Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article

industry
company
people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ272  
Positioning48  
ผู้จัดการรายวัน411  
ผู้จัดการรายสัปดาห์76  
PR News462  
Total 1193  

Listed Company
Manager Lists
 
Industry > Banking and Finance

Subcategories
Banking
Financing


ผู้จัดการรายสัปดาห์ (51 - 60 of 76 items)
ธ.ก.ส.-ธอส.เข้าตาจนเฉือนเนื้อเลือดสาดใบสั่ง"โยกเงินฝากรัฐ"อุ้มลูกหนี้"พูดง่ายทำยาก" เมื่อหนทางการโยกเงินฝากของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเข้าสู่ 2 ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ อย่าง "ธ.ก.ส."และ"ธอส.จะกลายเป็นภาพเลือนรางลงทุกที แต่ด้วยภาระหน้าที่ทำให้ธนาคารทั้ง 2 แห่งต้องยอมเฉือนเนื้อตัวเอง แม้เลือดในตายังไม่กระเด็นแต่ก็พอมีแผลให้รู้สึกเจ็บๆ คันๆ เพราะเงินกองทุนที่รัฐหวังว่าจามารถโยกเข้ามาได้นั้นถูกปิดกั้นจากข้อผูกมัดที่มิอาจดึงเงินดังกล่าวมาใช้ได้ง่าย ๆ ทำให้ธนาคารเฉพาะกิจรัฐทั้ง 2 แห่ง ต้องพึ่งพาลมหายใจตัวเองเป็นหนทางสุดท้ายที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ที่กำลังเดือดร้อน(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มิถุนายน 2549)
แบงก์ออมสินเปิดแบรนด์สู่รายย่อยกลุ่มใหม่ปฏิวัติผลิตภัณฑ์ครบวงจรบริการทุกหย่อมหญ้า "ออมสิน"ปฏิบัติการแผน 2 ต่อเนื่องหลังรีแบรนดิ้งเปิดตัวสู่สาธารณะชนกลุ่มใหญ่มากขึ้นจากเดิมที่เน้นลูกค้าระดับฐานหญ้าตามนโยบายรัฐ นำบริการที่มีหลากหลายแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมาปฏิวัติแปลงโฉมใหม่พร้อมเปิดตัวสู่ตลาดรายย่อยที่ไม่เคยได้รู้และสัมผัสความเป็นออมสินในภาพลักษณ์ใหม่ที่เป็นมากกว่าธนาคาร เพราสนองความต้องการได้ทั้งนโยบายรัฐ ขณะเดียวกันก็ให้บริการที่ครบวงจรแก่บุคคลทั่วไป(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)
ออมสิน"เป็นมากกว่าธนาคาร"วางตำแหน่ง"แบงก์หลากมิติ" ขณะที่แบงก์อื่นๆ พยายามชูภาพความเป็นแบงก์เต็มรูปแบบ หรือ "ยูนิเวอร์แซลแบงกิ้ง" หรือ แบงก์เพื่อรายย่อย หรือ "รีเทลแบงกิ้ง" คอนวีเนียนแบงกิ้ง เอ็นเตอร์เทนเมนท์ แบงกิ้ง รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ตไฟแนนซ์ แต่แบงก์วัยกว่า 90 ปี ที่มีธุรกิจในมือเกือบจะครบถ้วนไม่ต่างจากแบงก์อื่นอย่าง "ออมสิน" กลับเลือกที่จะให้คำนิยามตนเอง "เป็นมากกว่าธนาคาร" คือเป็นทั้งโฮลเซลส์แบงก์กิ้ง รีเทลแบงกิ้งหรือแม้แต่ยูนิเวอร์แซล แบงกิ้ง กลายเป็นแบงก์หลากมิติ ที่มองได้ทุกมุม "การรีแบรนดิ้ง" ออมสินยุคใหม่ จึงไม่มีภาพลักษณ์ที่ชัดเจน แต่ที่ไม่ควรมองข้ามไปก็คือ สิ่งที่แบงก์ต่างๆมีออมสินก็อยู่ครบถ้วน....(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 เมษายน 2549)
ตำนานแบงก์แถวหน้ากำลังกลายมาเป็นผู้ตาม สมัยหนึ่ง "ออมสิน"เคยเป็น เป็นที่รู้จักของคนตั้งแต่ระดับบนลงสู่รากหญ้า มีสัญลักษณ์น่ารักน่าจดจำคือภาพของ "กระปุกออมสิน" ที่กลายมา เป็นตำนานเล่าขานไม่สิ้นสุดจนปัจจุบัน แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ธุรกิจการเงินกลายเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง ธนาคารทุกแห่งปรับตัวเพื่อรับกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการทุ่มเม็ดเงินลงทุนในหลาย ๆ ด้านเพื่อสร้างชื่อและภาพลักษณ์ให้ติดตลาด ภาพของออมสิน"แบงก์เด็ก" ที่เคยยืนอยู่แถวหน้า และน้อยคนนักที่จะรู้ว่าออมสินเคยมีเทคโนโลยีที่เหนือชั้นในอดีต จึงต้องเร่งปรับตัว เพื่อวิ่งให้ทันสถานการณ์แข่งขันและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 เมษายน 2549)
