ขึงตาข่ายรองรับกระแสโลกาภิวัตน์กระแทกเศรษฐกิจพอเพียงถอดรหัสปัญหาความอ่อนแอ
วิกฤติเศรษฐกิจในอดีตที่ผ่านมา กับปัญหาสังคมที่สั่งสมมากขึ้นทุกวัน เกิดจากระบบความคิดที่มุ่งแต่หาผลประโยชน์สูงสุดเป็นที่ตั้งปราศจากซึ่งการคำนึกถึงความพอดี พอเพียง ในสิ่งที่มี นโยบายการพัฒนาประเทศในวันนี้มุ่งแต่จะสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับวัตถุเพื่ออวดตัวในสังคมโลกว่าพัฒนาการทางวัตถุไทยมิได้ด้อยหรือน้อยหน้าไปกว่าประเทศใดในเอเชีย หากแต่ลืมคำนึงถึงแนวคิดที่นำไปสู่ความแข็งแกร่งของประเทศอย่างแท้จริงและยั่งยืนด้วยการนำ"เศรษฐกิจพอเพียง"มาปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์กระแสโลกาภิวัตน์ ที่ต้องสร้างกำแพงแข็งแกร่งรับแรงกระแทก ขึงตาข่ายรับความเสี่ยงยามพลาดตกจากที่สูงโดยไม่เจ็บตัว ที่สำคัญ" เศรษฐกิจพอเพียง"คือการปิดจุดอ่อนที่คู่แข่งมองเห็นและหาโอกาสเหมาะสมเพื่อโจมตี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 กันยายน 2549)
ธุรกิจส่อเค้าเจ๊งระนาว!แบงก์ไม่ปล่อยกู้-เครื่องใช้ไฟฟ้า-sme กระอัก
ภาวะเศรษฐกิจประเทศส่อเค้าขาลง นักธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุ แบงก์ส่งสัญญาณไม่ปล่อยเงินกู้ และเรียกหลักประกันเพิ่มขึ้น ด้านสภาอุตฯ แนะภาคเอกชนดิ้นรนช่วยตัวเองไปก่อน ชี้ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ธุรกิจ sme อยู่ลำบาก ส่วนธุรกิจรถยนต์-อสังหาฯยอดขายลดฮวบฮาบ ด้านธุรกิจปั้นน้ำมันปิดตายจำนวนมาก "ปิโตรนัส-คาลเท็กซ์" ไล่ซื้อปั้มที่มีโอกาสรอดมาปัดฝุ่นใหม่ ขณะที่นักศึกษาจบใหม่ตกงานแน่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 สิงหาคม 2549)
แหกโค้ง! กลยุทธ์ ตั้งรับเศรษฐกิจถดถอย
เปิดปราการความคิดเชิงกลยุทธ์ รับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่อเค้าไม่แน่นอนจากหลายปัจจัย แนวโน้มจะค่อยๆ ลุกลามอย่างต่อเนื่องลากยาวไปจนถึงสิ้นปี ในบทของผู้นำควรปรับวิธีคิดอย่างไร? ให้สามารถรับมือกับภาวะถดถอยที่ถาโถมเข้ามาเป็นระลอกๆ
สิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นมาโดยตลอดว่าเป็นกลยุทธ์ โดยเนื้อแท้แล้วยังใช่กลยุทธ์อยู่จริงหรือ? จะบริหารกลยุทธ์รุกและรับกันอย่างทันการณ์ได้ไหม? เวลาเจอเศรษฐกิจเคราะห์ซ้ำกรรมซัด? หลากมุมมองของนักบริหารจัดการจากหลายธุรกิจ บางไอเดียอาจจะเป็นโซลูชั่นส์ที่โดนใจใครหลายๆ คน...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 สิงหาคม 2549)
เตือนภัย 5 ปีไทยแพ้จีนทุกประตูสำนักศก.อุตฯแนะผู้ประกอบการปรับตัว
สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมส่งสัญญาณเตือนภัยรัฐ-ผู้ประกอบการไทย ปรับตัวก่อนแพ้จีนทุกประตูใน 5 ปี เพราะจีนเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน เสริมจุดเด่น "ราคาถูก -ไฮเทคโนโลยี" หวังตีตลาดโลก ชี้ 5 อุตฯ ใหญ่ กระทบหนัก โดยเฉพาะเหล็กเส้นที่เตรียมทะลักล็อตใหญ่สู่ไทย พร้อมจี้ก.พาณิชย์ปราบนักธุรกิจจีนตั้งบริษัทในไทยส่งออกสินค้าไปจีนเอง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 สิงหาคม 2549)
กำแพง“การเมือง”ทะลายแต่เหลือซากให้กังวลฉุดเศรษฐกิจต่อเนื่องนักลงทุนเชื่อมั่นไม่เต็มร้อย
