ชินคอร์ปจ้างทนายบริหารITVสวมเก้าอี้บอร์ดลุยฟ้องเอาคืน
ทนายความพรึบ นั่งบอร์ดบริหาร ITV เปิดศึกทวงสมบัติคืน โบรกเกอร์เชื่องานนี้สู้กันยิบตา ลากยาวพ้นรัฐบาลสุรยุทธ์ สงสัยประธานบอร์ดรายได้แค่ 8 หมื่นบาท น้อยกว่าคนในทีมข่าวไอทีวีเสียอีก จับตาอนุญาโต 9 พ.ค.
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 เมษายน 2550)
ตะวันออกที่ท่าพระอาทิตย์: ไอทีวี เหมือนชนะ แต่ไม่ชนะ
คำสั่งของศาลปกครองคืนวันที่ 7 มีนาคม ให้ไอทีวี แพร่ภาพต่อไปอย่างต่อเนื่อง ภายหลังถูกสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สปน. ยึดสัมปทานคืน เพื่อไม่ให้เกระทบต่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)
คาด 4 ปี โฆษณาวิ่งใส่ทีวีดาวเทียม อินไซท์อินโฟ ตั้งเป้าเข้าเส้นเบอร์ 1
ทีวีดาวเทียมกลายเป็นสื่อใหม่ของคนไทยที่กำลังถูกจับตามอง ทั้งในแง่การปฏิรูปวงการโทรทัศน์ที่สถานีโทรทัศน์เกิดขึ้นอย่างมากมายในรอบปีที่ผ่านมา และกำลังจะเกิดขึ้นอีกนับสิบช่องในอนาคตอันใกล้ เพียงแต่วันนี้ ทีวีดาวเทียม ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงอยู่ในสังคม ถึงความถูกต้องด้านตัวบทกฎหมายในการก่อตั้งสถานีและการออกอากาศ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
ย้อนรอย ITV ทีวีเสรี
เรื่องราวคงต้องย้อนไปถึงสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ปี 2535 ภายหลังการเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นำมาซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่แล้ว ในด้านกิจการสื่อสารมวลชน บทเรียนจากการถูกปิดกั้นข้อมูลข่าวสารของสื่อส่วนใหญ่ที่อยู่ในการครอบครองของรัฐ ประชาชนเรียกร้องให้มีการตั้งสื่อเสรีที่ปราศจากการครอบงำของอำนาจรัฐ นำมาซึ่งการเกิดโครงการ ทีวีเสรี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
แผนลับอำนาจเก่า ยึดคืน! “ไอทีวี”
เสียงสะอื้นปนถ้อยความตัดพ้อของคนไอทีวี ที่สถานีโทรทัศน์ที่ทำมาหากินของตนต้องถูกปิดลงจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา อาจสร้างความเห็นอกเห็นใจในสายตาประชาชนที่เคยเปิดดูไอทีวี ทั้งขาจร และขาประจำ แต่เงื่อนงำที่คนไอทีวีพยายามบอกกล่าวว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ช่องทางทำมาหากิน สถานียูเอชเอฟแห่งแรกของประเทศไทยต้องประสบชะตากรรมเช่นนี้ มาจากความไม่เป็นธรรมที่เกิดจากปัญหาการเมือง และสื่อมวลชนบางคนที่มีอิทธิพลชี้นำรัฐบาล ดูเหมือนว่าคนไอทีวีกำลังพาผู้ชม “หลงทาง”
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
"ทรูวิชั่นส์" โอ่สมาชิกอีสานปี49 เพิ่มถึง 2 เท่าตัว
ทรู วิชั่นส์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก รุกประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กรใหม่ เชื่อผลการพัฒนาเพิ่มช่องทีวี และบริการเสริมที่หลากหลาย ผนวกการทำตลาดกับแบรนด์ในเครือ ผลักดันยอดสมาชิกสูงขึ้นแน่ เฉพาะผลการดำเนินงานภาคอีสานปี 49 ยอดสมาชิกเพิ่มเติบโตถึง 2 เท่าตัว ทั้งยังมีลู่ทางขยายตัวอีกมาก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
ชงเก็บเพิ่ม สัมปทานฟรีทีวี 3 - 7 แปลงโฉมช่อง 11 เป็นทีวีสาธารณะ
ในขณะที่ข่าวสารบ้านเมืองกำลังให้ความสนใจอยู่กับจุดจบยกแรกของสื่อเสรี ไอทีวี ที่มีจุดกำเนิดภายหลังจากเหตุการณ์ความขัดแย้งในบ้านเมือง พฤษภาทมิฬ 2535 โดยคณะรัฐมนตรีเฉพาะกาลของนายอานันท์ ปัณยารชุน การก่อรัฐประหาร กันยายน 2549 ก็กำลังนำมาซึ่งการกำเนิดของสื่อเสรีอีกสถานี ที่รัฐบาลขิงแก่ของ พล อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นผู้ขับเคลื่อน ภายใต้ชื่อ ทีวีสาธารณะ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
แกะโมเดลธุรกิจ "ทีวีดาวเทียม" สารพัดอุปสรรครอคอยผู้ท้าทาย
รูปแบบสื่อฟรีทีวี ที่มีข้อจำกัดมากมาย ต้นทุนการผลิตรายการที่ผู้ผลิตแต่ละรายลงทุนจำนวนมหาศาล แต่ต้องเผชิญความไม่แน่นอนของสัญญาเช่าเวลาของทุกสถานี ทั้งราคาค่าเช่าที่สูงขึ้นทุก ๆ ปี นโยบายผู้บริหารสถานีที่เปลี่ยนไป จนถึงเส้นสายที่เกาะเกี่ยวกันหาความมั่นคง มั่นใจไม่ได้ ผังรายการโทรทัศน์ถูกปรับเปลี่ยนปีต่อปี เป็นความสั่นคลอนของการทำธุรกิจ ที่ทำให้เกิดการมองหาเวทีใหม่ ๆ ซึ่งมาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 กุมภาพันธ์ 2550)