ไทยพาณิชย์สลัดภาพอนุรักษ์นิยม ปล่อยกู้เชิงรุกซื้อกิจการ-พันการเมือง พาณิชย์เลือกพื้นที่เสี่ยงปล่อยกู้ซื้อกิจการ สลัดภาพแบงก์อนุรักษ์นิยม ได้เห็นกรณีปล่อยกู้แกรมมี่ซื้อมติชน จนมาถึงปล่อยกู้เทมาเส็กซื้อชิน คอร์ป แถมร่วมลงทุน คนวงการแบงก์หวั่นได้ไม่คุ้มเสีย ภาพพจน์ธนาคาร 5 แผ่นดินถดถอย ตั้งข้อสังเกตุโครงสร้างผู้ถือหุ้นไทยพาณิชย์-แบงก์กรุงเทพ มีเครือข่ายรัฐถือหุ้นเหมือนกัน แถมดีลที่ผ่านมามีภาพการเมืองติดมาทุกครั้ง(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 มีนาคม 2549)
จะอยู่หรือไป"แบงก์กรุงศรีฯ"เท่านั้นที่รู้!"รัตนรักษ์"เปิดกว้างพันธมิตรผลักรายได้ค่าธรรมเนียม แม่ทัพคนใหม่ "แบงก์กรุงศรีฯ"ยังปักใจไม่เชื่อฝรั่งจะรู้ใจคนไทยเท่ากับคนไทยด้วยกันเอง แต่อย่างหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้ก็คือ กองทัพชาติตะวันตกยังได้เปรียบถ้ารบในรูปแบบ ขณะที่ยุคโลกาภิวัฒน์ทำให้กำแพงการค้าลดต่ำลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องตอบคำถามให้ได้ว่า DO OR DIE "จะอยู่หรือไป" พร้อมนิยามตัวเองเป็น "แบงก์พันธ์ไทยแท้" ที่เปิดกว้างรับพันธมิตรมากหน้าหลายตา เพื่อจะผลักให้รายได้ค่าธรรมเนียมขยายตัวต่อเนื่อง(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 กุมภาพันธ์ 2549)
แบงก์ทหารไทยยึดพันธมิตรดันธุรกิจ ทหารไทยลุยสู้ปี 2549 หลังผลงานปีที่ผ่านมางดงามด้วยกำไรกว่า 7 พันล้าน เตรียมขยายงานเต็มสูบ โดยเฉพาะ ร่วมมือกันพันธมิตรทางธุรกิจเน้นแบงแอสชัวรันส์ และการปล่อยสินเชื่อเคหะซึ่งเป็นจุดแข็งทหารไทยเพราะเป็นกลุ่มพันธมิตรที่เชื่อมไมตรีกันมายาวนาน ภายใต้สายตาคนในวงของธนาคารทหารไทย เชื่อว่าการปรับภาพลักษณ์องค์กร หรือรีแบรนดิ้งเมื่อปีที่ผ่านมาเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธนาคารมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพด้านบริการ จนเป็นที่มาของการประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจ(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 กุมภาพันธ์ 2549)
Closer to The Dragon "บัวหลวง" เปิดความสัมพันธ์บนแผ่นดินพญามังกร ล่วงหน้าแบงก์อื่นที่กำลังไล่หลังมาติดๆถึง 20 ปี แต่เวลาที่บุกเบิกมายาวนาน จนมีสาขาถึง 4 แห่ง มากกว่าแบงก์ไทยด้วยกันเอง ก็ยังไม่เพียงพอจะศึกษา เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างน่ามหัศจรรย์ของแผ่นดินเกิด "มังกรโพ้นทะเล" ได้ลึกซึ้ง แต่อย่างน้อยฐานรากของสาขาที่กระจายอยู่โดยรอบทั้งในฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน ก็ยังมากพอจะต่อยอด และส่งต่อลูกค้าที่มีอยู่ในมือได้กลับเข้าไป "ขุดทอง" ในแผ่นดินเกิดได้สะดวก(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 กุมภาพันธ์ 2549)
"บัณฑูร"สะบัดธง"ตระกูลK"ตีฝ่าวงล้อมสงครามไร้ขอบเขต ถือเป็นเรื่องบังเอิญที่คาดไม่ถึง และค่อนข้างโชคดีในสายตา บัณฑูร ล่ำซำ ซีอีโอ เคแบงก์ สำหรับสัญลักษณ์ตัว "K" ที่เพิ่งเข้ามาแทนที่ชื่อ "ไทยฟาร์มเมอร์แบงก์"เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เพราะในภายหลังตัว K ได้ถูกชักนำขึ้นสู่ยอดเสากลายเป็น "ธงนำ"ให้กับสถาบันการเงินที่ให้คำนิยามตัวเองเป็น "เครือแบงก์พันธ์ไทยแท้"มีผู้ถือหุ้นและบริหารจัดการเป็นคนไทย ที่กำลังต่อกรกับ "ทุนตาบอดสี" ไร้สัญชาติ โดยมีผู้บริโภคเป็นเดิมพัน(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 กุมภาพันธ์ 2549)
"ไทยธนาคาร"ทำสงครามกองโจรคัดตำราซิตี้แบงก์เบียดฐานรายย่อย "ไทยธนาคาร"แบงก์ไซส์เล็ก ยอมรับอยู่ในทีว่า ขนาดที่เสียเปรียบแบงก์ใหญ่ ทำให้การตัดสินใจลงสนามแข่งขันต้องเลือกเวทีที่มีโอกาสแพ้น้อยที่สุด ดังนั้นการรุกตลาดแต่ละครั้งจึงต้องเน้นทำสงครามกองโจร เลี่ยงการรบในรูปแบบ โดยเฉพาะการทะลุทะลวงเข้าถึงตลาดรายย่อย ที่คัดลอกตำราการตลาด "ซิตี้แบงก์ โมเดล"ซึ่งอาศัยกองทัพนักรบ "ไดเร็คเซลส์"มาเป็นแม่แบบ เพื่อลบจุดบอดที่มีสาขาหรือแขนขาครอบคลุมไม่ทั่วถึง(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มกราคม 2549)

Page: 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us