ภัตตาคารออร์แกนิก กว่าจะรุ่งต้องรออีกนาน
ภัตตาคารอาหารแบบออร์แกนิก เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่ไม่ใช่ว่าทุกรายของผู้ประกอบการจะประสบความสำเร็จเหมือนกันหมด ดังนั้น กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม และความสามารถในการรอคอยจังหวะในระยะยาวได้มีส่วนอย่างมากในการนำกิจการสู่ความสำเร็จหรือล้มเหลว
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 ตุลาคม 2553)
ไขกลยุทธ์ “อาหารเสริม” เกมรุกตลาดแนวใหม่
ในโลกของธุรกิจอาหารเสริมยุทธศาสตร์ทางการตลาดถูก พัฒนามาจากยอดขาย การเจาะตลาดและการครองตลาดพร้อมกับสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอม รับ ยุทธศาสตร์เหล่านี้จะก่อกำเนิดขึ้นในจิตใจก่อน แล้วจึงถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรม กลายเป็นแบบแผนเชิงปฏิบัติที่มีการบันทึกอย่างชัดเจน
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 มีนาคม 2553)
แบรนด์ซุปไก่ ย้ำภาพผู้นำ กลยุทธ์กวดวิชาแบรนดิ้ง
เซเรบอส ตอกย้ำภาพลักษณ์ผู้นำที่เป็นผู้บุกเบิกจัดกิจกรรมโครงการกวดวิชาเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยรายแรก ชูจุดแข็งที่แตกต่างจากคอร์สกวดวิชาที่ค่ายสินค้าเริ่มให้ความสำคัญนำมาเป็นเครื่องมือการตลาดในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าวัยเรียน ด้วยวิชาสอน และรวมสุดยอดทีมอาจารย์ชื่อดัง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มกราคม 2553)
'แบรนด์' ปรับแนวรบใหม่ ชูจุดแข็ง P Product สู้ศึกรังนก
ศึกชิงตลาดรังนกรอบใหม่... เจ้าตลาด 'เซเรบอส' เปิดเกมในเชิงรุกเสริมอาวุธแบบครบเครื่อง ต้อนรับการแข่งขันในตลาดหน้าขายช่วงโค้งสุดท้าย จากเดิมกลยุทธ์หลักเน้นสื่อสารการตลาดผ่านแบรนด์แอมบาสซาเดอร์ มาเพิ่มจุดแข็งที่ชูสินค้าเป็นหัวหอก ตอกย้ำความแตกต่างสินค้า รั้งบัลลังก์ และมาร์เกตแชร์ 64% ตลาดรวมมูลค่า 2,500 ล้านบาท
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 ตุลาคม 2552)
ค่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เปิดศึกชิงตลาดเปลี่ยนขั้ว"ความงามสู่ยุคเพื่อสุขภาพ"
เมื่อภาพรวมตลาดอาหารเสริมเริ่มจะเปลี่ยนไป ทำให้บรรดาค่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจะต้องปรับรูปแบบการตลาดตามยุคสมัย เพราะจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ห่วงใยในสุขภาพความงามทำให้โอกาสในการทำตลาดในช่วง 2- 3 ปีที่ผ่านมานั้นจะเป็นของค่ายผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่เน้นกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อความงามและควบคุมน้ำหนักเป็นตลาดหลักมีการแข่งขันอย่างรุนแรง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 ธันวาคม 2551)
ที.ซี. จุดชนวนสงครามรอบใหม่วางหมากท้าชน ฟังก์ชันนัลดริงก์ เต็มรูปแบบ
หลังจากส่งบิวตี้ดริงก์ "บลิ๊งค์ คอลลาเจน ดริ๊งค์" แบรนด์เรือธงกรุยทางแข่งขันตลาดแมส กับ สก๊อต คอลลาเจน คู่แข่งรายหลัก ล่าสุดต่อยอดการทำตลาด ด้วยการเปิดเกมท้าชน ฟังก์ชันนัลดริงก์ เต็มรูปแบบ วางแผนปี 53 เตรียมแตกไลน์สินค้ากลุ่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแบรนด์ใหม่ ขยายฐานกลุ่มลูกค้า ที่วางขายผ่านช่องทางคอนวีเนียนสโตร์ตามไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 พฤศจิกายน 2551)
"โอสถสภา"มองหาฐานลูกค้าใหม่ เปิดแนวรุกฟังก์ชันนัลดริงก์ในตลาดเวอร์จิ้น
โอสถสภา ฝ่ากระแสการแข่งขันร้อนแรงในตลาดฟังก์ชันนัลดริงก์พลิกเกมใหม่ เมินจุดขายด้านอีโมชันนัล วางหมากลงไปเล่นในตลาดใหม่ที่ไม่มีคู่แข่ง ที่เริ่มนับหนึ่งด้วยการเปิดตัวสินค้าใหม่ ปั้นแบรนด์ "เปปทีน"พร้อมทำตลาดภายใต้คอนเซ็ปต์ Real Health & Functional เน้นสารจากธรรมชาติ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าตั้งแต่ระดับกลาง-บน และเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ตัวจริงที่ใส่ใจในสุขภาพ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 กันยายน 2551)
"สก๊อต" ปักธงเฮลตี้บิวตี้ดริงก์ชิงตลาดอาหารเสริมสุขภาพ "เซเรบอส"
สก๊อต เปิดแนวรุกตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพยุคจับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ขยายจากเฮลตี้มาสู่บิวตี้ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เริ่มขึ้นในช่วง 2 ที่ผ่านมา โหมบุกตลาดเครื่องดื่มคอลลาเจนรายแรกของตลาด ประเดิมด้วย"สก๊อต คอลลาเจน-อี"เจาะกลุ่มผู้หญิง ล่าสุดแตกไลน์สินค้าใหม่ "สก๊อต คอลลาเจน-เอ็ม วิธ ซิงค์"เจาะกลุ่มเมโทรเซ็กชวล ที่รักการดูแลตัวเองให้ดูดีครบถ้วน หลังศึกษาพฤติกรรมความต้องการของกลุ่มผู้ชายวัยทำงาน พบว่ากระแสการดูแลสุขภาพของผู้ชายยุคนี้มีความต้องการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ตั้งเป้ายอดขาย 80 ล้านบาท จากยอดขายกลุ่มคอลลาเจน 280 ล้านบาท เพื่อปูทางขึ้นแท่นผู้นำตลาดอาหารเสริมเพื่อสุขภาพอย่างเต็มตัว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 พฤษภาคม 2551)
Ultimate Convenience Foodsก้าวต่อไปอาหารสุขภาพ
แม้ว่านักการตลาดในต่างประเทศจะรู้ว่าตนได้ใช้เรื่องของสุขภาพเป็นตัวกระตุ้นในการสนใจซื้อสินค้าประเภทดุแลสุขภาพมานานระยะหนึ่งแล้ว แต่ผลการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ ยังคงชี้ว่าเรื่องของสุขภาพยังไม่ใช่เรื่องเชย หรือล้าสมัยแต่อย่างใด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 กุมภาพันธ์ 2549)