เจาะยุทธศาสตร์อาหรับแอร์ไลน์ สร้างอิมเมจเปิดเกมรุกช่วงชิงตลาด
จากอดีตถึงปัจจุบันเกือบทศวรรษที่สายการบินตะวันออกกลางเข้ามาโลดแล่นเปิดให้บริการในประเทศไทยมีทั้งขนส่งคนเข้าและออกนอกประเทศแต่ละปีเป็นจำนวนไม่น้อย และที่สำคัญการแข่งขันที่นับวันมีดีกรีร้อนแรงและต่อสู้กันในเรื่องของการให้บริการรวมไปถึงราคาที่ดึงดูดใจ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 ธันวาคม 2550)
ศึกสายเลือด “บินไทย” สยบ “นกแอร์”…เขย่าธุรกิจโลว์คอสแอร์ฯสะเทือน
ใครจะคิดว่าพี่ใหญ่อย่างการบินไทยจะยอมดัมพ์ราคาตั๋วเส้นทางภายในประเทศ 11 จังหวัดลงมา 50%ขนาดนี้ ส่งผลต่อสายการบินโลว์คอสที่จับตลาดภายในประเทศอย่างมากและต้องเร่งปรับกลยุทธ์กันพัลวันแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้แม้แต่น้องเล็กสายเลือดเดียวกันอย่าง นกแอร์ ยอมรับว่าทำอย่างนี้มีแต่ตายกับตาย ขณะที่"วัน-ทู-โก" ยอมถอย เตรียมลดเที่ยวบินบางเส้นทาง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 กรกฎาคม 2550)
กระบวนยุทธ์ธุรกิจ: Customer-Centric Enterprises: ลูกค้าเสมือนหนึ่งกล่องดวงใจ
ลูกค้ายังคงเป็นที่หนึ่งใจของหลายๆกิจการครับ เรียกว่าต้องเทคแคร์ดูแลกันสุดสุด เสมือนหนึ่งเป็นกล่องดวงใจทีเดียว เพื่อนำความสำเร็จอันน่าชื่นชมกลับมาสู่กิจการ กิจการที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่ง Customer focus ที่ใส่ใจกับความรู้สึกของลูกค้าอย่างมากมาย หนีไม่พ้น เซาท์เวสแอร์ไลน์ ที่ตอบสนองลูกค้าได้อย่างดี โดยเฉพาะในกรณีหนึ่งของการที่เครื่องดีเลย์ เนื่องจากสภาวะอากาศ จนต้องทำการขจัดน้ำแข็งออกไปให้หมดก่อนทำการบิน ซึ่งต้องเสียเวลาทำให้ดีเลย์ไปหลายชั่วโมง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
กลยุทธ์ “แอร์ไลน์” ปีหมู...ไม่หมูอย่างที่คิด!...
