จับกระแสหุ้นแบงก์ รับปันผลดี มีอัพไซด์ให้เล่น
โอกาสทองนักลงทุนเก็บหุ้นแบงก์ดักกำไรสองเด้งทั้งอัพไซด์และปันผล นักวิเคราะห์มองแบงก์เล็กจ่ายปันผลดีกว่าแบงก์ใหญ่ SCB-KBABKจ่ายตามคาดเท่าปีที่แล้ว จับตา TISCO-KK-TCAP กอดคอจ่ายปันผลได้สูง 7% ส่วน SCIB-BAY-TMB งดจ่ายปันผลเพราะผลการดำเนินงานขาดทุน แต่คาดปีนี้น่าจะกลับมาผงาดทำกำไรได้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 มีนาคม 2551)
"แบงก์เล็ก"วิ่งจับตลาดกลาง-ล่างไล้คว้าเงินออมรับมือกม.คุ้มครองเงินฝาก
แบงก์เล็ก "เกียรตินาคิน" ยอมลดไซส์ลูกค้าเงินฝาก ลงมาเป็นตลาดระดับกลาง ตั้งป้อมรับมือ กฎหมายคุ้มครองเงินฝากสู้แบงก์ใหญ่ วางกลยุทธ์นำบัญชีเงินฝากไปผูกกับธุรกิจในเครือ และพันธมิตรธุรกิจ แบบโฟกัสเทอมยาว แมทชิ่งกับสินเชื่อเช่าซื้อรถ ด้าน "ทิสโก้" ยอมรับเดินตามก้นแบงก์ใหญ่ไม่ได้ ต้องหันมาจับตลาดรายย่อย สร้างฐานเงินฝาก ขยายสาขาเพื่อลดต้นทุน เปิดช่องเป็นหน้าร้านขายสินค้า บลจ. ประกันชีวิต ประกันภัย เก็บกินค่าธรรมเนียม...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 กุมภาพันธ์ 2551)
ไทยพาณิชย์เตรียมขึ้นแท่นอันดับ 2 บี้เพิ่มค่าต๋ง - รีดพนักงานเครียด
ไทยพาณิชย์จ่อติดแบงก์อันดับ 2 อย่างกรุงไทย หลังทิ้งกสิกรไทย อวดกำไรงาม 5 ปีติดต่อ แต่พนักงานกลับประท้วงเรียกร้องสวัสดิการ สหภาพเผยโดนกดดันใครทนไม่ไหวก็ออกไป มีเด็กใหม่รอเสียบ ไม่ต้องจบบัญชี-การเงิน ขอให้ขายสินค้าของแบงก์ให้ได้เป็นพอ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 มกราคม 2551)
กำไรหุ้นกลุ่มแบงก์ Q4/50 ทรุดเตรียมหวนผงาดปีนี้ หลังสิ้นภาระกันสำรอง
โบรกฯฟันธงผลประกอบการกลุ่มแบงก์ไตรมาส 4 ส่งท้ายปีหมูวูบ! เหตุถูก ทหารไทย-ไทยธนาคารฉุด แม้แบงก์ใหญ่ยังโตดี ผ่านข้ามปีหนูคาดกำไนกลับทิศจากทิศทางภาระกันสำรองลดลง บวกทำรายได้ค่าธรรมเนียมมากขึ้น เชียร์เก็บ 3 แบงก์ใหญ่คาดผลงานเข้าตา ส่วนแบงก์เล็กก็มีปันผลงาม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 มกราคม 2551)
เวิลด์แบงค์หนุนแบงก์จีนปล่อยกู้ SMEs ศุนย์วิจัยกสิกรแนะธนาคารไทยร่วมวง!
