แบงก์แข่งฉกเงินออม-พันธบัตรขายไม่คล่องกดดันรัฐออกล็อตใหม่ต้องเพิ่มดอกเบี้ยล่อใจ
พันธบัตรแบงก์ชาติส่อเค้าฝืด หลังไทยเข้มแข็งฉกเงินไปก่อนหน้า แถมแบงก์พาณิชย์เริ่มโดดลงเล่นสงครามเงินฝากระยะยาวแข่ง กลายเป็นทางเลือกหากพลาดหวังด้วยผลตอบแทนที่ต่างกันแค่ 0.2% นักบริหารเงินประเมินหากกระแสตอบรับครั้งนี้ไม่ดีเพิ่มการบ้านให้พันธบัตรรุ่นต่อไปที่อาจต้องขยับดอกเบี้ยเพื่อล่อใจมากขึ้น พร้อมแนะดูเงื่อนไขจ่ายเงินยิ่งถี่ยิ่งดี
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 กันยายน 2552)
ชี้บอนด์สั้นผลตอบแทนอุ่นใจรอปลอดภัยก่อนผันเงินลงหุ้น
นักวิเคราะห์ชี้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนกอดบอนด์ระยะสั้น โดยเฉพาะที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี รอจังหวะตลาดหุ้นฟื้นตัว ชูผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่แห่ออกหุ้นกู้เพิ่มเหตุระดมทุนต่างประเทศยากกว่า-ต้นทุนสูงกว่าในประเทศ ส่งผลดีให้นักลงทุนมีหุ้นกู้คุณภาพดีให้เลือกมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2551)
ซับไพร์มตามหลอนไม่หยุด ทำหุ้นกู้ออกใหม่ขายยาก
วิกฤติซับไพรม์ยังตามหลอนตลาดทุนไม่จบสิ้น สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยคาดแม้เฟดจะลดดอกเบี้ยแก้ปัญหา สวนทางราคาน้ำมันดันเงินเฟ้อทำแนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยโลกเป็นขาขึ้น ชี้หุ้นกู้ออกใหม่ในประเทศอาจขายยาก คาดมูลค่าระดมทุนหด20%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 ธันวาคม 2550)
ตลาดตราสารหนี้ไทยเลี้ยงไม่โตช่องทางระดมทุนเปิดกว้างเอกชน
ภาครัฐแรงเดียวคงไม่สามารถพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยให้โตได้ตามที่คาดหวังแน่ ตราบเท่าที่ภาคเอกชนเมินและไม่ให้ความสำคัญระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ เพราะมีทางเลือกในการระดมทุนหลากหลาย ปัจจัยดังกล่าวกลายเป็นข้อจำกัดการพัฒนาตลาดทุนประเภทนี้ ที่คาดว่าแม้แต่พ.ร.บ.หนี้สาธารณะแก้ไขสำเร็จก็คงช่วยไม่ได้มาก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 สิงหาคม 2550)
แบงก์พึ่งใบบุญ“ซิเคียวริไทเซชั่น”สร้างทุนหมดห่วงปัญหาอนาคตสภาพคล่อง
ตลาดตราสารหนี้ ชี้ทางออกแบงก์หลังสถาบันประกันเงินฝากกำเนิด หนุนทำซิเคียวริไทเซชั่น ทางเลือกใหม่ในการระดมทุนยุคเงินฝากถูกลดกรอบการค้ำประกัน เพราะการทำซิเคียวริไทเซชั่นจะช่วยให้แบงก์ได้แหล่งเงินต้นทุนต่ำไว้ปล่อยสินเชื่อ ขณะเดียวกันลดปัญหาความเสี่ยงสภาพคล่องจากยอดเงินฝากที่อาจตกลง เพราะผู้ออมโดยเฉพาะรายใหญ่ไม่ประสงค์เก็บเงินไว้ในแบงก์อย่างเดียว หากแต่ต้องการออมในรูปแบบอื่นเพื่อกระจายความเสี่ยง ระยะยาวเตรียมชักจูง กฟผ. ธอส. ปตท. ร่วมมือ ด้านตลาดตราสารหนี้รับผลพลอยได้ฐานนักลงทุนรายย่อยเพิ่ม จากหลักทรัพย์หลากหลายให้เลือกลงทุน วางแผน 5 ปีได้เห็นมูลค่าการออกเพิ่ม 1.5 ล้านล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 สิงหาคม 2549)
ปลุก"กองทุนพันธบัตรเอเชีย2"สกัดเงินทุนไหลทะลักข้ามทวีป
11 ประเทศสมาชิกเอเชีย-แปซิฟิค ร่วมหัวจมท้ายเร่งพัฒนากองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 สกัดเม็ดเงินลงทุนกองใหญ่ในเอเชียไม่ให้ไหลออกนอกทวีป ไปลงทุนยังศูนย์กลางการเงินระดับโลก ย่านยุโรป และอเมริกา เพื่อดักเงินออมก้อนโตให้ลงทุนในเอเชีย ซึ่งจะได้ต้นทุนที่ถูกกว่า ขณะที่การเทไหลออกไปลงทุนต่างประเทศในท้ายที่สุดก็จะวกกลับคืนมาในรูปการปล่อยกู้เช่นเดิม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 กุมภาพันธ์ 2549)
พันธบัตร-แบงก์รัฐแข่งล็อคเงินยาว เร่งดอกเบี้ยพุ่ง-ปีหน้ากู้บ้านแตะ8%
รัฐแห่ออกพันธบัตรดูดเงินประชาชนดึงดอกเบี้ยสูงล่อใจ แบงก์ออมสิน-ธกส.แข่งเดือดขายสลาก พนักงานอ่วม! โดนบี้ทำยอด ไม่ได้ตามเป้ามีผลต่อเงินเดือน นักเศรษฐศาตร์ห่วง 10 เดือน ดูดเงินไปแล้ว 2.25 แสนล้านบาท เป็นตัวการสำคัญเร่งดอกเบี้ยพุ่ง ปีหน้าดอกเบี้ยกู้ไม่ต่ำกว่า 8%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2548)
พันธบัตรน้ำมันร้อนจองก่อนได้ก่อน ดอกเบี้ย 4.28-5.87%เหนือฝากแบงก์
เซียนแนะรีบจองพันธบัตรน้ำมัน เหตุผลตอบแทนสูงกว่าฝากแบงก์ทุกประเภท ชี้อีก 1 ปี ดอกเบี้ยคงไม่ถึง 4.28% ส่วนอายุ 3 ปี ให้ดอกสูงถึง 5.87% เหนือกว่าพันธบัตรรัฐบาลอายุ 17 ปีด้วยซ้ำ แต่แนะทำใจหากผิดหวังเพราะใช้ระบบจองก่อนได้ก่อน เพราะงานนี้กำหนดซื้อขั้นต่ำที่ 5 หมื่นบาทแต่ไม่จำกัดเพดานซื้อสูงสุด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 ตุลาคม 2548)