ลอกครอบ"GE"คอนเซอร์เวทีฟแบงเกอร์พญาอินทรีผู้กำหนดเส้นทาง"รัตนรักษ์"
ในที่สุด ตระกูลแบงเกอร์เก่าแก่ "รัตนรักษ์" เจ้าของแบงก์สีเหลืองสด"กรุงศรีอยุธยา" ก็เลือก "ที่จะอยู่และไป" ในเวลาเดียวกัน ภายใต้ปีกมหามิตรจากโลกตะวันตก "จีอี" หรือ กองทัพ"ข่าน"แห่งวงการรีเทล แบงกิ้ง" ด้วยความเต็มอกเต็มใจ...ที่อยู่ก็คือ การรักษาธนาคารที่เป็น"มรดกชิ้นสำคัญของตระกูล" เอาไว้ได้สุดชีวิต และที่ไปก็คือ ยอมคายหุ้นที่ถือทั้ง29% เพื่อเปิดทางให้ "พันธมิตร" ที่กลายมาเป็น "เครือญาติสนิท" เข้ามายึดครองอาณาจักรที่เคยเป็นของ "รัตนรักษ์" มานานกว่า 60 ปี ตลอด 2 ชั่วอายุคน อย่างสมบรูณ์แบบ แต่โดยดี...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มกราคม 2550)
หุ้นกลุ่มแบงก์แผ่วเจอมนต์ IAS 39 สะกด
หุ้นกลุ่มแบงก์เตรียมความพร้อมสู่มาตรฐานการเงินใหม่ IAS 39 ต้องกันเงินสำรอง NPL เพิ่ม ส่งผลเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตาม หวั่นกระเทือนถึงกำไรปลายปีได้ แต่เอื้อประโยชน์ธุรกิจเช่าซื้อ-ลูกหนี้ให้เช่าแบบลิสซิ่ง BBL - SCB - KBANK กันสำรองไปเยอะแล้วอุ่นใจได้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 มกราคม 2550)
"ทิสโก้"แบงก์เล็กคิดการใหญ่"เอเอซีพี"อะไรก็เบรกไม่อยู่
ฒิฬ"เอเอซีพี"ธุรกิจประกันชีวิตเบอร์ 3 น่าจะเป็นเพียงไม่กี่ราย ในกลุ่มนายทุนจากยุโรป ที่หันมาเอาดีในตลาดเกิดใหม่ จนพลิกจากผลประกอบการขาดทุนสะสมเรื้อรังเป็นเวลาสิบๆปี มาเป็นกำไรในชั่วเวลาไม่นาน... และดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาหยุดยั้ง การเติบใหญ่ของ "เอเอซีพี" ได้ เพราะในขณะที่โครงสร้างธุรกิจที่มีพันธมิตรหลายฝ่าย ทั้ง ซีพี และแบงก์กรุงศรีอยุธยา แต่เส้นทางเดิน "เอเอซีพี" ก็พร้อมเปิดกว้างสำหรับคู่ค้าหน้าใหม่ๆ..."ทิสโก้" แบงก์ขนาดเล็กคือ พันธมิตรธุรกิจรายล่าสุด ที่เปิดเส้นทางการค้ากับ "เอเอซีพี"แลกกับฐานลูกค้าร่วมแสนชีวิต ผ่านรายได้ค่าธรรมเนียมที่จะเกิดขึ้นอย่างมากมายในอนาคต..."ทิสโก้แบงก์" กำลังดิ้นรนสร้างรากฐานให้กับตัวเอง ขณะที่ "เอเอซีพี" ก็วิ่งเร็วจนหยุดไม่อยู่...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 ธันวาคม 2549)
ตามรอยยุทธศาสตร์"ตระกูลKฮีโร่"สร้างรากฐาน-ปฎิวัติประเพณีแบงก์
ผู้นำ "เคแบงก์" บัณฑูร ล่ำซำ เชื่อว่า "ยุทธศาสตร์ธุรกิจ" ต้องเฝ้ามอง "ภูมิทัศน์"โดยรอบ ตั้งแต่ผู้เล่นหน้าใหม่มากบารมีจากอีกฟากโลก และสนามรบที่กำลังทะลุถึงจุดเดือด ซึ่งได้กลายมาเป็น "ตัวแปร" เร่งให้แบงก์เทน้ำหนัก สร้าง"แบรนด์" ฉีกตัวเองให้แตกต่าง มองหาโอกาส และเนื้อหาเพื่อจับใจลูกค้า ...หลังการ "รีเอ็นจิเนียริ่ง" มาได้ร่วม 10 ปี ดูเหมือน "ค่ายKฮีโร่" จะเป็นแบงก์ใหญ่รายเดียว ที่ปฏิวัติวัฒนธรรม "แบงเกอร์" ดูได้จากการเจาะตลาด "SME" แบบแหวกประเพณี จนทำเอาคู่แข่งตื่นตะลึง ...ว่ากันว่า นับจากนี้ "เคแบงก์" กำลังเข้าสู่ยุค "สร้างรากฐาน" เพื่ออนาคต ...เป็นการเปิดยุทธศาสตร์รุกทุกหัวเมือง ขยายฐานลูกค้าผ่านไปในตลาดที่เคยถูกหมางเมิน ด้วยรูปแบบที่ไม่มีแบงก์ไทยรายไหนเคยทำมาก่อน...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 ธันวาคม 2549)
ขุดราก"ธอส."ค้นหาประชานิยมไร้ประโยชน์
