Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article

industry
company
people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ26  
Positioning28  
ผู้จัดการรายวัน49  
ผู้จัดการรายสัปดาห์14  
PR News62  
Total 165  

Listed Company
Manager Lists
 
Industry > News & Media > Radio


ผู้จัดการรายสัปดาห์ (1 - 10 of 14 items)
วิทยุFM 105 ปรับผังปี54 มุ่งกลุ่มเป้าหมายคนกลางคืน FM 105 สถานีวิทยุไทยเพื่อเด็กและครอบครัว กรมประชาสัมพันธ์ ประกาศปรับ ผังรายการปี 2554 มุ่งเน้นพัฒนารายการพร้อมเปิดโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่จึงประกาศหานักจัดรายการหรือผู้สนใจ นำเสนอรูปแบบรายการที่มุ่งกระตุ้นจิตสำนึกรักสังคม และสร้างสำนึกรักภาษาถิ่นของทุกภาค(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 ธันวาคม 2553)
สื่อวิทยุกลับมาเดือดอีกรอบ คลื่นหลุด – อัดอีเวนต์แจกบ้าน แจกรถ แนวโน้มสื่อวิทยุปี 53 มีหวังแข่งกันฝุ่นตลบอีกครั้ง หลังลาปีวัว สถานการณ์สื่อตกต่ำย่ำแย่ มุมหนึ่ง ค่ายใหญ่สกาย-ไฮ ที่เหลือคลื่นวิทยุอยู่ในมือแค่ 2 คลื่น ยังไปไม่รอดต้องปล่อยให้คลื่น 103 หลุดมือ สะท้อนภาพการแข่งขันเมื่อหลายปีก่อนที่ค่ายยักษ์เวอร์จิน ถอดใจลดคลื่นที่มีอยุ่ 4-5 คลื่น เหลือเพียง 2 คลื่นในปัจจุบัน แต่อีกมุมก็ยังมีค่ายวิทยุที่เดินหน้าเปิดคลื่นใหม่ พร้อมอัดอีเวนต์บิ๊กบึ้ม แจกบ้าน แจกคอนโด แจกรถ สวนทางกัน(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มกราคม 2553)
3 บิ๊กสื่อวิทยุขยับ รับศึกหนักครึ่งปีหลัง ธุรกิจวิทยุครึ่งปีหลังส่อแววเดือด แกรมมี่ - อาร์เอส ปรับกลยุทธ์ รับมือพฤติกรรมลูกค้าผู้ซื้อสื่อเปลี่ยน ด้านเวอร์จิ้นชี้ยังมั่นใจ ผู้นำการตลาดแบบแจกเยอะ - แจกจริง คาดสิ้นปีโตตามเป้า ส่วน น้องใหม่ไม่กลัวน้ำร้อน "เสนาหอย" เตรียมดันคลื่นน้องใหม่ กู๊ด เอฟเอ็ม.98.5 หวังเจาะกลุ่มคนอารมณ์ดี(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 มิถุนายน 2551)
"พาร์ตเนอร์ชิป - อินเตอร์แอดทีฟ"2 กลยุทธสร้างทางรอด สู่ ทางรุ่ง ของสื่อวิทยุ การแข่งขันอันดุเดือดของธุรกิจวิทยุไม่เคยมีวันหยุดนิ่ง สื่อที่เคยมีความสำคัญเพียงแค่เศษงบประมาณที่หลงเหลือแบ่งมาใช้ซื้อสปอตวิทยุหลักร้อย กลับกลายเป็นสื่อเด่นที่มีการสร้างคาแรคเตอร์ของแต่ละคลื่น เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน จนเป็นที่สนใจจากเจ้าของสินค้า ดึงราคาสปอตวิทยุคลื่นดัง ๆ ขึ้นมาอยู่ในระดับหลักพัน เกิดเป็นการแข่งขันชิงผู้ฟังด้วยกลยุทธแจกแหลกตั้งแต่บ้านหลังโตราคาแพง รถยุโรปคันหรู จนถึงทริปท่องโลก จนมาถึงวันนี้เมื่อความตกต่ำครอบคลุมสื่อวิทยุมานานกว่าปี คลื่นวิทยุก็กลับมาแข่งขันกันด้วยกลยุทธที่แตกต่างออกไป คือ "พาร์ทเนอร์ชิพ" ความร่วมมืออันแข็งแกร่งในการเดินหน้าฝ่าสถานการณ์ตกต่ำ และ "อินเตอร์แอคทีฟ" เทคโนโลยีที่สร้างศักยภาพในการเข้าถึงผู้ฟัง ที่จะทำให้วิทยุยังคงเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพตลอดไป(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 กรกฎาคม 2550)
