เศรษฐกิจสยาม : เศรษฐกิจก่อนอภิวัฒน์ ๒๔๗๕ และ เศรษฐธรรม (๒)
การสูญเสียทางเศรษฐกิจ การลงทุน การชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากปัญหาวิกฤตการณ์และความขัดแย้งทางการเมืองเวลานี้นับว่าคุ้มค่าหากสังคมไทยได้เรียนรู้ที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง เรียนรู้แก้ความขัดแย้งตามครรลองของระบบประชาธิปไตย สร้างค่านิยมที่ถูกต้อง ทำให้การเมืองสะอาดและโปร่งใสขึ้น และแน่นอนที่สุดเกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ (เศรษฐธรรม) และสังคมมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 มีนาคม 2549)
ค่าครองชีพพุ่งพรวด"มรดกทักษิณ" ชนชั้นกลาง-รากหญ้ารับชะตากรรม
ค่าครองชีพประชาชนประสานงา ดาหน้าขึ้นพร้อมเพรียง ดอกเบี้ยกู้ ค่าไฟ ค่ารถเมล์ ขึ้นก่อน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ของหวานจ่อคิว ชนชั้นกลาง-รากหญ้ารับเคราะห์ ดีที่สุดต้องช่วยตัวเองลดค่าใช้จ่าย ใครปรับตัวไม่ได้ระวังหนี้สินท่วมหัว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 มีนาคม 2549)
เศรษฐกิจสยาม : เศรษฐกิจก่อนอภิวัฒน์ ๒๔๗๕ และ เศรษฐธรรม (๑)
มีการจัดตั้งบริษัทต่างๆขึ้นโดยพ่อค้าชาวยุโรปทั้งกิจการเดินเรือ การธนาคารและประกันภัย ผู้ประกอบการค้าข้าวชาวสยามเองก็ขยายกิจการไปทำธุรกิจอื่นๆด้วย การเติบโตทางเศรษฐกิจและการเฟื่องฟูของภาคธุรกิจชะงักงันเมื่อเจอเข้ากับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจช่วงก่อนการอภิวัฒน์ ๒๔๗๕
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 กุมภาพันธ์ 2549)
เศรษฐกิจสยาม: จุดเปลี่ยนหลังสนธิสัญญาบาวริง (2)
" การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้การงานสิ่งใดของเขาที่ควรจะเรียนเอาไว้ ก็ให้เอาอย่างเขาแต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว "นั่นคือ พระราชกระแสของรัชกาลที่สามเกี่ยวกับการต่างประเทศก่อนสวรรคตไม่นานนัก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 กุมภาพันธ์ 2549)
ฟันธงเศรษฐกิจปี 49 ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 4%
อัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2549อยู่ที่ 4.75-5.75% ซึ่งเป็นการปรับประมาณการณ์ครั้งใหม่หลังจากที่เคยคาดเมื่อปีที่ผ่านมาว่าเศรษฐกิจปี 4.5-6%และในปี 2550 อยู่ที่4.5-6% ซึ่ง ธปท. เห็นว่าเศรษฐกิจปี 2549 ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยมีภาคส่งออกเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ ปีนี้จะขยายตัว 10-12 %และปี 2550 แต่ขยายตัวลดลงที่ 6-9%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 กุมภาพันธ์ 2549)
เศรษฐกิจสยาม: จุดเปลี่ยนแห่งยุคสมัย (1)
หลังความล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมกองทหารจำนวนหนึ่งตีฝ่าวงล้อมพม่ามุ่งหน้าสู่หัวเมืองภาคตะวันออกเพื่อสร้างฐานที่มั่นกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า การกอบกู้เอกราชและการรวบรวมราชอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นเป็นภารกิจสำคัญในสมัยกรุงธนบุรี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 มกราคม 2549)
ทุนไร้สัญชาติชี้นำเศรษฐกิจโลก คลังตั้งป้อมดึงเงินระยะยาว
ทุนจำนวนมหาศาลที่สะสมภายใต้โลกที่มีขอบเขตและพรหมแดนเล็กลงนั้น จะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลกในอนาคต ด้วยจำนวนทุนมหาศาลที่เข้าออกและเปลี่ยนที่ไปมาอย่างรวดเร็วจนยากจะควบคุม ทำให้ประเทศที่ไม่เตรียมพร้อมรับมือได้รับผลกระทบอย่างแรง เพราะทุนที่ไหลเวียนไปมาทุกวันนี้มีทั้งเข้ามาเพื่อเก็งกำไรในระยะสั้น และเข้ามาลงทุนในระยะยาว และทุนระยะยาวคือสิ่งสำคัญที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติ คัลในบทบาทสมองชาติต้องคิดอย่างผู้นำว่าทำอย่างไรจึงดึงทุนระยะยาวมาได้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 มกราคม 2549)
"ทนง"แขวะเศรษฐกิจไทยเรื่องหมาๆต้องช่วงชิงตำแหน่งจ่าฝูงจัดการปัญหา
เศรษฐกิจปีจอจะดูหรือไม่ดูเป็นเรื่องที่ไม่อาจฟันธงได้เพราะจากบทเรียนสอนให้เห็นแล้วว่าความไม่แน่นอนมักเกิดขึ้นเสมอทั้งเป็นผลจากภายในและภายนอกประเทศ แต่กระนั้นก็ตามเศรษฐกิจปีจอที่เปรียบเสมือนสุนัขไทย มีความต้องการจ่าฝูงที่แข็งแกร่ง แม้ในภาวะของการแก่งแย่งความเป็นจ่าฝูงจะมีอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ตัวที่แข็งแกร่งสุดเท่านั้นที่จะเป็นผู้นำ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 มกราคม 2549)
ปรับตัวรอด ปรับตัวโลด (1)
นับแต่กลางปี คศ.1997 หรือ พศ.2540 หลังจากที่ประเทศไทยได้ประกาศลอยค่าเงินบาทรายได้ประชาชาติติดลบมากกว่าร้อยละ 10 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เคยสูงได้ลดลงเหลือร้อยละ 1 ต่อปี อัตราเงินเฟ้อ การลงทุนอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก รัฐบาลต้องใช้มาตรการส่งเสริม กระตุ้นการลงทุนทุกด้าน ทั้งจากภาครัฐ ผู้ลงทุนต่างประเทศ และในประเทศ ผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ประหยัดเงินจ่ายค่าภาษีในปีแรกที่ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เช่น ให้คิดค่าเสื่อมราคา การลงทุนในคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เร็วขึ้น เป็นเวลา 3 ปี โดยเฉพาะปีแรกให้หักค่าเสื่อมราคาได้ถึงร้อยละ 60 เป็นค่าใช้จ่ายลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไร เป็นต้น ทำให้ประเทศไทยสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้เร็วกว่าที่คิด
(ผู้จัดการรายวัน 30 มกราคม 2549)