Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article

industry
company
people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ248  
Positioning44  
ผู้จัดการรายวัน435  
ผู้จัดการรายสัปดาห์131  
PR News522  
Total 1249  

Listed Company
Manager Lists
 
Industry > Economics


ผู้จัดการรายสัปดาห์ (71 - 80 of 131 items)
การสำรวจแนวโน้มไตรมาส 2 ปี 2549แรงกดดันการบริหารค่าจ้างในอนาคต *- เปิด 4 มิติของแรงกดดัน การบริหารค่าจ้างในอนาคต *-เงินเดือน โบนัส อัตราลาออก และทักษะความสามารถ 4 เงื่อนปมกดทับทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง ในภาวะเศรษฐกิจตึงตัว *- สรุปผลสำรวจการบริหารงาน HR ไตรมาส 2 ปีนี้ ธุรกิจยาแชมป์เงินเดือนขึ้นสูงสุด ส่วนการเงินมือเติบจ่ายหนักสุด *- "วัทสัน ไวแอท" วิเคราะห์ทักษะความสามารถคนไทยเทียบต่างชาติ วัฒนธรรมเกรงใจกลายเป็นข้ออ้างที่คนไทยหลีกเลี่ยงบริหารจัดการ(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 กรกฎาคม 2549)
สภาพัฒน์ฯปรับยุทธศาสตร์แผน 10 สร้างสมดุลประเทศไทยทุนนิยม-เศรษฐกิจพอเพียง * แผนชาติฉบับที่ 10 ชี้ชัดๆ ว่าประเทศไทยจะต้องเติบโตแบบยั่งยืน * ภายใต้การบริหารที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นกรอบในการพัฒนาประเทศ * นี่คือกลไกที่จะสร้างความสมดุลระหว่างทุนทางเศรษฐกิจหรือโลกของทุนนิยม กับ ทุนทางสังคม...และทุนทรัพยากรธรรมชาติให้เติบโต เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของโลก Gobalization ในยุคนี้ได้ โดยไม่ก่อให้เกิดวิกฤตด้านสังคม * วันนี้หน่วยงานรัฐต่าง ๆ กำลังเร่งผุดโครงการตามกระแสพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการทำงาน(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 กรกฎาคม 2549)
รัฐงัดสูตรเดิมกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ"หนี้เก่าหลอน-เงินออมถูกล็อก"ขวางทางแก้ รัฐใช้สูตรเดิมแก้ปัญหาเศรษฐกิจฝืด หาช่องทางคืนเงินให้ผู้มีเงินได้ผ่านสิทธิหักลดหย่อน หวังนำเงินได้คืนจับจ่าย แต่อุปสรรคเพียบจากนโยบายเดิมหนี้เก่าใช้ไม่หมด แถมเงินออมถูกแบงก์พาณิชย์ล็อกเงินฝาก(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มิถุนายน 2549)
ขุนคลังยอมฝืนกติกาฟื้นศรัทธาธุรกิจงัดมาตรการบูมเศรษฐกิจดึงเงินลงทุน รักษาการ"ขุนคลัง" เล็งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไตรมาส 2-3 เพื่อเรียกศรัทธาคืนจากภาคธุรกิจ ยอมรับแม้จะฝืนกติกา เสียมารยาท ในฐานะรัฐบาลรักษาการ ที่ไม่ควรเสนอโครงการใดใดในช่วงนี้ แต่ก็จำเป็นต้องทำ หลังแนวโน้มการชะลอตัวของภาคอุปทาน หรือการผลิต การลงทุนเริ่มชะลอตัว จากตัวแปรหลักคือราคาน้ำมัน ผสมโรงกับการแข็งค่าเงินบาท และเงินเฟ้อที่ขยับสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญกัดกร่อนความเชื่อมั่นอีกทางหนึ่ง...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 พฤษภาคม 2549)
แบงก์ชาติกุมชะตาแก้พิษน้ำมันขึ้นดอกเบี้ยอีก-เศรษฐกิจอัมพาต วัดใจแบงก์ชาติแก้ปัญหาวิกฤติน้ำมัน หากยึดสูตรสำเร็จ "ขึ้นดอกเบี้ยปราบเงินเฟ้อ" เศรษฐกิจไทยเดี้ยงแน่ หวั่นเป็นแรงหนุนต่างชาติเก็งกำไรค่าบาท ยันไม่พบเงินนอกไหลออกผิดปกติ ด้านคลังพยายามหารือแบงก์ชาติแต่วันนี้อำนาจทางการเมืองอ่อนแอ(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 พฤษภาคม 2549)
