บิ๊กซี G4 อัพอิมเมจ ครีเอตแวลู
สงครามค้าปลีกคงไม่มีสนามรบใดรุนแรงไปกว่าดิสเคานต์สโตร์ในเวลานี้ เพราะนอกจากจะต้องแข่งขันกันเองแล้ว ยังต้องแข่งกับบรรดายี่ปั๊วซาปั๊วที่ใส่แรงกดดันให้ภาครัฐหันมาคุ้มครองธุรกิจของคนไทย แม้จะมีแนวทางเกี่ยวกับการควบคุมการขยายตัวของห้างยักษ์ใหญ่ แต่บรรดาดิสเคานต์สโตร์ต่างก็มีการปรับตัวจากรูปแบบสาขาที่เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ต ไปสู่การซอยย่อยเป็นสาขาเล็กๆ เช่น เทสโก้ โลตัส มีทั้งตลาดโลตัสที่เป็นซูเปอร์มาร์เกตเล็กๆในเมือง และร้านคุ้มค่าเพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปในต่างจังหวัด และยังมีโลตัสเอ็กซ์เพรสที่ใช้พื้นที่เพียง 300 ตารางเมตรก็สามารถขยายกระจายเข้าสู่ชุมชนได้ ซึ่งไม่ได้กระทบแค่โชวห่วยเท่านั้น เพราะแม้แต่ร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเว่นยังได้รับผลกระทบไปด้วย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 ธันวาคม 2550)
เซ็นทรัล ชนแหลก!เปิดเกมกินรวบกำลังซื้อทุกตลาด
- เซ็นทรัลประกาศแนวรบชนคู่แข่งชิงกำลังซื้อทุกตลาด ค้าปลีกระดับบนลงล่าง ไล่ถึงไลฟ์สไตล์มอลล์
- เซ็นทรัลเวิร์ล ชนพารากอน ชิงตลาดบน, เซ็นทรัล ผนึกโรบินสัน บี้เดอะมอลล์, ปั้นท้อปส์ ประกบโลตัส เอ็กซ์เพรส - เซเว่นอีเลฟเว่น แบ่งแชร์ชุมชน,
- ล่าสุดเปิดเกมชิงตลาดไลฟ์สไตล์มอลล์ ดึงธุรกิจในเครือทั้งสเปเชียลตี้ สโตร์ ฟาสต์ฟู้ด ซูเปอร์มาร์เก็ต และพันธมิตรทางธุรกิจผุดคอมมูนิตี้ มอลล์ ปะทะเจ้าของไอเดีย สยามฟิวเจอร์
- เผยแผนต่อไปเตรียมข้ามฟากเขย่าบัลลังก์เอนเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ จากเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในปีหน้า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 ตุลาคม 2550)
สยามฯ ซอยเซ็กเมนต์ บัตรสมาชิก สร้าง ลอยัลตี้ โปรแกรม
ทุ่มงบ 10 ล้านบาทในการทำซีอาร์เอ็มกับกลุ่มสมาชิกวัยรุ่น ภายใต้ชื่อ S'Club Passionistas' Society คลับสนุกเกินพิกัด เพื่อตอบสนองตลาดวัยรุ่นที่ปัจจุบันมีกำลังซื้อ มีไลฟ์สไตล์ที่สนใจเรื่องแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ ทั้งนี้บริษัทได้ขยายฐานวัยรุ่นไปสู่วัยเด็กมากขึ้น จากในอดีตฐานลูกค้าวัยรุ่นจะเริ่มจากอายุ 15 ปี ต่อมาก็ลดเหลือ 12 ปี แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เด็กมีการเรียนรู้และเติบโตเร็วมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 เมษายน 2550)
แนวคิดบริหาร multibrand"สยาม พารากอน-เอ็มโพเรี่ยม"
- ผงาดแนวคิดเชิงกลยุทธ์ของ multibrand "สยาม พารากอน-เอ็มโพเรี่ยม"
- ในขณะที่สยาม พารากอนเปรียบดังมหานครนิวยอร์ค เอ็มโพเรี่ยมก็ไม่ต่างอะไรกับแฟชั่นเมืองปารีส
- ศาสตร์บริหารจัดการ segmentation marketing "ปัจจุบันต้องเป็นฉัน เป็นของฉัน และเป็นฉันคนเดียว" เพราะลูกค้าคือศูนย์กลางขับเคลื่อน
- เป้าหมายการเติบโตของสองห้างดังนับจากนี้ เรียนรู้และเข้าใจ สร้างความผูกพันให้ลูกค้าหลงรักหัวปักหัวปำ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มิถุนายน 2549)
