โอสถฯโฮลดิ้ง รวมทีมสู้ศึกโฆษณา สปา-ฮาคู นำทัพ FMCG ชนเครือข่ายโลก
1 เมษายนนี้ วงการโฆษณาของประเทศไทยคงต้องจารึกประวัติศาสตร์ไว้อีกบท เมื่อ 2 เอเยนซียักษ์ใหญ่ที่มีจุดกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย สปา แอดเวอร์ไทซิ่ง และไทย ฮาคูโฮโด มีการรวมตัวกัน ยกระดับขึ้นเป็นกลุ่มองค์กรด้านการสื่อสารการตลาด ต่อกรในโลกธุรกิจกับเครือข่ายจากฝั่งตะวันตก 4 กลุ่มใหญ่ ที่รวบรวมเอา แอดเวอร์ไทซิ่ง เอเยนซี, มีเดีย เอเยนซี, พีอาร์ เอเยนซี และหน่วยงานด้านการสื่อสารการตลาดอื่นๆ นับสิบ นับร้อยบริษัท เข้าร่วมอยู่ในแต่ละเครือข่าย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มีนาคม 2552)
เอเยนซีไซส์เล็กในเครือข่ายยักษ์ ปรับเกมหาจุดยืนสู่การเติบโตในอนาคต
ภาพของการแข่งขันในอุตสาหกรรมโฆษณาวันนี้ อาจสะท้อนให้เห็นแต่เพียงการช่วงชิงโอกาสทางธุรกิจระหว่างเครือข่ายเอเยนซียักษ์ 3-4 กลุ่ม ที่แต่ละกลุ่มล้วนมีบริษัทในวงการสื่อสารการตลาดชั้นนำด้านต่างๆ อยู่ในมือให้เลือกใช้ คล้ายกับทีมฟุตบอลในปัจจุบันที่รวบรวมเอานักเตะฝีเท้าดี ระดับซูเปอร์สตาร์อยู่ในทีม แต่ในทีมฟุตบอล นักเตะตัวสำรอง หรือระดับเยาวชนที่เติบโตขึ้น ยังมีโอกาสได้สอดแทรกลงสนามร่วมกับนักเตะบิ๊กเนม ต่างกับวงการโฆษณาที่บริษัทขนาดเล็กซึ่งอยู่ภายใต้เครือข่ายยักษ์ใหญ่เหล่านั้น จะหาโอกาสทางธุรกิจได้อย่างไรท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ ที่ต้องแข่งขันกับทั้งคู่แข่งจากบริษัทจากเครือข่ายอื่น และบริษัทภายในเครือข่ายของตนเอง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มีนาคม 2552)
อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ เส้นทางสายใหม่ ของอินเด็กซ์กรุ๊ป
เส้นทาง 20 ปีของอินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ 2 พี่น้อง เกรียงไกร และเกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ได้สร้างปรากฏการณ์ให้กับการสื่อสารการตลาดไว้อย่างมากมาย ธุรกิจอีเวนต์ในวันที่อินเด็กซ์เริ่มเปิดตัว เป็นเพียงกิจกรรมการตลาดเล็กๆ ที่มีการใช้งานไม่แพร่หลายนักการจัดอีเวนต์ส่งเสริมการขาย แต่เดิมเคยเป็นงานของค่ายคอนซูเมอร์โปรดักส์ ยักษ์ใหญ่ หรือเป็นกิจกรรมสนับสนุนภายใต้แผนการประชาสัมพันธ์ ถูกขยายการใช้งานไปสู่กลุ่มสินค้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรียลเอสเตต รถยนต์ ไอที ไปจนถึงงานบริการ อย่าง ธุรกิจแต่งงาน แม้แต่ธุรกิจสื่ออย่าง วิทยุ หรือนิตยสาร ก็ยังใช้อีเวนต์มาเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นการขายสปอตวิทยุ หรือโฆษณาบนหน้าหนังสือ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 กุมภาพันธ์ 2552)
มีเดีย เอเยนซี เปิดเกมรับธุรกิจติดลบ
มีเดีย เอเยนซี ระบุปัจจัยลบภายใน-ภายนอกประเทศ ส่งผลกระทบตลาดรวมโฆษณาปี 51 ติดลบ มายด์แชร์ใช้ฤกษ์ท้ายปีเปลี่ยนโลโก้ ก่อนปรับเกมรบเดินหน้าผลักกลยุทธ์ช่วยลูกค้า มั่นใจสิ้นปีโตตามเป้า 11% ด้านออมนิคอมมีเดียกรุ๊ป เพิ่มหน่วยบริการใหม่หวังสร้างความแข็งแกร่ง พร้อม ส่งผลวิจัย "ถอดรหัสดักผู้บริโภค" หวังเป็นเครื่องมือช่วยลูกค้าในการเจาะพฤติกรรมผู้บริโภค
