รับสร้างบ้านกรีฑาทัพบุกตลาดอุดช่องโหว่กรุยทางสู่บัลลังก์ผู้นำ
ตลาดรับสร้างบ้านปรับกลยุทธ์อุตลุด หวังสู้ศึกกินรวบตลาดผู้รับเหมา-บ้านจัดสรร หมดยุคทำสงครามราคา เน้นเพิ่มบริการครบวงจร สร้างความยั่งยืน ชี้อนาคตผู้รับเหมาทำได้แค่งานซ่อมแซม-ต่อเติม สมาคมฯ เร่งสร้างความน่าเชื่อถือ-คลอดสัญญามาตรฐาน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
คิวคอนเลิกขายตรงเข้าโครงการเน้นขายผ่านเอเยนต์100%ใน3ปี
ตลาดอิฐมวลเบาร้อนระอุ คิวคอนเตรียมขยายฐานตลาดทั่วประเทศ เลิกขายตรง ปรับแผนมุ่งบทบาทผู้ผลิต เร่งเจาะตลาดเอเยนต์ 100% ภายใน 3 ปี พร้อมตั้งศูนย์อบรมผู้รับเหมา ให้ความรู้การใช้ผลิตภัณฑ์ หวังดันตลาดอิฐมวลเบารวมโต
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 ตุลาคม 2549)
“ฤทธาเหมราช”แยกตัวของโตเองสร้างความชัดเจนก่อนเข้าตลาด
ฤทธาเหมราชยุคใหม่เน้นโตเดี่ยว แยกตัวจากฤทธา เปลี่ยนชื่อเป็น “อาร์ทีเอช คอนสตรัคชั่น” เร่งสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน ทุ่มงบ 10 ล้านพัฒนาระบบบริหาร เน้นรับงานเอกชนขนาดกลาง เตรียมพร้อมรุกเข้าตลาดหุ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 ตุลาคม 2549)
ธุรกิจรับเหมารอวันเจ๊ง รัฐบาลถังแตก! 2 ปีเบิกเงินไม่ได้
* วงการรับเหมาระบุชัด รัฐบาลถังแตก!
* หลัง 2 เม.ย.เป็นต้นมา หน่วยงานรัฐใช้เล่ห์เหลี่ยมตรวจรับงานช้า เพื่อชะลอการจ่ายเงินงวดงาน ส่วนค่า "K"กว่า 2 ปีที่รัฐหยุดการจ่ายเพราะขาดเงิน
* ขณะที่ธุรกิจรับเหมาอลหม่าน ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ ผู้รับเหมารายกลาง และเล็ก รับงานตั้งแต่ 100 ล้านบาทลงมา ถูกซัพพลายเออร์ อิฐ หิน เหล็ก ปูน ทราย และคอนกรีต ยื่นคำขาด ต้องจ่าย "เงินสด"จึงจะมีสินค้าให้
* ส่วนยักษ์ใหญ่ "บ่นอุบ"ทุกอย่างไร้สัจจะ รอรัฐบาลใหม่ อนุมัติโครงการเมกะโปรเจกต์ หนักใจต้องเตรียม"กระสุน"จ่ายการเมืองใช้เลือกตั้ง!
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 กรกฎาคม 2547)
รับสร้างบ้านครึ่งปีแรกเหนื่อยชี้ทางรอด“สร้างความต่าง-ไม่ตามเทรนด์”
ดูเหมือนธุรกิจรับสร้างบ้านและธุรกิจรับเหมาในครึ่งปีแรกจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆที่รุมเร้าโดยเฉพาะปัญหาการเมือง ซึ่งส่งผลต่อความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภคทำให้กำลังซื้อหดตัวค่อนข้างรุนแรงและบางส่วนได้ชะลอการตัดสินใจออกไปเพื่อรอดูสถานการณ์ว่าจะจบลงในทิศทางไหน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 กรกฎาคม 2549)
ธุรกิจรับสร้างอาการหนักแนะหาจุดแข็งปิดจุดอ่อนก่อน“ล่ม”
*ธุรกิจรับสร้างบ้านหนีไม่พ้นวิกฤตทางการเมือง น้ำมันแพง ดอกเบี้ยสูง ยอดขายไตรมาสแรกวูบ 30%
*ชี้ทางรอดผู้ประกอบการเสริมจุดแข็ง ปิดจุดอ่อนสู้วิกฤตครั้งใหญ่ ก่อนธุรกิจล่มสลาย
*ดิ เอ็ม เพอเร่อร์ เฮ้าส์ผู้ทำตลาดบ้านระดับไฮเอนด์ จำทิ้งบทบาทภาพหรูหรา เสนอราคาสู้ผู้รับเหมา หวังงานมูลค่าแค่ 16 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 พฤษภาคม 2549)
ก่อสร้าง "Middle East" บูม "เฟดคอน"ชวนทัพรับเหมาบุก - กวาดเงินปีละ 3หมื่นล้าน
"Middle East" ขุมทรัพย์ใหม่ภาคธุรกิจบริการ-ก่อสร้างไทย หลัง "เฟดคอน"สร้างชื่อเสียงในโครงการฮาหมัดเมดิคอลเซ็นเตอร์ ที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ เสนอขอรัฐจัดตั้งกองทุนเพื่อการหางาน และจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อผลักดันให้บริษัทคนไทย แข่งขันกับต่างชาติได้ มั่นใจสร้างรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท ด้าน"ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น" จับมือยักษ์ใหญ่ในจีนเจรจางานวางท่อก๊าซ ส่วนบริษัทไทยรวมกลุ่มพันธมิตรเตรียมบุกงานก่อสร้าง "กาตาร์-ดูไบ-อาบูดาบี"
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 ตุลาคม 2548)
"PLE"โกยงานกาตาร์ มูลค่าหมื่นล้านบาท
"เพาเวอร์ไลน์ " เร่งเจรจารับงานในตะวันออกกลาง กาตาร์ ดูไบ อาบูดาบี คาดจะได้งานระบบในสนามบินใหม่โดฮา มูลค่านับหมื่นล้านบาท ปัจจุบันได้งานโรงพยาบาลฮาหมัดฯ กว่า 2พันล้านบาท และโครงการ "ALSHARG" รีสอร์ทแอนด์สปามูลค่า 700ล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 ตุลาคม 2548)