แบรนด์ดัง-ห้างหรูเปิดเกมชิงขุมทรัพย์ยอดพีระมิด
*ขาชอประดับพรีเมียมแบรนด์ สู้ไม่ถอย เศรษฐกิจซบ น้ำมันแพงดอกเบี้ยสูงก็ไม่ทำให้กำลังซื้อตก
*Top of Brand จากทั่วทุกมุมโลก แห่ส่งผลิตภัณฑ์ป้อนตลาด สนอง Demand ทำให้เกิดสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างแบรนด์
*ขณะที่บรรดาห้างต้องปรับโฉม ปูพรมแดง สู้ศึกห้างหรู ต้อนลูกค้าระดับยอด พีระมิด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มิถุนายน 2549)
บิ๊กซี สร้างลอยัลตี้ ปะทะ โลตัส โรลแบ็ค
บิ๊กซี ประกาศสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ด้วยกลยุทธ์ด้านราคา หวังชิงความเป็นผู้นำกับโลตัสที่เปิดแคมเปญโรลแบ็ครอบใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ People's Choice ซึ่งมีการนำสินค้ากว่า 800 รายการมาลดราคาลงอีก 7%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 มีนาคม 2549)
โรบินสันอัดกิจกรรม ทำซีอาร์เอ็มกระตุ้นยอดขาย สร้างลอยัลตี้
โรบินสันทุ่มงบ 260 ล้านบาท รุกกิจกรรมการตลาดทั้งกิจกรรมสร้างแบรนด์ และกิจกรรมโปรโมชั่นตามเทศกาล หวังกระตุ้นการใช้จ่ายต่อครั้ง พร้อมกับเปิดตัวบัตรเครดิตโรบินสันเพื่อขยายฐานลูกค้าประจำ หลังประสบความสำเร็จจากการทำบัตรโรบินสันเมมเบอร์คลับที่มีสมาชิกสูงถึง 1.3 ล้านราย โดยกว่า 50% เป็นสมาชิกที่แอ็กทีฟ มีการซื้อสินค้าทุกเดือน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 กุมภาพันธ์ 2549)
อิเซตัน ชูเจแปนนีสสไตล์ ขายจุดต่างโหมกิจกรรม สร้างแบรนด์ลอยัลตี้
อิเซตันขยับตัวครั้งใหญ่หลังจากเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยกว่า 13 ปี แต่ไม่เคยมีการปรับปรุงห้าง จนปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกตั้งแต่ย่านปทุมวันมาถึงราชประสงค์ยาวไปถึงพร้อมพงษ์ ต่างมีการขับเขี้ยวกันอย่างเข้มข้นโดยเฉพาะห้างค้าปลีกของไทยไม่ว่าจะเป็นค่ายเซ็นทรัลที่มีห้างเซ็นทรัลชิดลม และเซ็นทรัลเวิลด์ ส่วนค่ายเดอะมอลล์ก็มีสยามพารากอน และดิ เอ็มโพเรี่ยม ซึ่งบรรดาห้างต่างชาติต่างก็ยอมรับว่าธุรกิจค้าปลีกโลคอลในประเทศไทยมีความแข็งแกร่ง โดยอิเซตัน ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าจากญี่ปุ่นก็ยอมรับกับสถานการณ์ดังกล่าว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 กุมภาพันธ์ 2549)
สยามพารากอน สึนามิค้าแห่งศูนย์การค้า
ปลายปีนี้มีสองสยามเปิดตัวในเมืองไทย สยามแรก คือ "สยามนิรมิต" โรงละครขนาดยักษ์ที่จะเน้นโชว์การแสดงและวัฒนธรรมไทยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติชม สร้างโดยกลุ่มทุนแดนเนรมิต ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าของดรีมเวิร์ล
อีกสยามหนึ่งอยู่บนพื้นที่ข้าง ๆ สยามเซ็นเตอร์ อยู่ตรงข้ามกับสยามสแควร์ สยามพารากอน The Pride of Bangkok ซึ่งมีกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา
(ผู้จัดการายสัปดาห์ 19 ธันวาคม 2548)