'ทีทีอาร์'นำทัพทุนไทยบุกละตินอเมริกา เล็งตั้งคลังสินค้าใน 'ปานามา'กระจายอาหารไทย
“โอสถสภา” นำร่องเล็งลงทุนเครื่องดื่มชูกำลัง ตั้งเป้าดึงทุนไทยไปปักฐานแก้ปัญหาระยะทางขนส่ง โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร เตรียมจับมือปานามา ตั้งคลังสินค้าอาหารไทย เพื่อกระจายสินค้าไปยังอเมริกาใต้ พร้อมเร่งเปิด เอฟทีเอ กับชิลี เพื่อใช้สิทธิพิเศษทางภาษีส่งสินค้าเจาะ 'สหรัฐฯ -ละติน' ขณะที่บราซิลขนเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท ลงทุนโรงงานรถบรรทุก และอะไหล่ยนต์ในไทย
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 กันยายน 2553)
อาฟตา Effect คลื่นยักษ์ กระเพื่อมตลาดรถยนต์-เหล้าเบียร์ไทย
ปรากฏการณ์หลังจากที่บานประตูเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา เริ่มเปิดขึ้นเมื่อ 1 มกราคม 2553 ส่งผลให้เกิดเอฟเฟกต์ทั้งในด้านบวกและลบ นั่นเพราะการแข่งขันแบบเสรีมีผลต่อสินค้าราคาถูกลง ทำให้คนไทยซื้อสินค้านำเข้าที่มีราคาถูกลงกว่าเดิม ซึ่งการปลอดภาษีนำเข้า และการแข่งขันแบบเสรีระหว่างแบรนด์ไทยด้วยกันเอง กระทั่งแบรนด์นอกที่กำลังเข้ามาตีตลาดในไทยด้วยเช่นกัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มกราคม 2553)
จีนรุกคุมสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจเบ็ดเสร็จผุดสารพัดโปรเจกต์ทั้งเขตลาว-ไทย
จวกรัฐไทยใช้นโยบาย "ไม้หลักปักเลน" ทำแผนพัฒนาภาคเหนือตอนบนรองรับสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจตกอยู่ในสภาพ "ปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง" ตลอดกว่า 1 ทศวรรษ ขณะที่กลุ่มทุน-รัฐวิสาหกิจจีน เปิดเกมรุกปักธงลงทุนตามแนวโครงข่ายคมนาคมทั้งทางบก-ทางน้ำอย่างต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มีนาคม 2550)
สิงคโปร์หืดจับ ชิงดำตำแหน่งฮับการเงินกับฮ่องกง
ไม่ว่าจะพากเพียรเปลี่ยนตัวเองเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมากแค่ไหน แต่จนแล้วจนรอดสิงคโปร์ก็ยังตามหลังฮ่องกงหลายขุม ในเส้นทางสู่จุดหมายการเป็นฮับการเงินแห่งเอเชีย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มีนาคม 2550)
นิวซีแลนด์ขยายฐานรุกธุรกิจในไทยมุ่งลงทุนซอฟแวร์-ดึงคนไทยเรียนต่อ
นิวซีแลนด์ เร่งผลักดันการค้า การลงทุนต่างประเทศ "ฑูตพาณิชย์ฯ" ชี้ไทยเป็นฐานการผลิตซอฟแวร์ในอนาคต พร้อมเปิดตลาดการศึกษาดึงคนไทยและคนเอเชียเข้าศึกษาต่อถึงปริญญาเอก ขณะเดียวกันจับมือผู้ประกอบการไทยส่งออกสินค้าเกษตร แนะให้นักธุรกิจไทยเข้าไปตั้งศูนย์กระจายสินค้า ส่วนนิวซีแลนด์เจาะห้างสรรพสินค้า-โรมแรมในไทยเพื่อใช้เป็นแหล่งเผยแพร่สินค้า "แบรนด์"นิวซีแลนด์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 เมษายน 2549)
ญี่ปุ่นก้าวสู่อนาคตอันยากพยากรณ์ หลังโคอิซูมิยุบสภาจัดเลือกตั้งใหม่
พรรคลิเบอรัล เดโมแครติก ปาร์ตี้ (แอลดีพี) ซึ่งปกครองญี่ปุ่นมาเกือบตลอดครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา อยู่ในอาการแตกออกเป็นเสี่ยงๆ เมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม จากประเด็นปัญหาซึ่งได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการสู้รบระหว่างฝ่ายนักปฏิรูปที่ต้องการปล่อยเสรีตามกลไกตลาด กับฝ่ายอนุรักษนิยมหัวเก่าภายในพรรค นั่นคือ เรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ "แจแปนโพสต์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 สิงหาคม 2548)
ฟาฮัดสิ้น-อับดุลเลาะห์ครองบัลลังก์ซาอุดี
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กษัตริย์ฟาฮัดซึ่งพระวรกายอ่อนแอลงเรื่อยๆ ยังคงทรงมีฐานะเป็นพระประมุขของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียแต่ก็เพียงในทางนิตินัยเท่านั้น ขณะที่ในทางพฤตินัยแล้ว ประเทศทะเลทรายและรุ่มรวยน้ำมันแห่งนี้อยู่ในการปกครองของเจ้าชายอับดุลเลาะห์ มกุฎราชกุมารผู้เป็นพระอนุชาต่างมารดา
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 สิงหาคม 2548)
นักธุรกิจไทยรายใหญ่ แนะกลยุทธ์ทำการค้ากับจีน !
เผยกลยุทธ์นักธุรกิจไทยนำเข้าสินค้าจีน ที่ประสบความสำเร็จ เตรียมขยายกิจการเปิด SIAM SHANGHAI SHOPPING CENTER ศูนย์แสดงสินค้าจีนใหญ่ทีสุดในไทย ไม่ต้องไปไกลถึงเมืองจีน! ก็ซื้อสินค้าจีนที่เมืองไทยได้ในราคาที่ถูกกว่า…
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 สิงหาคม 2548)
มังกรปรับค่าเงินส่งผลดีต่อเอเชียจริงหรือ
จีนปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคราวนี้ อาจกลายเป็นผลดีในระยะยาวต่อเศรษฐกิจของชาติอื่นๆ ในเอเชีย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวม นั่นเป็นภาพสวยสดที่พวกตะวันตกพยายามนำมาครอบให้เอเชีย เพื่อซ่อนเจตนาอันแท้จริงของพวกเขา
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2548)