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อ้อมแอ้มไม่ชี้ชัดโครงการประชานิยมที่ควรโละ ยังมั่นใจว่าที่ผ่านมาโดยเฉพาะบ้านเอื้ออาทรช่วยเหลือประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยได้จริง แต่โครงการดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในนโยบายประชานิยมเท่านั้น ยังคงมีหลายนโยบายที่ ธอส. สนองให้กับรัฐบาลชุดเก่า และบางเรื่องถึงกับต้องเฉือนเนื้อตัวเอง แต่ขณะนี้ยังไม่มีโครงการที่จะเสนอยุบเลิก แม้ "ขุนคลัง" ได้เปิดโอกาสว่าโละนโยบายเน่าทิ้ง ส่วนดีเก็บไว้และขยายผลใหกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น ด้านผลประกอบการไตรมาส 3 แม้จะออกมาไม่สวยหรู กำไรหดแต่เมื่อไม่ขาดทุนก็พอใจ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 ตุลาคม 2549)
จากบัตรเครดิตถึงสงครามเงินฝาก"ซิตี้แบงก์"ยักษ์ใหญ่ไล่ล่ายักษ์เล็ก
ในอดีต"ซิตี้แบงก์" คือ "ตำนานมีชีวิต" เจ้าของบัลลังก์ "บัตรเครดิต" เมื่อ 30 ปีก่อน และกำลังจะหวนกลับมาทวงคืนตำแหน่ง "ผู้นำตลาด" ด้วยท่วงท่าที่ค่อนข้างแข็งกร้าว และดุดัน พอๆกับยุทธศาสตร์การบุกช่วงชิงดินแดน "ฐานลูกค้าบัญชีเงินฝาก"กลุ่มเป้าหมายใหม่รายได้ระดับปานกลาง ที่แบงก์ใหญ่-เล็ก , ไทย-เทศ ต่างก็หิวกระหายจะดึงมาไว้ใต้อาณัติ...การประกาศตัวด้วยยุทธิวิธีใต้ดินของ "ซิตี้แบงก์" จึงแทบไม่ต่างจาก สงครามไล่ล่าระหว่างผู้ยิ่งใหญ่กับคู่ต่อสู้ตัวจิ๋ว...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 ตุลาคม 2549)
"ธนชาต"จุดชนวน"ไฟท์ติ้งแบงก์"เปิดสงครามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
"ธนาคารธนชาต" แบงก์สีส้มที่มีต้นกำเนิดมาจาก "ไฟแนนซ์" กลายเป็นเพียงไม่กี่แบงก์ที่เร่งอัตราการขยายตัวมาจากฐานธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ที่ตนเองถนัด แต่ที่จะแตกต่างไปจากแบงก์ขนาดกลางอื่นๆก็คือ ภาพลักษณ์การเป็น "ไฟท์ติ้งแบงก์" โดยเฉพาะการเพิ่มความถี่จากการขยายฐานลูกค้าเงินฝาก ซึ่งจูงใจด้วยดอกเบี้ยในระดับสูงลิ่ว ชนิดที่แม้แต่แบงก์ใหญ่รุ่นพี่ก็ยังทำได้แค่เหลือบตามองด้วยความประหลาดใจ....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 ตุลาคม 2549)
"แบงก์กรุงไทย"ดิ้นหลุดจากกรอบ ปรับทิศเข็นรายได้บริการภาคเอกชน
"แบงก์กรุงไทย"ประกาศตัวเอาดีด้านบริการ"payment"ที่ถือเป็นความชำนาญไปแล้วเมื่อเทียบกับค่ายอื่น ด้วยฐานลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่โดยเฉพาะของภาครัฐที่ต่อระบบเชื่อมงานบริการในส่วนนี้ วางแผนอนาคตขยายฐานสู่ภาคเอกชน หวังเพิ่มค่าธรรมเนียม สร้างรายได้ให้แบงก์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 ตุลาคม 2549)
บันไดขั้นที่ 2"สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด" "รีแบรนดิ้ง"เคาะประตูบ้าน"รีเทล"
ขณะที่ภาพลักษณ์ "ซิตี้แบงก์" หรือแม้แต่ "เอชเอสบีซี" สาขาแบงก์นอก สายเลือดตะวันตกเหมือนกัน กลายเป็นสัญลักษณ์ "แบรนด์บัตรเครดิต" ในความจดจำของลูกค้า ... แต่ในฐานะผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาด "รีเทล" การรีแบรนดิ้งในช่วง 2 ปีให้หลัง "สแตนชาร์ด"เลือกที่จะใช้สินค้าหลากหลาย และนวัตกรรมแปลกใหม่เป็นใบเบิกทางสู่ตลาดลูกค้ารายย่อยแทน การรุกสู่สนาม "รีเทล" จึงหมายถึงการก้าวสู่บันไดขั้นที่สองในสมรภูมิรบที่เริ่มจะเข้มข้น....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 สิงหาคม 2549)