เปลวเพลิงเงินเฟ้อร้อนรุ่ม ป่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจ
เงินเฟ้อขยับตัวพุ่งแรงเมื่อกันยายนที่ผ่านมาส่งสัญญาณกดดันต่อเสถียรภาพในประเทศ โดยความร้อนแรงนี้ยังมีโอกาสพุ่งขึ้นสูงอีกในไตรมาส 4 ปีนี้ อันจะส่งผลกระทบต่อประเทศจนแบงก์ชาติไม่อาจนิ่งเฉยได้ ต้องดันดอกเบี้ยอาร์/พีขึ้นอีก0.50% ลดแรงกดดันและรั้งเงินเฟ้อพื้นฐานไม่ให้เกินกรอบ3.5% แต่เชื่อว่าปีหน้าระดับเงินเฟ้อจะลดลงหลังราคาน้ำมันทรงตัวไม่ผันผวน พร้อมดึงมาตรการคลังเข้ามาหนุน ออกพันธบัตรดูดสภาพคล่องส่งเสริมการออม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 ตุลาคม 2548)
เงินเฟ้อพื้นฐานคุมไม่อยู่ปี49หลุดกรอบที่ระดับ3.7%
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า การที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีสาเหตสำคัญมาจากกระบวนการส่งผ่านผลกระทบของราคาน้ำมันไปยังราคาสินค้าต่าง ๆ ยังไม่สิ้นสุดลง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 ตุลาคม 2548)
เปิดลายแทงประกันภัย"บัวหลวง" สัมพันธ์ไชนิส คอนเน็คชั่นไม่ง่าย
"ชัย โสภณพนิช"สอนบทเรียน "ไชนีส คอนเน็คชั่น"ต้องมั่นใจในหุ้นส่วน โดยเฉพาะการเปิดเส้นทางลงทุนธุรกิจ"ประกันภัย" นอกแผ่นดินแม่ เป็นเรื่องลำบาก หากไม่รู้จักพันธมิตรอย่างใกล้ชิด ยิ่งการบุกเข้าไปขุดขุมทรัพย์ถึงถิ่น "พญามังกร" ที่กินอาณาบริเวณกว้างขวาง เต็มไปด้วยนักรบชั้นเซียน ก็ยิ่งอธิบายถึงสภาพสนามรบที่แสนสาหัสได้คมชัดขึ้น...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2548)
ขายสลากกระตุ้นออมเงินยาว
ออมสิน กลายเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการสร้างวินัยการออม หลังจากที่ประชาชนมีพฤติกรรมบริโภคนิยมมากขึ้นแต่เก็บออมน้อยลง และในยามที่ประเทศต้องลงทุนเพื่อการพัฒนาเม็ดเงินออมจึงมีความสำคัญอย่างมาก และออมสินในฐานะของธนาคารรัฐจึงต้องมีบทบาทในการส่งเสริมการออม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2548)
ถามหานักลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ กังวลผลตอบแทนอาจไม่คุ้มค่า
นายแบงก์ตั้งคำถาม ใคร?...จะเป็น "ผู้ลงทุน"ปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการขนาดใหญ่ "เมกะโปรเจ็กต์" ที่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 ปี จึงจะได้เงินต้นและดอกเบี้ยคืนจนครบ ขณะที่แบงก์มีกำลังปล่อยกู้ได้ในเวลาจำกัดเพียง 10-15ปี ที่ปรึกษาต่างชาติคาดการออกพันธบัตรที่มีต้นทุนต่ำ โครงการต้องน่าสนใจ มีความชัดเจนในการดำเนินการ คืบหน้าอย่างรวดเร็ว จึงจะคลายความกังวลนักลงทุนได้...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 กันยายน 2548)
ชาติเอเชียทยอยลดถือครอง'ดอลลาร์' 3 ปีแล้ว แต่เงินมะกันก็ยังกร่างแม้'หยวน'เริ่มแข่งบารมี
บรรดาธนาคารกลางในเอเชียพากันทยอยลดการถือครองเงินดอลลาร์ และหันมาเก็บเงินตราสกุลภูมิภาคเอาไว้เป็นสำรองเพิ่มขึ้นอย่างเงียบๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปีแล้ว รายงานของธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (บีไอเอส) บ่งบอกไว้เช่นนั้น ถึงแม้ตลาดเพิ่งจะเกิดความแตกตื่นกันใหญ่ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สืบเนื่องจากญี่ปุ่นตลอดจนเกาหลีใต้ ออกมาประกาศว่าจะกระจายสกุลเงินซึ่งพวกตนครอบครองอยู่ และความปั่นป่วนดังกล่าวนี้เอง ก็ทำให้ประเทศทั้งสองต้องรีบออกมาแถลงกันใหม่ว่าเรื่องนี้ยังเป็นเพียงแนวความคิดเท่านั้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มีนาคม 2548)