื่องสาขาช่องทางการจัดจำหน่าย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กุมภาพันธ์ 2550)
"บล.กสิกรไทย"ว่ายทวนกระแสน้ำวิ่งหาโอกาสเปลี่ยนจากรับมาเป็นรุก
การดำเนินงานของ"บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย "ต้องพลาดไปจากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้...แต่หาใช่ความผิดของบริษัทไม่ หากเพราะสถานการณ์ที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจต่างหากที่ทำให้ "บล.กสิกรไทย"ต้องกลับมาตั้งต้นวางแผนกันใหม่....ซึ่งยุทธวิธีนั้นหาใช่การตั้งรับ ตรงข้ามกลับเป็นเชิงรุกเหมือน "การว่ายทวนกระแสน้ำ"ที่ไม่ต้องรอโอกาสวิ่งเข้าหา หรือเฝ้ารอสถานการณ์เอื้อจึงลงมือทำ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 มกราคม 2550)
"ยูโอบี" ยึดหัวหาดกองทุนอนุพันธ์คุ้มครองเงินต้นสู้ยุคบลจ.แข่งเดือดใช้ความเก๋าเฉพาะด้านดึงลูกค้า
ยุคแข่งเดือดส่งผล บลจ. ขนาดกลางปรับตัวหาวิถีแห่งการอยู่รอด เน้นยุทธวิธีความถนัดเฉพาะด้าน เลี่ยงเผชิญหน้ากับยักษ์ใหญ่เจ้าตลาดกองทุนรวมขณะเดียวกันก็ต้องลดแรงปะทะระหว่างกองทุนร่วมรุ่น หาทางเปิดตลาดใหม่ ๆ ด้วยนวัตกรรมทางการเงินที่หลากหลายแตกต่าง ซึ่ง"ยูโอบี" หนึ่งใน บลจ.ที่เริ่มตั้งไข่ หันมาเอาดีในกองทุนรวมแบบปิด ปี2550 รุกหนักเปิดอีก 5 กองทุน ที่เน้นคุ้มครองเงินต้นอิงตราสารอนุพันธ์ หลังเห็นสิงโปร์บูม ประกาศปี2550 แม้ตอนนี้จะมีแต่นักลงทุนสถาบันเป็นส่วนใหญ่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 ธันวาคม 2549)
บลจ.เครือแบงก์ปรับกระบวนยุทธ์ชิงสูบเม็ดเงินกลางสมรภูมิเดือด
กองทุนรวมปรับโหมดรับยุคการแข่งขันสูง หวังเพิ่มผลตอบแทนพร้อมสินทรัพย์ในการบริหาร คู่การลดความเสี่ยง สร้างความพอใจให้ลูกค้า ทั้งไมเนอร์-เมเจอร์เชนจ์ ... "2 บลจ."ส่งสัญญาณนำ ปรับกลยุทธ์การลงทุน บลจ.อยุธยา นโยบายทั้งตราสารทุน-ตราสารหนี้ ผลตอบแทนเต็ง 1 ด้าน บลจ.ไทยพาณิชย์ ดัน 17 กองทุนหุ้น ใช้ฟิวเจอร์ส ลดความเสี่ยง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 ตุลาคม 2549)