เอเยนซี่นอกชูธงเศรษฐกิจไทยปึ๊ก ทิ้งฐานสิงคโปร์ยกมาลงกรุงเทพฯ
"ปีนี้ หรือปีหน้า เศรษฐกิจของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร" คำถามยอดฮิตในแวดวงการตลาด ที่ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่่ก็ยังมึนงง ไม่กล้าฟันธงว่า หลังการเลือกตั้งในปลายเดือนธันวาคมนี้แล้ว เศรษฐกิจของประเทศจะเดินไปทางไหน ธุรกิจของตนจะรุกหรือต้องถอยยังตัดสินใจไม่ได้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 ตุลาคม 2550)
ป่วน...อีกแล้ว! จัดระเบียบรัฐ ถล่มเศรษฐกิจรอบใหม่
- รัฐหวังโชว์นโยบายประชานิยม มุ่งสังคมหวังเสียงเชียร์ แต่ท้ายสุดกลับสร้างปัญหาบานเบ้อเริ่มเทิ่ม
- ชาวบ้านสุดเซ็งหวังรัฐบาลให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ กลับมาแก้เรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ยิ่งทำยิ่งยุ่งเหมือนลิงแก้แห
- ผู้ประกอบการในวงการขนม เหล้า โฆษณา โดนกระแทกกันจนอ่วม จับตารายเล็กเจ๊งระนาว
- เชื่อสินค้าเถื่อน คุณภาพห่วยจากต่างแดนทะลักเข้ามอมเมาหนักขึ้นกว่าเดิม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 สิงหาคม 2550)
บาทแข็งลามกระทบทุกวงการรากหญ้าตายสนิทนายทุนดิ้นพล่าน!
มาตรการแก้ปัญหาค่าบาทไร้ประสิทธิภาพ บาทเดินหน้าแข็งต่อเนื่อง กระทบไม่เฉพาะภาคส่งออก แต่ลามไปถึงรากหญ้าที่ผลิตวัตถุป้อน อาจถึงขึ้นเปลี่ยนอาชีพ พร้อมเตือนหาทางรับมือบาทอ่อนเร็วหากเงินร้อนต่างชาติย้ายตลาดหนีเมืองไทย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 กรกฎาคม 2550)
จับสัญญาณเศรษฐกิจครึ่งหลังฟิตทุนนอกปัจจัยถ่วงดุลความเชื่อมั่น
สัญญาณความน่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีเริ่มมีให้เห็น เมื่อนักธุรกิจไทยเทศ ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจะขยายตัวดีกว่าครึ่งปีแรก เหมือนเห็นแสงรำไรทอดทอผ่านเมฆดำที่เคยบดบังท้องฟ้าจนมืดมัว กระนั้นก็ยังมีปัจจัยด้านความเชื่อมั่นถ่วงโดยเฉพาะสายตานักลงทุนนอก ขณะที่"เอ็มดี" "K-Bank"มองมุมบวกดอกเบี้ยขาลงหนุนบริโภคขยายตัว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 กรกฎาคม 2550)
“ก่อสร้าง-อสังหาฯ”ปิดกิจการอื้อสภาอุตฯเชื่อศก.ทรุดยาว!
ข้อมูลจดทะเบียนใหม่ ก.พาณิชย์ ชี้ชัดเศรษฐกิจไทยซึมยาว เหตุนักธุรกิจไม่มั่นใจสถานการณ์การเมืองชะลอลงทุนต่อเนื่อง ขณะที่ยอดเลิกกิจการมากที่สุด “ก่อสร้าง-อสังหาฯ” ยังครองแชมป์ ด้านนักวิชาการ-ส.อ.ท.เชื่อเศรษฐกิจทรุดยาวถึงปลายไตรมาส 3 ก่อนจะฟื้นไข้ในไตรมาส 4 หากการเมืองเริ่มคลี่คลาย!
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 มิถุนายน 2550)
น้ำมันแพงฉุดเศรษฐกิจฟื้นจำกัดรอรัฐบาลหน้า-ประชาชนระทม
ราคาน้ำมันพุ่งต่อเนื่อง คาดเบนซิน 30.39 บาทเอาไม่อยู่ นักเศรษฐศาสตร์ประเมินฟื้นเศรษฐกิจต้องยืดออกไปอีก เพิ่มหักลดหย่อนดอกเบี้ยผ่อนบ้านเป็น 1 แสน กระตุ้นไม่ได้ หวั่นใจแบงก์ชาติหากเงินเฟ้อเพิ่มดอกเบี้ยขาลงมีจำกัด แนะประชาชนทำใจรับสภาพเหลืออีก 4 เดือนรอรัฐบาลใหม่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 พฤษภาคม 2550)
เศรษฐกิจอืด-พิษการเมืองรุมฉุดหุ้นวัสดุก่อสร้างหมดเสน่ห์
ไตรมาสแรกธุรกิจวัสดุก่อสร้างฝืดจับ สะท้อนสัญญาณเศรษฐกิจชลอตัวชัดเจน เมกกะโปรเจคยังล่าช้า หลายบริษัทอัตราการขยายตัวกำไรลดลง ส่วนไตรมาส2และ3 ยังไม่พ้นเคราะห์เจอหน้าฝนทำ Low Season คาดยังไม่เห็นแววหุ้นกลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้างเฉิดฉายจนกว่าทิศทางทางการเมืองจะมีความชัดเจน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 พฤษภาคม 2550)
ผู้ออกบัตรเสนอรัฐใช้บัตรเครดิตกระตุ้นเศรษฐกิจ "สังศิต" เน้นแก้กฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรค
ผู้ประกอบการบัตรเครดิตแนะรัฐใช้กลไกบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลให้เป็นประโยชน์ เชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เผยกฎเกณฑ์แบงก์ชาติคุมเข้ม เมื่อการเมืองไม่นิ่ง ไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทุกอย่างยิ่งทรุด คนยิ่งไม่กล้าจับจ่าย ประธานคณะกรรมาธิการการคลังพร้อมรับฟังข้อเสนอ เห็นด้วยเรื่องเน้นเสถียรภาพสถาบันการเงิน แต่เศรษฐกิจต้องเดินได้ด้วย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 เมษายน 2550)
คู่มือฝ่าวิกฤตศก.ไทย แนะทางรอดยุคตกต่ำ!
คนไทยอ่วมเศรษฐกิจยุคขิงแก่ ปัญหาการเมืองไม่นิ่ง กลุ่มอำนาจเดิมขย่มหนักขึ้น ความเชื่อมั่นของคนถดถอย ไร้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แถมแบงก์ชาติ-คลังงัดข้อ นักการเงินแนะประชาชนต้องพึ่งตัวเอง อะไรที่ไม่จำเป็นอย่างเพิ่งซื้อ ส่วนคนที่เป็นหนี้อยู่แล้วหาช่องทางลดภาระ หากไม่ไหวจริง ๆ ต้องตัดใจ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)
คู่มือฝ่าวิกฤตศก.ไทย แนะทางรอดยุคตกต่ำ!
-เศรษฐกิจไทย"ยุคขิงแก่"ถึงทางตัน
-แบงก์ชาติ-คลัง เห็นขัดแย้ง
-ภาคประชาชนก้มหน้ารับกรรม
-ใครคิดซื้อบ้านใหม่-รถยนต์ใหม่ รอของถูก
-ส่วนใครที่เป็นหนี้ต้องหาทางรับมือ-รีไฟแนนซ์.ด่วน..
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)