หุ้นทรุดค่าเงินดิ่ง-เฟ้อ 25% เป็นหรือตาย?ไอเอ็มเอฟชงยาขมรับ"วิกฤตแหนมเนือง"
เศรษฐกิจเวียดนามที่เคยเป็นดาวรุ่งแห่งเอเชียกำลังเจอมรสุมรอบด้าน นักวิเคราะห์กล่าวว่าหากจัดการไม่ดีพอก็อาจจะพัฒนากลายเป็นวิกฤตตัวใหม่และอาจจะแพร่ลามออกไปอย่างกว้างขวาง คล้ายๆ กับ ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 11 ปีก่อน จนเป็นที่รู้นักกันดีทั่วโลกในนามของ "โรคต้มยำกุ้ง"
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 มิถุนายน 2551)
TDRIชี้สัญญาณร้ายซ้ำรอยวิกฤตปี’40 ‘ของแพง-เงินเฟ้อ-ตกงาน’ ศก.ไทยล่ม!
TDRI วิเคราะห์ศก.ของไทย “เงินเฟ้อ-ของแพง” โจทย์แรกของรัฐบาลต้องแก้ไข ชี้เพิ่มเงินขรก.ชั้นผู้น้อยยังไม่พอ “ซี6 - ขรก.บำนาญ” อ่วมภาครัฐต้องรีบอุ้ม ขณะที่เสถียรภาพทาง “การเมือง-น้ำมัน” กระทบการลงทุนต่อเนื่อง เตือนสัญญาณอันตราย “คนตกงาน-ของแพง-เงินเฟ้อ” เกิดขึ้นพร้อมๆกันได้เวลานับถอยหลังซ้ำรอยวิกฤตปี’40 อีกครั้ง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 พฤษภาคม 2551)
พิษค่าแรง-ค่าครองชีพเพิ่ม ส่อเค้าเงินเดือนลด-โบนัสเพิ่ม
ค่ายวัทสัน ไวแอท บริษัทที่ปรึกษาชื่อดัง เผยผลสำรวจ “เงินเดือน-โบนัส” ปลายปี 2551 นี้ ของบริษัทเอกชนกว่า 200 แห่ง วิเคราะห์ การปรับค่าแรงขั้นต่ำและค่าครองชีพ ส่งผลกระทบต่อการปรับเงินเดือนลด 0.3% ขณะที่เงินโบนัส คาดการณ์ เพิ่ม 0.16 เดือน กูรูแรงงาน -นักเศรษฐศาสตร์ แนะเพิ่มสวัสดิการ-มุ่งปรับระบบจัดการภายใน ย้ำภาค เกษตร-บริการ กระทบต้นทุนหนัก ด้าน PMAT ระบุแก้ปัญหาระยะสั้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 พฤษภาคม 2551)
น้ำมันพุ่งศก.ไทยกระอักเลือด.! “ของแพง-โรงงานเจ๊ง”-ประชาชนรับกรรม
ส.อ.ท.ระบุน้ำมันพุ่งภาคการผลิตกระอักเลือด ทั้ง“ต้นทุน-ขนส่ง-ค่าครองชีพ”ที่สูงขึ้นกว่าเท่าตัว ชี้ผู้ประกอบการเริ่มถอดใจ “ปิดกิจการ-ลอยแพ”คนงานบ้างแล้ว ขณะที่ “โลจิสติกส์” ซึมยาวเพิ่มค่าขนส่งสูงปรี๊ด! ขณะที่ “เรือโดยสาร-ขสมก.-รถร่วม” จ่อขึ้นค่าโดยสารอีก ยืนยันแบกรับภาระขาดทุนไม่ไหวแล้ว ด้าน “ประชาชน” รับกรรมของแพง-ค่าโดยสารเพิ่ม รอสินค้า “ธงฟ้า” จากภาครัฐเท่านั่น.!