ตั้งแต่เกิดปัญหาการเมืองขึ้นมา เศรษฐกิจในประเทศเป็นอันต้องหยุดชะงักและชะลอตัวลงทันที เพราะนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศวิตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยปัญหาดังกล่าวไม่มีความแน่ชัดว่าจะเดินไปในทิศใด หากแต่วันนี้ปัญหาการเมืองได้คลี่คลายลง ความแน่ชัดเกิดขึ้น แต่เป็นเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้ว การเมืองยังมีปัญหาคาราคาซัง ละยังคงไว้ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อเศรษฐกิจเช่นเดิม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 สิงหาคม 2549)
ไฟ "การเมือง" เรื้อรังเติมเชื้อความกังวล ฉุดเศรษฐกิจเหือดแห้ง นักลงทุนเชื่อมั่นไม่เต็มร้อย
ตั้งแต่เกิดปัญหาการเมืองขึ้นมา เศรษฐกิจในประเทศเป็นอันต้องหยุดชะงักและชะลอตัวลงทันที เพราะนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศวิตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยปัญหาดังกล่าวไม่มีความแน่ชัดว่าจะเดินไปในทิศใด หากแต่วันนี้ปัญหาการเมืองได้คลี่คลายลง ความแน่ชัดเกิดขึ้น แต่เป็นเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้ว การเมืองยังมีปัญหาคาราคาซัง ละยังคงไว้ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อเศรษฐกิจเช่นเดิม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 สิงหาคม 2549)
"การเมือง"ตัวแปรกำหนดชะตากรรม เศรษฐกิจครึ่งหลังฝากไว้กับรัฐบาลใหม่
"บล.ภัทร"คาด GDP อีก 18 เดือนหน้าโตได้ไม่เกิน 4% เหตุรัฐบาลชุดใหม่ตั้งขึ้นมาเพื่อปฏิรูปการเมืองมากกว่ากระตุ้นเศรษฐกิจ มองเป้าดัชนีฯ สิ้นปีมีโอกาสแตะ 790 จุดหลังเสร็จศึกเลือกตั้งโดยไม่มีความขัดแย้ง มองแน้วโน้มมีโอกาสได้ใช้น้ำมันถูก ส่วนเงินบาทก็แข็งค่า ด้านดอกเบี้ยถึงจุดสูงสุดแล้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 สิงหาคม 2549)
"ยุ่น-ลอดช่อง"ดัชนีเชื่อมั่นทะยานลิ่ว"ไทย-กิมจิ"มุมมองเศรษฐกิจ"ดิ่งเหว"
"มาสเตอร์อินเด็กซ์" ในกลุ่ม "มาสเตอร์การ์ดเวิล์ดไวด์" สุ่มความเห็นผู้บริโภคแถบเอเชียแปซิฟิค 13 ประเทศ พบทัศนคติ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจมีทั้งบวกและลบ "ญี่ปุ่น-สิงคโปร์" รวมถึงเกาะฮ่องกง ดัชนีไต่ระดับอย่างน่าเหลือเชื่อ ขณะที่ "ไทย-เกาหลี" รวมถึงเกาะไต้หวัน ผู้คนกลับมองสวนทาง ทัศนคติต่อภาพรวมเศรษฐกิจเกือบจะเรียกว่า "ดิ่งนรก" แต่ก็ยังไม่ข้ามเขตแดน "วิกฤต"...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 กรกฎาคม 2549)
หนี้ภาคครัวเรือนยังห่างจุดวิกฤติ ผลศึกษาเป็นการลงทุนในทรัพย์สิน
หนี้ภาคครัวเรือนอุณหภูมิไม่ร้อนระอุ เพราะยังไม่พร้อมปะทุเหมือนภูเขาไฟระเบิด เพราะผลการศึกษาจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มองว่าหนี้ที่ก่อนั้นเป็นลักษณะการลงทุนในระยะยาว อย่างที่อยู่อาศัยและสินค้าคงทน แต่กระนั้นไม่อาจประมาทได้เพราะในประเทศที่มีระบบการเงินอยู่ความเสี่ยงของหนี้เสียเกิดได้ขึ้นทุกเวลา เพื่อหาคำตอบที่แจ่มชัด ทาง ธปท. และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)จะต้องศึกษาต่อไปในรายละเอียดระดับจุลภาค
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กรกฎาคม 2549)