K-BANKไม่มี"ยุทธศาสตร์บนกระดาษ"บัณฑูรทำนายมิติเวลาอาจทำแบงก์สูญพันธ์
"บัณฑูร ล่ำซำ"ซีอีโอค่ายแบงก์รวงข้าวหรือ K-BANK เปรียบเปรยให้เห็นถึงการระดมสรรพกำลังเพื่อให้บริการทางการเงินในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ต้องคิดและเสร็จเร็ว ไม่ใช่ "ยุทธศาสตร์บนกระดาษ" เพราะโลกที่ถูกเลาะตะเข็บ ไม่มีพรมแดนขวางกั้น มี "มิติเวลา"เป็นเงื่อนไขสำคัญ ซึ่งถ้าทำไม่เข้าขั้น ก็มีโอกาสที่แบงก์ต่างๆจะสูญพันธุ์ได้โดยง่าย...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 มกราคม 2549)
"ออมสิน"แบงก์รัฐขวัญใจคนจน ปล่อยกู้รากหญ้าฐานสำคัญที่ถูกเมิน
รากหญ้ากลุ่มชนที่มักถูกธนาคารพาณิชย์ปฏิเสธการให้สินเชื่อ ด้วยถูกเพ่งเล็งว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง กู้เงินแล้วโอกาสเป็นหนี้เสียค่อนข้างมาก ทำให้กลุ่มชนดังกล่าวถูกปิดตายอยู่ในโลกที่ปราศจากโอกาสการสร้างตัวสร้างอาชีพ ขาดแหล่งทุนที่เป็นปัจจัยสำคัญของการเปิดประตูแห่งโอกาส แต่วันนี้ประตูดังกล่าวได้แง้มเปิดขึ้นโดยผ่านธนาคารรัฐอย่าง "ออมสิน"ที่มาพร้อมกระแสนโยบายประชานิยม กระนั้นก็ตามสำหรับรากหญ้าแล้วการเข้าถึงแหล่งทุนเป็นสิ่งสำคัญเพราะหมายถึงโอกาสในการยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 พฤศจิกายน 2548)
ยุทธศาสตร์ขั้นบันได KBANK ทะลวงฐาน"ไมโคร-เอสเอ็มอี"
ส่งซุปเปอร์ฮีโร่ ยอดมนุษย์สีเขียว สายพันธ์ "ตระกูล K" ออกอาละวาดได้ไม่ทันไร แบงก์สัญลักษณ์ "รวงข้าว" กสิกรไทยหรือ เคแบงก์ ก็ส่งสัญญาณที่ค่ายปฎิปักษ์อื่นๆ ต้องเหลียวหลังกลับไปมองเป็นคำรบสอง...คราวนี้ไม่ใช่ตอกย้ำแค่ภาพลักษณ์ที่หมดจดงดงาม แต่สัญญาณที่ว่านี้จะสัมผัสได้ผ่านการให้บริการ ภายหลังการรื้อผังองค์กรจัดแบ่งประเภทลูกค้าได้ลงตัว...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 พฤศจิกายน 2548)
แบงก์อิสลาม:เส้นทางฝ่ามรสุมอีกยาวไกล
เมื่อแผนการซื้อกิจการ "กรุงไทยชาริอะฮ์"จากธนาคารกรุงไทยได้ข้อยุติเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปของธนาคารอิสลามคงต้องพยายามสร้างแนวทางและทิศทางของธุรกิจให้มีความชัดเจนมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเรื่องของแนวทางการขยายตลาด เพิ่มฐานลูกค้า พัฒนาบุคลากร หรือแม้กระทั้งการแก้ปัญหาบางเรื่องของธุรกรรมการเงิน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 พฤศจิกายน 2548)
ธ.ก.ส.:สังข์ทองในคราบเงาะป่า แบงก์รัฐที่ถูกมองข้ามความสำคัญ
ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของธ.ก.ส.เปรียบเสมือนปิดทองหลังพระ ทำให้เป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะรู้ถึงความสำคัญของธนาคารแห่งนี้ แต่สำหรับเกษตรกรชื่อนี้กลับเป็นที่รู้จักมักคุ้นอย่างดีด้วยว่าเป็นลูกค้าหลักที่ธ.ก.ส.เข้าไปให้บริการ และแม้ว่าวันนี้ชื่อเสียง บทบาท และหน้าที่ของธ.ก.ส ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ในอนาคตเมื่อมีการขยายขอบเขตการให้บริการ ทั้งชื่อและบทบาทของธ.ก.ส.จะเป็นที่รู้จักมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 พฤศจิกายน 2548)
"จีอี มันนี่ แบงก์"น้องใหม่ทุนหนา ปูพรมขยายอาณาจักร"ราชาเงินผ่อน"
กว่าจะรู้จักชื่อ "จีอี มันนี่ แบงก์" ธนาคารเพื่อรายย่อย(ธย.) น้องใหม่ ที่จะได้ฤกษ์เปิดตัวในเดือนมกราคม 2549 นี้ นักช็อปหรือ "ราชาเงินผ่อน" แทบทุกครัวเรือนก็ตกเป็นลูกค้าภายใต้อาณัติของ "จีอี" เรียบร้อยแล้ว โดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 พฤศจิกายน 2548)
เสียงคร่ำครวญจากนักลงทุน"ขาใหญ่" "สหกรณ์ออมทรัพย์-มูลนิธิ"ถูกขังลืม
นักลงทุน"กระเป๋าหนัก"สหกรณ์ออมทรัพย์ และมูลนิธิ กลายเป็น "กลุ่มก๊วนทุกข์ของคนมีเงิน" ทันทีที่เม็ดเงินไหลทะลักเข้ามากองจนสูงมิดหัว ขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุนไหลรูด ไม่ครอบคลุมต้นทุนค่าใช้จ่าย ตำหนิช่องทางลงทุนตีบแคบเหมือนถูก "ขังลืม"เพราะถูกกักบริเวณเฉพาะฝากแบงก์กับลงทุนพันธบัตรรัฐบาล กระทั่งวิ่งไม่ทันกระแสทุนไร้รอยตะเข็บ ที่ปรับเปลี่ยนหมุนเวียนจนไล่จับแทบไม่ทัน...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 พฤศจิกายน 2548)
ธ.ก.ส.โฉมใหม่โกอินเตอร์ ขยายธุรกรรม-เปิดเอกชนถือหุ้น
ธ.ก.ส.เดินหน้าบริการเชิงรุก ขยายธุรกรรมให้บริการปล่อยสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ยันไม่ทิ้งงานเดิม มุ่งเกษตรกรเป็นหลัก "วราเทพ"มั่นใจมาถูกทาง เตรียมเปิดสาขาต่างประเทศ ส่วนสนองนโยบายรัฐไม่เสี่ยง-ได้ค้ำประกัน คนวงการแบงก์เห็นด้วยขยายธุรกรรมลดความเสี่ยง แต่ควรสำรวจตัวเองก่อนโกอินเตอร์ ชี้แบงก์พาณิชย์-EXIM แบงก์ทำได้ดีกว่า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2548)
"ทิสโก้"ซมพิษดอกเบี้ยไต่ระดับ "นิช แบงกิ้ง"โก้ เท่ แต่"ลำบาก"
ถ้าจับเอาบทวิเคราะห์ภาพรวมอุตสาหกรรมแบงก์ทั้งระบบในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้มาดูให้ถ้วนถี่ ก็จะพบว่า แบงก์เก่ารายใหญ่ๆทั้งหลายเริ่มจะเห็นแสงสว่างเจิดจ้า จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มจะถ่างออก ดอกเบี้ยฝั่งเงินกู้นั้นวิ่งขึ้นเร็ว ส่วนอีกด้านดอกเบี้ยเงินฝาก โดยเฉพาะออมทรัพย์ที่มีต้นทุนราว 50-60% กลับจอดแน่นิ่งไม่เคลื่อนไหว เพียงแค่นี้แบงก์ใหม่ ที่เพิ่งเลื่อนฐานะตัวเองจากไฟแนนซ์ก็เริ่มรู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ไม่เว้นแม้แต่ "ทิสโก้" แบงก์น้องใหม่ ที่มีพอร์ตเช่าซื้อรถยนต์อยู่ในมือสัดส่วนสูงถึง 95%...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 ตุลาคม 2548)