เชนหน้าใหม่พาเหรดเข้าไทย เปิดเกมรุกตลาดโรงแรม
จำนวนห้องพักโรงแรมที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ในช่วง 3 ปีต่อจากนี้ไป(2551-2553)เชื่อได้ว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 20,000 ห้อง สืบเนื่องมาจากการลงนามเซ็นสัญญาระหว่างโรงแรมไทยกับเชนต่างประเทศซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 15 แบรนด์ การเข้ามาของเชนบริหารโรงแรมจากต่างประเทศครั้งนี้กลายเป็นตัวช่วยที่จะเริ่มพัฒนาแบรนด์โรงแรมใหม่ๆรวมไปถึงการนำแบรนด์ตัวใหม่เข้ามาเสนอนักลงทุนโรงแรมในไทยเพื่อรับบริหารมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 กันยายน 2551)
เปิดแผนเชนนอกยึดโรงแรมไทยส.โรงแรมหวั่นนอมินีเกลื่อนเมือง
ธุรกิจโรงแรมในช่วงปีที่ผ่านมานับว่ามีการแข่งขันกันมากขึ้นโดยเฉพาะเชนต่างชาติที่บุกเข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยขยายฐานเครือข่ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะหัวเมืองท่องเที่ยวหลักที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไป
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 พฤษภาคม 2551)
โลว์คอสต์แผงฤทธิ์!...จับกลเกมการเงินลุยธุรกิจโรงแรม
ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย มักเห็นภาพของการลงทุนอยู่ 2 แบบคือ โรงแรมหรูระดับ 5 ดาวบวกๆ กับโรงแรมระดับล่างที่อยู่ระหว่าง 1-2 ดาว หากแต่ว่ากระแสการลงทุนโรงแรมในโมเดลของราคาประหยัดถือเป็นรูปแบบการลงทุนใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในไทย โดยที่ผ่านมาที่พักราคาถูกส่วนใหญ่มักจะเป็นในรูปของเกสต์เฮาส์และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ต่างๆ สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวแบ๊คแพ็ค ในขณะเดียวกันหลังจากโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ มีการขยายเส้นทางระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้กลุ่มทุนต่างๆเริ่มหันมาจ้องเตรียมลงทุนก่อสร้างโรงแรมในลักษณะราคาประหยัด โดยเน้นเรื่องของราคาถูก บริการที่สะอาด สะดวกและปลอดภัย เป็นหลัก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 มีนาคม 2551)
โรงแรมไทยปรับทัพรับศึกเชนนอก
ปัจจุบันธุรกิจโรงแรมในระดับ 5 ดาวในหัวเมืองท่องเที่ยวหลักของไทย ตั้งแต่กรุงเทพ สมุย หัวหิน พัทยา ภูเก็ต ส่วนใหญ่กลายเป็นกลุ่มทุนต่างชาติที่เข้ามาบริหารจัดการ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯพบว่ามีสัดส่วนสูงถึง 80%ของโรงแรม 5 ดาวทั้งหมด ขณะที่เมืองท่องเที่ยวหลักๆอาทิ สมุย ภูเก็ต พัทยา หัวหิน จากการสำรวจพบว่ามีสัดส่วนประมาณ 30-50% และนับวันจะมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นปัญหาที่ส่งผลให้กลุ่มทุนโรงแรมไทยกำลังจะตายลงไปเนื่องจากเงินลงทุนไม่สามารถต่อยอดแข่งขันสู้กับทุนต่างประเทศได้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 มกราคม 2551)
ต่างชาติไล่ช้อปโรงแรมไทยเทรนด์ใหม่ซื้อฟันกำไรก่อนขายทิ้ง
กระแสการเข้าเทคโอเวอร์โรงแรมระดับ 2-3 ดาวในประเทศไทยของกลุ่มทุนต่างชาติที่ผ่านมาเริ่มร้อนแรงขึ้นเพราะนั่นคือแผนกลยุทธ์ที่ถูกวางไว้สำหรับเข้ามาเพื่ออัฟเกรดให้มีมาตรฐานเป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว พร้อมเร่งขยายอาณาจักรหวังสร้างแบรนด์ เตรียมกวาดนักท่องเที่ยวในแหล่งยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวช่วงฤดูกาลไฮซีซัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 ธันวาคม 2550)
หุ้นโรงแรมส่อแววเฉิดฉาย รับไฮซีซั่นท่องเที่ยวฟื้น
จับจังหวะเก็บหุ้นโรงแรมรอรับอานิสงค์โดดเด่นรับไฮซีซั่นปลายปี มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า หลังครึ่งปีแรกตัวเลขหด โบรกฯคาด ERAWAN - MINT - CENTEL มีราศี แผนธุรกิจชัดเจนรับซัพพลายลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 ตุลาคม 2550)
โรงแรม“เซ็นทรัล”โฉมใหม่....รีแบรนดิ้งสลัดทิ้งภาพศูนย์การค้า
หากเอ่ยถึง "เซ็นทรัล" เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงแต่ห้างสรรพสินค้าระดับแนวหน้าของเมืองไทย และคงคิดไม่ถึงด้วยซ้ำว่า"เซ็นทรัล"ยังเป็นแบรนด์ที่ใช้ร่วมกับโรงแรมหรูระดับ 5ดาว ภายใต้ชื่อโรงแรมเซ็นทรัลพลาซา หรือ CENTEL ที่นักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างประเทศอาจจะไม่ค่อยรู้จักเท่าใดนัก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 กรกฎาคม 2550)
หมากเด็ด “ศุภาลัย” รุกธุรกิจรีสอร์ทหรู “ภูเก็ต”
ศุภาลัย มั่นใจการจับมือ เชนโรงแรมระดับโลก “ เบสท์ เวสเทิร์น อินเตอร์เนชั่นแนล” ดึงคุณภาพให้บริการ พร้อมเตรียมแผนสองเสนอส่วนลดพิเศษแก่ลูกบ้านศุภาลัยทุกโครงการ หวังเป้าขายปีแรก 50 ล้านบาท ขณะเดียวกันเปิดขาย และให้เช่าบ้านกึ่งรีสอร์ทหรู “ ศุภาลัย รีสอร์ท แอนด์ สปา” ในพื้นที่ติดกัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)
โรงแรมบาร์เตอร์ห้องว่างกับโฆษณา
การตลาดแบบบาร์เตอร์ (barter) อาจถูกมองว่าเป็นการตลาดสไตล์เก่า แต่วิธีการนี้ยังคงใช้ได้ดีในหลายเงื่อนไขทางการจำหน่ายของกิจการชั้นนำในตลาดโลก อย่างเช่น กิจการโรงแรมชั้นนำได้เริ่มหันมาใช้การแลกเปลี่ยนด้วยการเสนอการให้บริการของตนแลกกับการประหยัดงบประมาณด้านการโฆษณาของโรงแรม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
ธุรกิจโรงแรมบูม!...เชนไทย-เทศ ปรับทัพรับปีหมูทอง
ธุรกิจโรงแรมในช่วงปีที่ผ่านมานับว่ามีการแข่งขันกันมากขึ้นโดยเฉพาะเชนต่างชาติที่บุกเข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยขยายฐานเครือข่ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะหัวเมืองท่องเที่ยวหลักที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไป
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 มกราคม 2550)