เวิลด์แบงค์จับมือธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศจีน วางระบบปล่อยกู้ภาค SMEs – MSEs จีน หวังสร้างศก.จีนแข็งแกร่ง ดันจีดีพี-การจ้างงานเพิ่ม เบื้องต้นพบ NPL น้อยกว่า 1% เตรียมขยายระบบกู้เงินรายย่อยสู่ธนาคารพาณิชย์ทั่วแดนมังกร ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ธนาคารของไทยยังมีโอกาสเจาะตลาด SMEsจีน แต่ต้องเร่งสปีดก่อนจีนวางระบบเสร็จ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 พฤศจิกายน 2550)
รวมเครือญาติธุรกิจสายเลือดจีอีพลิกโชคชะตา“แบงก์กรุงศรีฯ”
“แบงก์กรุงศรีฯ” ภายใต้ชายคา “จีอี” รวมเครือญาติ ธุรกิจสายเลือด “จีอี” พลิกโชคชะตาแบงก์กรุงศรีฯ เริ่มต้นที่การนำพอร์ต “จีอี แคปปิตอล ออโตลีส” ธุรกิจเช่าซื้อที่มีพอร์ตรถยนต์มือสอง และรถจักรยานยนต์มหาศาล เข้ามารวมในงบของแบงก์ เป็นการเดินทางลัด ร่นเวลา ขยายอาณาจักรในอนาคต ก่อนจะมองหาโอกาสเติบโตในฐานธุรกิจที่ “จีอี” มีอยู่ในมืออย่างเป็นระบบ...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 พฤศจิกายน 2550)
"ไทยพาณิชย์-กสิกรไทย"เปิดศึกชิงอันดับ 3 ฟัดกันดุ-บี้พนักงานทำยอด-ฉกลูกค้าสินเชื่อ
ไทยพาณิชย์เร่งเครื่องแซงกสิกรไทยนั่งแทนอันดับ 3 หลังปี 49 ได้ดีลชินคอร์ปอุปถัมป์ ค่ายสีเขียวไล่ตามติด ๆ คนวงการแบงก์มองไทยพาณิชย์เดินเครื่องรุกเต็มพิกัด ตั้งเป้าพนักงาน-ผู้จัดการสาขาทำยอด กสิกรใช้ดอกเบี้ยดึงลูกค้าเข้าธนาคารก่อนส่งต่อผลิตภัณฑ์อื่น ขณะที่ศึกชิงลูกค้าสินเชื่อเริ่มดุอีกครั้ง เสนอดอกเบี้ยต่ำกว่า วงเงินสูงกว่า หวั่นระยะยาวไม่คุ้ม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 ตุลาคม 2550)
"คลัง"เปิดช่องหาเงินถม"ทหารไทย" "ไอเอ็นจีกรุ๊ป"ส่งทูตทาบทามแบงก์
เหมือนเสี่ยงตายเมื่อ"ไอเอ็นจีกรุ๊ป"เดินเข้าพบ "รมว.คลัง"เอ่ยปากสนใจเข้าถือหุ้น"ทหารไทย"แบงก์ที่ถมเงินเท่าไรก็ไม่เต็ม แถมยังมีปัญหาการเมืองภายในองค์กรหลุดรอดให้กังวลเป็นระยะ แต่เรื่องนี้อาจไม่ใช่ประเด็นที่ "สิงโตส้ม"จากเนเธอร์แลนด์วิตก เมื่อเทียบผลและประโยชน์อันพึงได้กลับมาเมื่อลงทุนในแบงก์ทอปบูทแห่งนี้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 สิงหาคม 2550)
วัดมาตรฐาน"จีอี"สร้าง"แบงก์กรุงศรีฯ"จุดสตาร์ทสงครามการเงินเพิ่งเริ่มต้น
ถือเป็นช่วงรอยต่อของการผสมผสาน 2 แผ่นดิน ระหว่าง"จีอี แคปปิตอล" และ "แบงก์กรุงศรีฯ" ให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียว ด้วยการกำจัดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งที่นำไปสู่การสร้างฐานรากความมั่นคง ก่อนประกาศความพรั่งพร้อมในแสยานุภาพและกำลังพลที่พร้อมสู้ศึกในสนามรบธุรกิจการเงินอย่างแท้จริง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 สิงหาคม 2550)