รุมชิงตลาดคอมพ์ เอชพี-เอซุส เดิมพันเบอร์ 2
แรงกระเพื่อมของการแข่งขันระหว่างเอซุสและเอชพี ส่งผลให้ปีนี้สมรภูมิคอมเมอร์เชียลดูจะมีสีสันและคึกคักตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากมีเม็ดเงินจากภาครัฐ องค์กร และเอสเอ็มบีเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าตลาดให้ขยับขึ้นไปอีก ส่งผลให้ทุกแบรนด์ต่างมีความเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อตลาดและการแข่งขันมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 กุมภาพันธ์ 2555)
‘เอซุส’ เปลี่ยนไป ขอทำทุกตลาด
กลยุทธ์การทำตลาดของเอซุสในปีนี้ ยังเน้นการเพิ่มโมเดลสินค้าใหม่ทั้งกลุ่มโน้ตบุ๊กและแท็บเลตเข้าสู่ตลาดต่อเนื่อง เพราะตลาดยังมีการเติบโตต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าจะมีส่วนแบ่งตลาดไม่น้อยกว่า 16% หรือมียอดขายรวม 8,700 ล้านบาท เติบโตจากปีที่แล้ว 40%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 กุมภาพันธ์ 2555)
โซนี่-โตชิบา-ฮิตาชิ ผนึกรวมกันพัฒนาจอ LCD
รัฐบาลญี่ปุ่นต้องตัดสินใจลงเงินกองหนึ่งเป็นเงินกว่า 2,600 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนให้โซนี่ ฮิตาชิ โตชิบา ยอมที่จะร่วมแรงร่วมใจ และควบรวมธุรกิจด้านจอคริสตัล ลิควิด เพื่อให้มั่นใจว่าแบรนด์ของญี่ปุ่นทั้งสามแบรนด์จะมีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันกับแบรนด์จากเกาหลีใต้และไต้หวันได้ในการตลาดระยะต่อไปจากนี้
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กันยายน 2554)
เอชพีอาจจะถอนตัวจากธุรกิจพีซี แท็บเลต-สมาร์ทโฟนจุดเปลี่ยน
เอชพีได้ส่งสัญญาณออกมาค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า เอชพีจะยกเลิกธุรกิจการผลิตผลิตภัณฑ์ด้านคอมพิวเตอร์แท็บเลตและสมาร์ทโฟน รวมทั้งอาจจะตัดสินใจขายกิจการแผนกพีซีของตน ซึ่งเป็นแผนกที่รับผิดชอบเกี่ยวกับลูกค้ากลุ่มผู้บริโภคด้วย
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กันยายน 2554)
พร้อม-รบ-รุก ภาพใหม่ “เดลล์”
เน้นโมเดลขายตรง และเจาะกลุ่มลูกค้าองค์กรเป็นหลัก ซึ่งเป็นโมเดลที่เคยสร้างความสำเร็จให้กับเดลล์อย่างมาก เพราะช่วยลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ จนกระทั่งมาถึงวันที่โลกคอนซูเมอร์เติบใหญ่ขยายอาณาจักรกว้างขวางมากขึ้น ทำให้เดลล์ไม่อาจปฏิเสธความจริงในโลกคอนซูเมอร์ได้อีกต่อไป
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 เมษายน 2554)
10 สุดยอดไฮไลต์ เขย่าตลาดไอทีไทย
ปี 2554 เป็นปีที่ใครต่อใครออกมาฟันธงว่า แท็บเลต-สมาร์ทโฟนต้องมาแน่นอน สะท้อนให้เห็นจากการเปิดตัวสินค้าและนวัตกรรมใหม่ของบรรดาผู้ผลิตต่างๆ ล้วนเทน้ำหนักให้กับ แท็บเลต และสมาร์ทโฟน หวังกระชากใจผู้บริโภคสุดฤทธิ์
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 มีนาคม 2554)
ปี 54 เทคโนโลยีกลืนเมือง ไอทีแปลกใหม่ยุคลูกผสม
ปี 2554 ความร้อนแรงของกระแสเทคโนโลยีได้รับการคาดการณ์ว่าจะระอุยิ่งขึ้น เป็นยุคที่ดิจิตอลลูกผสมจะสร้างประสบการณ์แปลกใหม่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมต่อระหว่างชีวิตกับโลกอินเทอร์เน็ตที่แทบจะกลายเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตมากยิ่งขึ้น
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 มกราคม 2554)
เดลล์ปรับกลยุทธ์ ดับแบรนด์ไม่ทำเงิน
กลยุทธ์การลดจำนวนแบรนด์ให้เหลือไม่มาก เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมทางการตลาดนี้ เป็นความจำเป็นของการบริหารแบรนด์สำหรับเดลล์ และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีการออกแคมเปญการตลาดที่ใหญ่กว่าในอนาคต
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 ธันวาคม 2553)
ร้ายนัก...เทคโนโลยี หลายอาชีพเตรียม “สูญพันธุ์”
ส่งสัญญาณเตือนภัยอาชีพที่เข้าข่ายเสี่ยง “ตกงาน” เมื่อเทคโนโลยีกระแทกเข้าใส่ สอดรับกับพฤติกรรมคน ความเปลี่ยนแปลงจึงต้องเกิดขึ้น เซลแมน - เอเยนต์ทัวร์ - สถาปนิก - งานบริการ ฯลฯ ปรับตัวด่วนก่อนโดน “เขี่ย” ทิ้ง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 ธันวาคม 2553)
“ซับแบรนด์” หัวรบ ฉีกเซกเมนต์ขยายตลาด
การเพิ่มจุดขายใหม่ๆ ให้แบรนด์ที่มีอยู่เดิมอาจต้องอาศัยลูกเล่นเรื่องของการสร้าง “ซับแบรนด์” มาช่วยสร้างแต้มต่อใหม่ในการดึงดูดผู้บริโภคฉลาดอย่างเช่นในปัจจุบันนี้ และวันนี้เราก็ได้เห็นค่ายเอชพี ยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันกระโดดลงมาสร้างซับแบรนด์ใหม่เพื่อเพิ่มสีสันให้กับตลาดคอนซูเมอร์
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤศจิกายน 2553)