เบอร์เกอร์คิงปรับมาสคอต จากภาพลักษณ์ “ราชา”
มาสคอตของแบรนด์เบอร์เกอร์คิง ประกาศยกเลิกภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่เป็นมาสคอตพระราชาในงานแคมเปญสินค้าของตนทั้งทางโทรทัศน์และทางช่องทางออนไลน์เสียแล้ว โดยจะหันกลับไปเน้นคุณภาพของเบอร์เกอร์แทน
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 กันยายน 2554)
เมนูใหม่แมคโดนัลด์ หวังจับตลาดหลากเชื้อชาติ
แคมเปญการตลาดในคราวนี้ของแมคโดนัลด์จึงเป็นการศึกษาเพื่อนำเอาวัฒนธรรมด้านอาหารการกินและรสชาติประจำชาติต่างๆ ที่แตกต่างกัน อย่างเช่นวัฒนธรรมด้านอาหารของอเมริกัน แอฟริกัน ฮิสแปนิกส์หรือพวกละตินอเมริกา และชาวเอเชีย มาปรับปรุงและพัฒนาเมนูอาหารของแมคโดนัลด์ และยังไปช่วยประกอบเป็นกรอบแนวคิดในช่วงที่ทำงานโฆษณาด้วย
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 กรกฎาคม 2553)
ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ดัน 'DQ' ท้าชิงตลาดเบอร์เกอร์ระลอก 2
เปิดแผนรบร่วมชิงเค้ก 'ตลาดแบอร์เกอร์' ระลอกที่สองของกลุ่มไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป เดินตามนโยบายบริษัทแม่ที่อเมริกา ต่อยอดแบรนด์ดัง 'แดรี่ควีน' ที่ได้รับความนิยมในอดีตมาลงตลาด ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ และด้วยมาดใหม่ภายใต้แบรนด์ 'ดีคิว กริลล์ แอนด์ ชิลล์' ร้านอาหารแนวคิดใหม่จับกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน วางเป้าหมายหลังขยายสาขาในปีที่ 3 เปลี่ยนแนวทางสื่อสารแบรนด์มาเป็นเชิงรุกเพื่อสร้างการจดจำแบรนด์ต่อกรกับแบรนด์ดัง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 สิงหาคม 2552)
QSR WAR วิกฤตรอบใหม่ พิซซ่าฮัท
*ทิศทางการกู้บัลลังก์ครั้งใหม่ 'พิซซ่าฮัท'
*เริ่มต้นนับหนึ่งเมื่อคู่คิด 'ซีอาร์จี' ตีจาก
*ผู้ท้าชิงจะพลิกโฉมการแข่งขันที่กำลังเพลี่ยงพล้ำอย่างไร
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มิถุนายน 2552)
'เบอร์เกอร์คิง' พลิกเกมชู 'ราคา'ท้าชน 'แมคโดนัลด์และเคเอฟซี'
ศึกเบอร์เกอร์ระอุ 'เบอร์เกอร์คิง' ขยับเปิดเกมรับที่มีคู่แข่งเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดอย่างต่อเนื่อง ด้วยเซตเมนูใหม่ที่มีจุดขายด้านความคุ้มค่าและ 'ราคา' แก้เกมที่มีราคาสูงกว่าคู่แข่งในตลาดเหลือ 10% จากเดิม 20% ตั้งเป้ารายได้สิ้นปีนี้เติบโตขึ้น 25%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 พฤษภาคม 2552)
สงคราม "พิซซ่า" ตลาดภูธรเดือด
เมื่อการทำตลาดเพื่อเจาะกลุ่มคนเมืองของ พิซซ่า ฮัท ใกล้ถึงระดับจุดอิ่มตัว เพราะสามารถยึดพื้นที่การทำตลาดหลักในกรุงเทพฯ จากเครือข่ายสาขาที่มีครอบคลุมพื้นที่ 92% และจากตลาดรวมอาหารพิซซ่ามูลค่า 3.5-4 ล้านบาทในปัจจุบันนั้น พิซซ่า ฮัท มีสาขาเปิดให้บริการทั้งสิ้น 87 แห่ง ขณะที่สาขาต่างจังหวัดมีบริการเฉพาะในพื้นที่หัวเมืองใหญ่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 กุมภาพันธ์ 2552)
"KFC" หลังปรับทัพครั้งใหญ่
แม้ว่าสงครามการช่วงชิงความเป็นผู้นำของบรรดาเชนในธุรกิจ"ร้านอาหารจานด่วน" (Quick Service Restaurant &QSR) ที่อยู่ในยุคของการแข่งขันเพื่อสลัดภาพอาหารจังก์ฟูดจะเป็นการต่อสู้ในระยะยาว และปัจจุบันจะอยู่ในยกแรกที่เพิ่งเริ่มต้น เพราะแต่ละค่ายต่างมุ่งเบนเข็มขยายธุรกิจด้วยการสรรหาเมนูใหม่ที่จะลดอุปสรรคในด้านคุณประโยชน์ของสารอาหารที่มีในใจของผู้บริโภค และมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นจากเมนูหลักประจำร้านเข้าเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดมูลค่ารวมกว่า 14,500 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 มิถุนายน 2551)
เคเอฟซี VS เชสเตอร์กริลล์ชิงแชร์เมนูไก่เพื่อสุขภาพ
กระแสสุขภาพที่กำลังมาแรงทำให้บรรดาธุรกิจอาหารบริการด่วน (Quick-Service Restaurant : QSR) ต้องมีการปรับตัวเพื่อรับกับกระแสดังกล่าว และที่ผ่านมานั้นไม่เฉพาะเบอร์เกอร์ และพิซซ่า เท่านั้น ล่าสุดเคเอฟซี และเชสเตอร์กริลล์ 2 ค่ายที่ให้บริการเมนูไก่ เป็นยอดขายหลักของร้านก็ออกมาปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ครั้งใหญ่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 เมษายน 2551)
ผ่ากึ๋นฟาสต์ฟู้ดระดับโลก เปิดสูตร 'สร้างแบรนด์' จานด่วน
อีกหนึ่งหนทางสู่ความสำเร็จของการสร้างแบรนด์ เรียนรู้พื้นฐานแนวคิดและวิธีการของแบรนด์ดังระดับอินเตอร์ฯ ที่รายเล็กนำมาปรับใช้ได้ "เคเอฟซี" ฟาสต์ฟู้ดยอดฮิต เปิด 7 องค์ประกอบสร้างธุรกิจยืนยาว แนะธุรกิจใกล้ชิดลูกค้าใส่รายละเอียดและมาตรฐาน-ผูกสัมพันธ์ซัปพลายเออร์-สร้างมิตร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มีนาคม 2550)
'เทสตี้ ไทย' …ฟาสต์ฟูดหวังสร้างชื่อสู่ตลาดโลก
ศักยภาพอาหารไทยโดยเฉพาะด้านรสชาตินั่นได้รับความนิยมไปทั่วไปโลก โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของร้านอาหารไทย ที่มีการประเมินกันว่ามีกว่า 20,000 ร้านทั่วโลกนั้น แนวโน้มการเติบโตเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วสูงกว่าอาหารจีนและญี่ปุ่น ซึ่งต้องยอมรับว่าได้ล้ำหน้าอาหารไทยไปแล้วนั้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)