จับผิดเงื่อนไขกู้เงินญี่ปุ่น บีบใช้วัสดุ-รับเหมาแลกดอกเบี้ยต่ำ
รัฐบาลส่งสัญญาณไทยเสียเปรียบกู้เงินญี่ปุ่นอัตราดอกเบี้ยต่ำ แบบสเต็ปโลน โดนบังคับใช้วัสดุก่อสร้างและผู้รับเหมาแดนปลาดิบถึง 30% ของมูลค่าโครงการ รฟม.เร่งสร้างภาพหารือสบน.หาแนวทางต่อรอง คาดต.ค.ได้ข้อสรุป ส่วนสายสีเขียวอาจใช้เงินกู้ต่างประเทศแทนการกู้เงินในประเทศ เหตุดอกเบี้ยถูก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กันยายน 2551)
“สันติ พร้อมพัฒน์” เร่ขายฝัน ดันรถไฟฟ้าเข้าย่านชุมชน
- เจ้ากระทรวงคมนาคม ขายฝันรอบใหม่ ตะลุยสร้างรถไฟฟ้าย่านชุมชน
- “ลาดพร้าว บางกะปิ เพชรบุรี เลียบคลองแสนแสบ” จ่อคิวลุ้นนั่ง“โมโนเรล”
- ค่ายผลิตรถไฟฟ้าแดนปลาดิบ จ้องตั้งฐานผลิตในไทย
- ขู่การเมืองไม่เปลี่ยน คนกรุงฯนั่งรถไฟฟ้ารอบเมืองใน 5 ปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2551)
ป่วน!!วงการที่ดิน รับแผนรื้อขนส่งมวลชน ลิ่วล้อ “ทักษิณ”เตรียมผงาด
- รื้อโครงข่ายคมนาคม ป่วนวงการที่ดิน ทำนักธุรกิจการเมืองเดี้ยงคาที่
- ลิ่วล้ออดีตนายกฯทักษิณ เตรียมผงาดวงการที่ดิน หลังโครงข่ายคมนาคมเชื่อมต่อสมบูรณ์
- “หญิงอ้อ” นำขบวนกว้านซื้อที่ดินย่านบางนา รอโครงข่ายโลจิกติกส์พร้อม ตามด้วย “สุดารัตน์ ”ดอดเก็บที่ดินย่านรัตนาธิเบศร์อิงสายสีม่วง
- ขณะที่“สุริยะ” รวบที่ดินย่านอยุธยา รอรถไฟฟ้ารางคู่พาดผ่าน หวังเก็งกำไร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 กุมภาพันธ์ 2551)
หุ้นเดินปีหนูเรือยังดูดี จับจังหวะสะสมหุ้นช่วงอ่อนตัว
ใกล้ช่วงเทศกาลวันหยุดยาวทำอุปสงค์การขนส่งหด ส่งผลหุ้นเดินเรืออืด แต่ยังมีลุ้นปีหนู 2551 เห็นแววฟื้น โบรกฯชี้ราคามีสิทธิ์เด้งกลับไปที่จุดสูงสุดเดิมได้ จากความต้องการใช้เรือเทกองขนส่งถ่านหินและสินแร่เหล็กที่ยังมีอยู่สูงโดยจีน อินเดีย และญี่ปุ่น แนะ "ทยอยสะสม" TTA ราคาเป้าหมาย 70 บาท ส่วน PSL มีความเสี่ยงน้อยเหตุทำสัญญาล่วงหน้าตุนไว้แล้ว แนะ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 33 บาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 ธันวาคม 2550)
คิวยุบ ร.ฟ.ท.หลังผ่าตัดใหญ่ไม่สำเร็จ รื้อสัญญาที่ดินทุกแปลง RCA-จตุจักร-อ.ต.ก.คิวแรก!
แม้ว่า “การรถไฟแห่งประเทศไทย” หรือ “ร.ฟ.ท.” จะเป็นอีกหนึ่งในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน่วยงานใดๆ แต่ด้วยความผิดพลาดของการดำเนินงานที่ฝังรากลึกมายาวนาน และไม่เคยแก้ไขได้สำเร็จ กลับทำให้ภาพลักษณ์ของ ร.ฟ.ท.กลายเป็นความตกต่ำ เป็นแดนสนธยา ที่นักการเมือง นักลงทุนต้องการเข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากขุมทรัพย์มหาศาลใน ร.ฟ.ท.
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 กันยายน 2550)
นโยบายขนส่งมวลชนพลิกรายวันทำนักเก็งกำไรเดี้ยงคาที่ดิน
ปัญหาจราจรติดขัดเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย ทำให้ประเทศต้องแบกรับภาระนำเข้าน้ำมันอย่างมหาศาล ดังนั้นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่จึงกลายมาเป็นสิ่งที่พรรคการเมืองและรัฐบาลทุกชุดต้องหยิบยกมาเป็นนโยบายในการหาเสียงและดำเนินงาน แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากลับติดบ่วงปัญหาต่างๆ ที่ทำให้ความพยายามผลักดันไม่เคยจนประสบความสำเร็จสักครั้ง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 กรกฎาคม 2550)
เลื่อนประมูลรถไฟฟ้ายาว ติดขั้นตอนเลือกที่ปรึกษาใหม่
โครงการรถไฟฟ้าส่อเค้าเลื่อนยาว 4 เดือน เหตุต้องคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาใหม่ ลบคำครหาไม่โปร่งใส สร้างความเป็นธรรมแก่บริษัทใหม่ หลังจากที่คณะกรรมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)มีมติชะลอการว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเดิมคือกลุ่มบริษัทเออีซีและกลุ่มบริษัทบีเอ็มทีซี เพราะมีการตั้งข้อสังเกตถึงขั้นตอนการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาที่ใช้วิธีตกลงราคาหรือวิธีพิเศษว่า การใช้บริษัทที่ปรึกษารายเดิม อาจจะไม่โปร่งใส และไม่เป็นธรรมสำหรับบริษัทใหม่ที่จะเข้ามาร่วมประมูล
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)
แผนสร้างรถไฟฟ้าผ่านฉลุยร.ฟ.ท.-รฟม.เร่งเครื่องรับมือ
ร.ฟ.ท.ปิดเกมสโลแกน “ถึงก็ช่าง...ไม่ถึงก็ช่าง”เดินเครื่องรถไฟฟ้าสายสีแดง ยันเปิดประกวดราคาเดือนเม.ย.นี้ ด้านรฟม.สวมบทเสือปืนไว เตรียมจ้างที่ปรึกษาสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน หวังเปิดให้บริการปี 2555
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กุมภาพันธ์ 2550)
จับตาTORส่วนต่อขยายBTSล็อควิธีพิเศษจัดซื้อ-จัดจ้าง
*เปิดเบื้องลึกประมูลระบบอาณัติสัญญาณส่วนต่อขยาย BTS ช่วงสะพานตากสิน-ตากสินไม่คืบ
*จับตา TOR ใหม่ เอื้อเลือกใช้วิธีพิเศษจัดซื้อ-จัดจ้าง ช่องว่างเรียกรับเงินใต้โต๊ะ
*คนฝั่งธนฯฝันค้าง เมื่อไหร่จะได้นั่งรถไฟฟ้าเข้ากรุง?
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 พฤศจิกายน 2549)