"3ตัวการ"ฉุดเศรษฐกิจหดตัวธุรกิจจ่อคิวเจ๊ง-ภาคครัวเรือนชะลอใช้จ่าย สภาหอการค้าคาดปัญหาค่าเงินลากยาวถึงปลายปี พร้อมห่วงปัญหาการเปิดสภาไม่ได้ส่งผลต่อแผนธุรกิจระยะยาวหยุดชะงัก ผู้ประกอบการส่งออกกุ้งครวญแม้ได้ GSP จากยุโรปแต่โตไม่ทันอัตราค่าเงินบาทแข็งตัวด้านนักวิชาการชี้ประชาชนเตรียมชะลอใช้จ่าย(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 พฤษภาคม 2549)
ต้นทุนชีวิตพุ่งไม่หยุด อำนาจซื้อหดเตือนภัยรีดภาษีฝืด-NPLแบงก์เพิ่ม น้ำมัน-ไฟฟ้า-ดอกเบี้ยกู้-น้ำหวาน-ค่ารถเมล์ พร้อมใจขึ้นราคา ทำค่าครองชีพสูงลิ่ว บั่นทอนกำลังซื้อ ทางออกดีที่สุดคือจ่ายเท่าที่จำเป็น สุดท้ายหากสถานการณ์ยืดเยื้อกระทบจัดเก็บภาษีแน่นอน ท้ายสุดความสามารถชำระหนี้ลด NPL หวนคืน(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 เมษายน 2549)
แบงก์ชาติปราบเงินเฟ้อแค่สะเก็ดระเบิดเศรษฐกิจขยายตัวบาดเจ็บฟกช้ำเล็กน้อย การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบไล่หลังติดกันไม่นานของแบงก์ชาติ นอกจากจะกลายเป็นความกังวลต่อภาคธุรกิจว่าจะมีผลเบรกการขยายตัวของเศรษฐกิจหรือไม่ ขณะเดียวกันก็มีการตั้งคำถามว่าการปราบเงินเฟ้อด้วยวิธีปรับขึ้นดอกเบี้ยจะมีจุดสิ้นสุดตรงไหน ล่าสุดผลการศึกษาฝั่งบางขุนพรหมเชื่อสนิทใจว่าภาพรวมเศรษฐกิจยังมีหน้าตาดูดี ไม่มีผลกระทบให้น่ากังวล แม้ความเชื่อมั่นหรือการบริโภคจะหดตัว แต่ภาคส่งออกยังทำหน้าที่ "พระเอก"ประคับประคองเศรษฐกิจต่อไปได้ ผู้บริหาร"แบงก์บัวหลวง"เห็นพ้องการควบคุมเงินเฟ้อคงเกิดอีกไม่กี่ครั้ง และแทบไม่มีผลต่อเศรษฐกิจ เพราะราคาสินค้าแพงขึ้น ไม่ได้มาจากอุปสงค์ในประเทศ แต่เป็นผลมาจากต้นทุนที่ขยับสูงขึ้น...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 เมษายน 2549)
"ดอกเบี้ยนิ่งหรือขยับ"ก็ป่วนเศรษฐกิจคลัง-ธปท.กุมขมับคลำหาทางออกไม่เจอ "คลัง-แบงก์ชาติ" คิดไม่ตก "นโยบายการเงิน"เจอทางตัน เริ่มสับสนจับทางไม่ถูกว่า "ดอกเบี้ยนโยบาย" ควรปรับขึ้นหรือหยุดนิ่ง แม้คลังจะส่งสัญญาณเบรกแบงก์ชาติหยุดขึ้นดอกเบี้ย เพื่อให้การส่งออกไหลลื่น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ขณะที่สัญญาณดังกล่าวกลับสวนกระแสโลก โดยเฉพาะทิศทางดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่งหากแบงก์ชาติหยุดดอกเบี้ยนโยบาย เงินทุนจำนวนมหาศาลไหลก็อาจไหลบ่าออกไปยังประเทศที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ผลก็คือแรงสั่นสะเทือนจะส่งมาถึงฝั่งการลงทุน ที่จะมีผลโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวม...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 เมษายน 2549)
คอเป็นเอ็น"คลังหลวงรั่ว"ไม่วิกฤตรัฐรับมือไหวโกยภาษีกระเป๋าตุงตามเป้า "คลัง" กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ปัญหาเงินคงคลังรั่ว เปิดปากถึงแม้ไม่มีเงินจ่ายข้าราชการ ก็ยังไม่เข้าขั้นวิกฤติ เพราะยังมีรายได้ในกระเป๋าจากการจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย จึงไม่น่าห่วง เปรยสัญญาณวิกฤติ "คลังหลวง" ดูได้ กระเป๋าฉีก รายได้จากเก็บภาษีไม่เข้าเป้า ประชาชนจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น เพราะรัฐจะมีการปรับอัตราภาษีให้สูง เพื่อให้เพียงพอต่อรายจ่าย แต่ตอนนี้สัญญาณยังเงียบ....(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 เมษายน 2549)

Page: 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 ..





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us