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 ธันวาคม 2551)
จับชีพจรธุรกิจสื่อปีหนู ทีวี-วิทยุ-สิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์
* อินิชิเอทีฟ มีเดียเอเยนซี่ยักษ์ใหญ่ระดมงานวิจัยตลอดปีหนู วัดชีพจรสื่อ
* ฟรีทีวี เผชิญ 2 สื่อรุ่นใหม่ เคเบิลทีวี - อินเทอร์เน็ต เบียดแย่งผู้ชม
* วิทยุ-สิ่งพิมพ์ สลัดจากความซบเซาของสื่อด้วยการสร้างคอนเทนต์โดนใจ
* อินเทอร์เน็ต รอปรับสู่เทคโนโลยี 3.0 พาสื่อออนไลน์ติดจรวด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2551)
เผยศักยภาพหนังโฆษณาไทยชี้ 2 ใน 3 ตอบโจทย์ไม่เข้าเป้า
แม้สภาพของธุรกิจโฆษณาในปีนี้มีแนวโน้มที่จะถดถอย เม็ดเงินที่ใช้ในการซื้อสื่อหลักติดลบ แต่เมื่อเจาะลึกลงไปในรายสื่อ พบว่า สื่อโทรทัศน์แม้มูลค่าการใช้ของแบรนด์สินค้าต่างๆ จะลดลงจากปีก่อน แต่จำนวนของหนังโฆษณากลับมีจำนวนมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2551)
สื่อหลัก 3 ไตรมาส อ่อนแรง แนวโน้มตลอดปีส่อแววติดลบ
นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช(ประเทศไทย)จำกัด รายงานการใช้งบประมาณด้านการโฆษณาผ่าน 8 สื่อหลักประจำเดือนกันยายน 2551 พร้อมกับการสรุปเม็ดเงินโฆษณา 3 ไตรมาสแรกของปี ปรากฏว่า ความปั่นป่วนของภาวะเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก รวมถึงสภาพความวุ่นวายทางการเมืองไทย ส่งผลกระทบให้อุตสาหกรรมสื่อเริ่มแสดงตัวเลขถดถอยให้เห็นอย่างชัดเจน มูลค่าเม็ดเงินโดยรวม 6.6 หมื่นล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ที่เคยทำไว้ 6.7 ล้านบาท หรือคิดเป็น -1.25%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 ตุลาคม 2551)
มายด์แชร์ สร้างเซกเมนต์ลึกถึงใจชูงานวิจัย 3 มิติ หากลุ่มเป้าหมายตัวจริง
ในวันที่แนวคิดทางการตลาดปรับเปลี่ยน นักการตลาดที่เคยนำเสนอสินค้าแบบ Insight Out กำหนดศูนย์กลางอยู่ที่ตัวสินค้า หรือ Product Centric สร้างสินค้าที่ตนเองคิดว่าดีที่สุด ใช้สื่อแมสกระจายหากลุ่มเป้าหมายในแนวกว้าง กลายเป็นแนวคิดตกสมัย ต้องเปลี่ยนด้านมุมมองเป็น Outsight In ยกศูนย์กลางไปอยู่ที่ตัวลูกค้า หรือ Customer Centric ชัยชนะทางการตลาดในวันนี้จึงตัดสินกันที่ใครจะนำเสนอสินค้าที่ตรงใจ ตรงความต้องการผู้บริโภคได้ดีที่สุด และสื่อสารการตลาดได้เข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มนั้นๆ ได้ดีกว่ากัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กันยายน 2551)
สัญญาณอันตรายสื่อรุ่นเก่า ทีวี-สิ่งพิมพ์-สื่อนอกบ้าน รูดยกแผง
มูลค่าการใช้งบโฆษณาใน 8 สื่อหลัก ของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งนีลเส็น มีเดีย รีเสริช(ประเทศไทย) ได้ทำการสำรวจ แสดงให้เห็นถึงสัญญาณอันตรายของสื่อรุ่นเก่าที่เริ่มตกต่ำลง สื่อที่ครองมูลค่าส่วนแบ่งงบโฆษณาสูงสุด ทั้งโทรทัศน์, หนังสือพิมพ์ รวมไปถึงสื่อที่เคยมีการเติบโตหวือหวาในปีก่อนอย่าง สื่อโรงภาพยนตร์ และสื่ออินสโตร์ พร้อมหน้าถดถอย หลงเหลือเพียงสื่อวิทยุ และสื่อเคลื่อนที่ ที่สามารถสวนกระแสขาลงมีเปอร์เซ็นต์การเติบโตถึง 2 หลัก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 สิงหาคม 2551)