“เอนเตอร์เทรนเม้นท์แอร์ไลน์”เส้นทางลัดการสร้างแบรนด์ของ “แอร์เอเชีย”
การขอเป็นสปอร์เซอร์ให้กับทีมสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดของแอร์เอเชีย เป็นหนึ่งยุทธวิธีการตลาดที่ถูกนำมาใช้สร้างแบรนด์ทางลัดให้เป็นที่รู้จักในแถบยุโรปก่อนที่ฤดูกาลไฮซีซันจะมาถึง
ตัวเลขประมาณการปี 48ของนักท่องเที่ยวจากยุโรปกว่า 8 ล้านคนต่อปีคือกลุ่มเป้าหมายที่สายการบิน แอร์เอเชีย ต้องการให้เข้าไปใช้บริการมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นการทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเกือบพันล้านบาทเพื่อสนับสนุนทีมสโมสรฟุตบอลดังอย่างแมนยูฯจึงเป็นยุทธวิธีหนึ่งที่จะสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของคนยุโรปมากขึ้น และเป็นทางเลือกหนึ่งของการเข้าใช้บริการอันดับต้นๆในธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำแถบเอเชีย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2548)
ช่างอากาศยานไทยสุดเจ๋ง โชว์ฝีมือผลิตเครื่องบินขนส่งพาณิชย์
ทีมช่างอากาศยานไทยมีโอกาสโชว์ฝีมือสร้างเครื่องบินเป็นครั้งแรกโดยร่วมกับวิศกรอีก 5 ประเทศผลิตเครื่องบินขนส่งสินค้าพาณิชย์ ชี้การร่วมงานครั้งนี้ถือเป็นส่งเสริมศักยภาพเชิงช่างพร้อมนำความรู้ทางเทคโนโลยีสมัยนำกลับมาใช้ในประเทศ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2548)
ศึกโปรโมชั่นสายการบินไปภูเก็ต...ใครดีใครอยู่
ปัจจุบัน ภูเก็ต ต้องสูญเสียรายได้ไปกว่า 40 ล้านบาทต่อเดือน เมื่อนักท่องเที่ยวลดลงกว่า 4 แสนคน ทำให้สายการบินจากต่างประเทศต้องหยุดทำการบินไปแล้วถึง 4 สายการบิน ขณะเกิดวิกฤติแต่“นกแอร์”สายการบินภายในประเทศกลับสร้างโอกาสก่อนใครเพื่อนหลังบินเดี่ยวโฉบลูกค้าด้วยโปรโมชั่นใช้รางวัลล่อใจ ปฏิเสธร่วมแคมเปญยักษ์“ลดทั้งเกาะ เที่ยวทั้งเมือง”เล่นเอาสายการบินทั้ง 4 ต้องงัดยุทธวิธีแบบฉบับของตัวเองออกมาใช้หวังกระตุ้นยอดขาย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 กรกฎาคม 2548)
พิษน้ำมันทำสายการบินป่วน...งัดกลยุทธ์ใหม่สู้เพื่ออยู่รอด
ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการสายการบินรวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวผนวกกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น สถานการณ์ของธุรกิจการบินในประเทศจึงตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการขาดทุน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 กรกฎาคม 2548)
ชำแหละแผนท่องเที่ยวภูเก็ต…รัฐหลงทางทำเอกชนเดี้ยง!!
ภูเก็ตในวันนี้กำลังจะตาย!!...แนวทางแก้ไขกลับไม่เป็นไปตามขั้นตอน...แคมเปญต่างๆที่ภาครัฐกระหน่ำใส่ภูเก็ตหวังฉุดนักท่องเที่ยวเข้ามาอาจล้มเหลว ทิศทางท่องเที่ยวภูเก็ตยังคงมืดมน ขณะที่ภาครัฐเองกำลังเดินหลงทาง...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 กรกฎาคม 2548)
“บางกอกแอร์ เวย์”รุกแพ็กเกจสะสมไมล์เอาใจแฟนพันธุ์แท้
หมอกควันการแข่งขันของธุรกิจการบินต้นทุนต่ำ(โลว์แฟร์)ที่ขับเคลื่อนออกมาเป็นระลอกจนฝุ่นตลบอยู่ขณะนี้ ส่งผลให้ บางกอกแอร์เวย์ ที่ขยับหนีไปเป็นบูทิคแอร์ไลน์ ไม่สามารถหยุดนิ่งเฉยต่อไปได้ ความพยายามที่จะสร้างความแตกต่างเพื่อฉีกหนีคู่แข่งขันจึงมักเริ่มมีให้เห็นชัดเจนมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 มิถุนายน 2548)
ฝ่ากระแสผกผันค่าตั๋วเครื่องบินเอเชีย ใครดีใครอยู่!
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สายการบินต่างๆ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการในเส้นทางสายเอเชียแปซิฟิกหลายเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกห้องโดยสารชั้นหนึ่งหลายเส้นทางบิน และการมอบบริการที่นั่งแบบปรับนอนได้สำหรับที่นั่งโดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจบนเส้นทางระยะไกล สายการบินต่างๆจึงมีการลงทุนกันอย่างต่อเนื่องเพื่อมอบบริการที่แปลกใหม่สำหรับการเดินทางเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะบริการด้านเครือข่าย ไร้สาย และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารระหว่างการเดินทาง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มิถุนายน 2548)
แอร์เอเชีย บินตรง “เซี้ยะเหมิน” เตรียมเปิดเพิ่ม 2 เส้นทางสู่จีน !
แอร์เอเชีย เปิดเส้นทางบินตรง “กรุงเทพฯ-เซี้ยะเหมิน” ดินแดนสวนสวยเหนือทะเล ของจีน ด้วย กลยุทธิ์ราคาถูก 1,899 บาททุกที่นั่ง เตรียมเปิดเพิ่มอีก 2 เส้นทาง “กรุงเทพฯ-คุนหมิง ”และ “กรุงเทพฯ-นานกิง” ชี้ตลาดจีนมีศักยภาพสูง ทั้งกลุ่มนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว กลุ่มเยี่ยมญาติ และนักเรียน นักศึกษา ที่สามารถเลือกใช้บริการเที่ยวบินนี้ได้ทุกวัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 พฤษภาคม 2548)
"พีบีแอร์" บินตรงปักกิ่ง - เซียงไฮ้ กงสุลไทยแนะกลยุทธ์ลงทุนจีน
พีบีแอร์ ได้สิทธิบินตรง ประเทศจีน อีก 2 สาย กรุงเทพ-เซียงไฮ้ และ กรุงเทพ-ปักกิ่ง หลังประสบความสำเร็จเส้นทางบินสู่เกาะไหหลำ ด้านนักท่องเที่ยวยังคงหลั่งไหลเยี่ยมชมธรรมชาติและความยิ่งใหญ่ของจีน ขณะที่ "กงสุลไทย" แนะกลยุทธ์ลงทุนในจีน ธุรกิจใดน่าสนใจที่สุด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 เมษายน 2548)