การแข่งขันกันของธุรกิจสายการบินโดยเฉพาะในแถบเอเชียเริ่มที่จะรุนแรง หากสายการบินใดมีต้นทุนที่สูงนั่นคือปัจจัยเสี่ยงในความล้มเหลวของธุรกิจ ถึงแม้ว่ามีสายการบินต้นทุนต่ำจะกระโดดเข้ามาแย่งกลุ่มลูกค้าไปบ้างก็ตาม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
ธุรกิจแอร์ไลน์ปรับบริการเสริมการแข่งขัน
ธุรกิจสายการบินยังคงเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างน่ากลัว เพราะปัจจัยแห่งความล้มเหลวอยู่ที่ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงมาก ในขณะที่มีข้อจำกัดด้านการปรับเพิ่มราคาค่าตั๋วโดยสาร หากไม่สามารถปรับมูลค่าเพิ่มบางประการในงานบริการของสายการบินอย่างเพียงพอที่จะทำให้ผู้โดยสารพอใจเพิ่มขึ้น และมีความเต็มใจที่จะจ่ายเงินค่าบริการแพงขึ้นกว่าเดิม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 มกราคม 2550)
“ANA”สบช่องเปิดใช้สุวรรณภูมิ...ปรับกลยุทธ์ดึง “นาริตะ”ฮับเอเชีย
ภายใต้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นหลังการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ “เอเอ็นเอ”เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสได้เวลาบินใหม่ในเส้นทางหลัก กรุงเทพฯ-นาริตะ หวังตอบสนองความต้องการผู้โดยสารและเพื่อต่อยอดธุรกิจให้สามารถแข่งขันกับสายการบินอื่นๆได้อย่างเต็มที่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 ตุลาคม 2549)
ผ่าแผน “บางกอกแอร์เวย์”...ธุรกิจการบินครบวงจร
กว่า 3 ทศวรรษที่สายการบินบางกอกแอร์เวย์บุกเบิกเส้นทางบินใหม่ไปพร้อมกับการพัฒนาสนามบินของตัวเองส่งผลทำให้มีกำไรเข้าสู่บริษัทไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาทต่อปี แต่ทว่า...วันนี้การขยายตัวของภาคธุรกิจการบินของบางกอกแอร์เวย์กลับต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆรุมเร้ารอบด้าน...ว่ากันว่าการบริหารจัดการภายใต้แผนพัฒนาสนามบินสมุยจึงถูกหยิบนำมาปัดฝุ่นอีกครั้งในรูปแบบการจัดตั้งกองทุนเพื่อให้ได้เม็ดเงินเป็นกอบเป็นกำสำหรับการลงทุนธุรกิจการบินแบบครบวงจร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 ตุลาคม 2549)
แอร์ไลน์อาหรับคึกคัก พาเหรดขอเที่ยวบินเพิ่ม
ในที่สุดรัฐบาลรักษาการณ์ชุดนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็ประกาศเปิดให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิภายในวันที่ 28 กันยายน 2549 ส่งผลให้สายการบินต่างประเทศเริ่มปรับตัวรับกระแสทันที ว่ากันว่าในบรรดาสายการบินต่างประเทศกว่า 87 สายการบินมีการขอเพิ่มเที่ยวบินเข้าประเทศกว่า 2,427 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ มีความเคลื่อนไหวของสายการบินจากภูมิภาคตะวันออกกลางและภูมิภาคเอเชียมากที่สุด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 กรกฎาคม 2549)
“เน็ทเวิร์คมาร์เกตติ้ง”กลยุทธ์ยันพิษน้ำมันของสายการบิน
ราคาน้ำมันพ่นพิษทำธุรกิจการบินป่วน...ยักษ์ใหญ่เจ้าจำปีสุดทนฝืนใจทำเก๋ออกพีเพดการ์ดโดดมาเล่นราคาฟาดฟันกับโลว์คอสและสายการบินระหว่างประเทศ หวังชิงส่วนแบ่งตลาดไว้ในมือ ขณะที่สายการบินหลายค่ายต่างใช้เน็ทเวิร์คมาร์เกตติ้งร่วมกันเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าและเพิ่มลูกค้าใหม่...อันหมายถึงขุมทรัพย์ที่ทุกสายการบินต้องรีบไขว่คว้า...แม้จะได้มากหรือน้อยก็ต้องทำ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)
การบินไทย โง่ หรือแกล้งโง่...เพื่อใคร !?!
เจ๊งแน่ๆ ในอีกไม่เกิน 5 ปี ถ้าการบินไทยยังตกอยู่ในสภาพเช่นนี้
อะไร และใคร ทำให้องค์กรที่มีอายุเกือบครี่งศตวรรษต้องตกอยู่ในสภาพดังคนรอวันตาย พนักงาน ผู้บริหาร นักการเมือง หรือคู่แข่งขัน
จับตา “อภินันทน์” ลูกหม้อเจ้าจำปีที่เข้ามาเป็น ดีดี ใหม่หมาดๆ จะเข้ามาแก้ปัญหา และต้านพลังการเมืองได้สักแค่ไหน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 เมษายน 2549)