MARKETING TASTE: Online Radio มาแล้ว ผมได้มีโอกาสเข้าไปทำงานการตลาดให้กับวิทยุออนไลน์ที่ชื่อ Radio.in.th โดยจับพลัดจับผลูด้วยว่าบริษัทที่ผมให้คำปรึกษาอยู่ ได้ขายหุ้นครึ่งหนึ่งให้กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ และบริษัทนี้ก็ได้รับโอนวิทยุออนไลน์มาจากรุ่นน้องที่มีใจรักในการทำสถานีวิทยุออนไลน์(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)
True Radio จิ๊กซอว์ Convergence ของศุภชัย เจียรวนนท์ และแล้วทรูก็ก้าวไปอีกหนึ่งก้าวกับความพยายามทำคอนเวอร์เจ้นซ์ภายในกลุ่ม จากโทรศัพท์เคลื่อนที่ - เคเบิ้ลทีวี - เวปไซต์ - ร้านกาแฟ ล่าสุดทรูมีรายการวิทยุ "ทั้งคลื่น" เป็นของตัวเองแล้ว(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)
สื่อวิทยุเหงื่อหยด วัดดวงอนาคตก้าวต่อก้าว เวอร์จิ้น ลบภาพแจกแหลก หันพึ่งครีเอทีฟ เปิดปีได้ไม่สวยนัก สำหรับสื่อวิทยุ ที่จบปีจอ 2549 ด้วยอัตราการเติบโตจุ๋มจิ๋ม 3% แต่เมื่อผ่านเดือนแรกของปีใหม่ ตัวเลขที่นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช เปิดเผยออกมา ยิ่งน่าตกใจ ที่สื่อวิทยุดิ่งตามสื่อสิ่งพิมพ์ไปติด ๆ อัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับมกราคม ของปี 2549 ถดถอยลงเกือบ 12% ทำเอาผู้ผลิตรายการวิทยุร้อน ๆ หนาว ๆ(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)
KTC เปิดสงครามหน้าปัดวิทยุจูนคลื่นบัตรเครดิต “Virgin 24” เพียง 3 คลื่นยอดฮิตในเครือ “เวอร์จิ้น เรดิโอ ไทยแลนด์” ที่มีผู้ฟังร่วม 2 ล้านราย และมีสมาชิกถือบัตร “วีไอพี” รวมกันมากกว่า 1 แสนราย ก็ดูมากเพียงพอจะเป็นช่องทางขยายฐานลูกค้ารายใหม่ของ “KTC24” ได้อย่างไม่ยากเย็น(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
คลิคฯ สร้างคอมมูนิตี้คลื่นข่าวชู 101 เสริมความแกร่งคู่คลื่นเพลง คลิค วีอาร์วัน เรดิโอ ไม่ได้มีเป้าหมายอยู่เพียงธุรกิจคลื่นความบันเทิงอย่าง FM One หรือ Fat Radio เท่านั้น ในช่วงเวลาที่ข่าวสารกลายเป็นคอนเทนท์สำคัญที่ประชาชนแสวงหา การแข่งขันของรายการข่าวบนสื่อโทรทัศน์มีการแย่งชิงความเป็นผู้นำกันอย่างเข้มข้น แต่สถานีข่าวบนคลื่นวิทยุ วาสนพงศ์ วิชัยยะ กรรมการผู้จัดการ คลิค วีอาร์วัน เรดิโอ กล่าวว่า ผู้นำคงหนีไม่พ้น 101 INN News Channel ที่คลิคฯ ผลิตรายการร่วมกับสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 กุมภาพันธ์ 2550)
อาถรรพ์ 20 ปี บัส ซาวนด์ ยังร่อแร่ อาร์.เอ็น.ที. ดึง เอฟเอ็มวัน กู้คลื่น 500 ล้าน อาถรรพ์บัสซาวนด์ รอปลุกชีพ 20 ปี ยังส่อแววเข็นไม่ขึ้น แม้อาร์.เอ็น.ที.ฯ จะได้เอฟเอ็มวัน มาเสียบแทน บัซ เอฟเอ็ม ที่จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ถอดใจยุบคลื่นหนีเศรษฐกิจ ได้ทันการณ์ไม่ผิดสัญญา แต่เงื่อนไขค่าตอบแทนของสัมปทาน 20 ปี ที่ต้องจ่ายให้ ขสมก. กว่า 500 ล้านบาท ยังคงเป็นปริศนาว่า บัสซาวนด์ จะยังคงเป็นสื่อที่มองไม่เห็นอนาคตต่อไปหรือไม่(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)

Page: 1 | 2





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us