หยวนแข็งค่าไทยไม่ได้เปรียบ อย่าหวังบาทแข็งลดขาดดุล
เตือนไทยอย่าหวังลม ๆ แล้ง ๆ เงินหยวนแข็งค่าช่วยบาทแข็งค้าขายจีนสะดวก เหตุไทยเป็นประเทศเดียวในแถบเอเชียตะวันออกที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แนะต้องดูระยะยาว คาดสิ้นปีค่าเงินหยวนมีสิทธิ์เพิ่ม 6% ส่วนบาทไทยอาจขยับได้ 2-3% กระทบภาคส่งออกเป้า 20% คงยาก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2548)
จีนปรับเงินหยวนลอยตัวแพงขึ้น 2.1% แต่ปรากฏการณ์นี้คงไม่ใช่ "ม้วนเดียวจบ"
ในที่สุด ทางการปักกิ่งยอมเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งสำคัญ เมื่อธนาคารกลางของจีนประกาศปรับเพิ่มค่าเงินหยวน และเลิกตรึงค่าเงินไว้กับเงินดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกา แล้วให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินไปอิงกับระบบตะกร้าเงินหลายสกุลแทน คำถามที่ถูกจุดประกายขึ้นทันควันคือ จีนจะยอมปรับค่าเงินหยวนให้เขยิบขึ้นอีกกี่ครั้ง และเป้าหมายแท้จริงภายในใจนั้น อยู่ที่ระดับใดกันแน่ นอกจากนั้น นักวิเคราะห์ยังมองว่าท่าทีใหม่เที่ยวนี้ของจีน แม้จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ แต่ในไม่ช้า กระแสกระทบกระทั่งระหว่างชาติยักษ์คู่นี้ จะต้องปะทุขึ้นอีก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2548)
จีนแสดงท่าทีใกล้เพิ่มค่าเงินหยวน ผ่อนแรงกดดันทั้งภายในและต่างปท.
การส่งออกแบบบูมสนั่นของจีนในระยะไม่กี่เดือนหลังมานี้ กลายเป็นชนวนให้เกิดการอภิปรายถกเถียงอีกครั้งเรื่องปักกิ่งควรจะต้องปรับค่าเงินหยวน นั่นคือ ปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์
ถึงแม้ผู้นำจีนหลายคน โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่า ได้ออกมาเรียกร้องบ่อยครั้ง ให้บันยะบันยังสินค้าออกซึ่งไหลทะลักออกจากโรงงานในแผ่นดินใหญ่กันบ้าง แต่เอาเข้าจริงแล้ว ผลิตภัณฑ์ตีตราเมดอินไชน่า ก็ยังคงพรั่งพรูกันออกมาอยู่ดี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 พฤษภาคม 2548)