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 พฤษภาคม 2551)
ทุนโลกอัดกระแทกย้ำรอยช้ำเศรษฐกิจบทพิสูจน์ "ธปท."ตีโจทย์แก้ไขปัญหา
ทุนโลกที่ไหลอย่างเข้ามาบ้าคลั่งยังเอเชีย เสมือนการเข้าโจมตีจากกองกำลังพลที่มีทหารจำนวนมหาศาลเพื่อบดขยี้ประเทศในภูมิภาคแห่งนี้ให้ย่อยยับ ถือเป็นความเจ็บปวดที่ได้รับกันถ้วนหน้าสำหรับประเทศที่อยู่ในเป้าหมาย ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ว่านี้ และปีนี้ปัญหาดังกล่าวก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป แม้สภาพเศรษฐกิจจะไม่ได้เอื้อให้ทุนวิ่งเข้าก็ตามที ภาวะเช่นนี้องค์กรสำคัญอย่าง"แบงก์ชาติ"ต้องเล่นบทหน่วยรบแถวหน้าสร้างกองกำลังรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยกลยุทธ์ที่เฉียบคม เพื่อพยุงร่างกายที่บอบช้ำของประเทศจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยให้ขับเคลื่อนต่อไป
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 กุมภาพันธ์ 2551)
ชำแหละวิกฤตชาติปี 51! ระเบิดลูกใหญ่ที่รัฐบาลใหม่ต้องจัดการ
ชำแหละปมปัญหาใหญ่ที่รุมเร้าประเทศชาติ และกำลังจะกลายเป็นระเบิดเวลาที่ท้าทายอำนาจรัฐบาลชุดใหม่ ทีดีอาร์ไอ ระบุ 8 ประเด็นเศรษฐกิจที่ต้องเร่งจัดการ เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นจีดีพีโต 7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่นักวิชาการ มธ. ชี้ชัดการเมืองต้องรีบ ปลดล็อค "คำสั่ง-กฎหมาย"ชุดสนช. และอย่าหักหาญนิรโทษกรรม 111 คน ด้านจุฬา จี้สางปัญหาสังคมจริงจัง ถูกละเลยมาทุกยุค ยุฟื้น"ครม.สังคม"
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 ธันวาคม 2550)
เอกชนหวั่นโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ร้อง‘ยี้’! จี้กู้ซากใน6เดือนก่อนเศรษฐกิจดิ่งเหว
ภาคเอกชนหวั่นพรรคการเมืองแข่ง “ประชานิยม” ทำชาติพัง พร้อมเคาะโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ต้องไม่ผสม “มั่วซั่ว” ประกาศชื่อออกมาต้องไม่ “ยี้”ทั้งนายกฯ-รมต.ไม่งั้นศก.ดิ่งเหวแน่ ขู่ต้องสร้างผลงานภายใน 6 เดือน ทั้งเร่งฟื้น “เชื่อมั่น-ลงทุน”ด่วนที่สุด จี้เดินหน้า “เมกกะโปรเจกต์-เบิกจ่ายงบฯ”ขับเคลื่อนศก.ภายในประเทศก่อน ขณะที่ “ภาคส่งออก” ตั้งการ์ดสูงระวังค่าเงินบาท-น้ำมัน-ซับไพร์มกดส่งออกต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 ธันวาคม 2550)
แนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังแรงต่อเนื่อง
วงจรขาขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์ยังไม่จบ ทองแดง น้ำมัน ถ่านหิน ค่าระวางเรือ ยังจะแพงหูฉี่ เหตุความต้องการจากจีน – วิกฤติซับไพร์ม - เฮดจ์ฟันด์เก็งกำไร ดันราคาสูงต่อเนื่อง ทำดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยลอยลำเนื่องจากมีหุ้นกลุ่มน้ำมัน-ถ่านหิน-เดินเรือ เป็นแกนหลัก ทำให้เห็น 1,000 จุดในปีหน้าได้ไม่ยาก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 พฤศจิกายน 2550)
ยุทธศาสตร์แห่งอนาคตสู้ศึกใน-นอก ยุคผู้ประกอบการไทยโดดเดี่ยว ชนิดไม่ต้องง้อรัฐบาลใหม่
- เจ๊งแน่ๆ หากผู้ประกอบการไทยหวังรัฐบาลใหม่จะช่วยกู้วิกฤตเศรษฐกิจที่รายล้อมรอบด้าน
- ช่วยตนเองก่อน ด้วยยุทธศาสตร์รุก-รับ ฉบับใหม่กิ๊ก เพื่อองค์กรทั้งใหญ่-กลาง-เล็ก ใช้เพิ่มศักยภาพต่อกรนานาชาติ
- ต่อยอดความคิดทำอย่างไรไม่ต้องทำงานอาบทั้งเหงื่อและน้ำตา แต่สู้อย่างสบายตัว สบายใจด้วยสมองและโอกาส
- เปิด 3 กุญแจแห่งความสำเร็จของการทำธุรกิจในอนาคต
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 พฤศจิกายน 2550)