Big Challenge ธุรกิจปีหมูทองท้าทายนักการตลาดฝ่าสู่ความสำเร็จ
ผ่านพ้นปีแห่งความเหนื่อยล้าของเหล่าธุรกิจ ที่ต้องเดินผ่านเส้นทางแห่งความยากลำบากมาตลอด365 วัน ทั้งปัญหาการเมืองที่อึมครึมข้ามปี จนถึงกับหยุดชะงักจากการรัฐประหาร กระทบต่อความมั่นคงของเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ความผันผวนของเศรษฐกิจ เงินบาทแข็งค่า ราคาน้ำมันพุ่งสูง แม้ทุกคนนำพาธุรกิจฝ่าอุปสรรคมาจนผ่านพ้นปีได้ แต่เวลาหยุดพักคงไม่มีมากนัก Big Challenge ความท้าทายของธุรกิจในปีหมูทอง ยังรออยู่ข้างหน้า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 ธันวาคม 2549)
โค้งสุดท้ายปีจอ ธุรกิจกลับมาคึกคัก อสังหาฯ - อุปโภคบริโภค อัดงบโฆษณา ฝ่าเศรษฐกิจ
โค้งสุดท้ายการตลาดปีจอ สินค้าเลิกซึม เริ่มขยับตัวกลับมาอัดงบส่งเสริมการตลาดกันคึกคัก เอเยนซี่ชี้ บ้าน-รถยนต์ เตรียมควักงบโฆษณาส่งท้าย ส่งยอดโฆษณาโต 5% ตามเป้า ค่ายอสังหาฯ พยักหน้ารับ เป็นโอกาสเหมาะชิงแชร์ พร้อมสร้างแบรนด์ให้แกร่ง "ตัน" ชี้ทุ่มงบเวลานี้ ดันโออิชิเข้าถึงลูกค้าได้ดีกว่าช่วงเศรษฐกิจดี ด้านสินค้าอุปโภค-บริโภค เผยยิ่งเศรษฐกิจแย่ ยิ่งต้องทุ่มงบโฆษณาชิงส่วนแบ่งตลาด
(ผู้จัดการรายวัน 17 กันยายน 2549)
‘ฟาร์มโชคชัย - โออิชิ’ ไขหลักคิดสร้างคนผูกพันองค์กร
- เปิด 2 โมเดลธุรกิจกับแนวคิดผู้นำแถวหน้า สร้างความผูกพันพนักงาน ความแตกต่างบนความเหมือน
-"ฟาร์มโชคชัย" ปลูกความคิดเน้นคุณค่างาน รักอาชีพ สร้างอุดมการณ์นิยม
- ขณะที่ "โออิชิ" คนชาเขียวสร้างด้วยการให้โอกาส ให้อภัย ให้ความช่วยเหลือ
-นักวิชาการชี้ ความรักองค์กรเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก เชื่อมั่น ยอมรับเป้าหมายร่วมกัน และปรารถนาจะอยู่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 กันยายน 2549)
Alliance Media สินค้าจับมือสื่อ เสริมแบรนด์แกร่ง
*แกนนำการตลาดนอกกรอบผุด กลยุทธ Alliance Media
*โออิชิ เคทีซี ดีแทค นำทัพ จับสื่อเป็นพันธมิตรสร้างแบรนด์
*นักการตลาด เตือนมีเดีย เอเจนซี่ เร่งเสริมไอเดีย พัฒนาบริการ กันลูกค้าข้ามหัวคุยตรงมีเดีย
*ด้านมีเดียเอเจนซี่ ขอยกระดับเป็นพาร์ทเนอร์กับลูกค้า ใช้ฐานข้อมูลสื่อมัดใจ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 สิงหาคม 2549)
โออิชิ ฟันธง ชาขียวผลัดใบ Back to the Basic กลับสู่ยุคคุณค่าประโยชน์
จับชีพจรความเคลื่อนไหวในตลาดชาเขียว พร้อมดื่ม หลังมีผู้ท้าชิงแบรนด์ใหม่ ที่เพิ่งเข้ามาทำตลาดคือชาเขียว นะมาชะ จากประเทศญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีการแข่งขันกันระหว่าง 3 -4 แบรนด์หลักคือยูนิฟ ค่ายชาเขียว ซึ่งเป็นผู้ผลิตจากประเทศไต้หวัน และที่เป็นแบรนด์ไทยแท้คือ โออิชิ โมชิ เซนย่า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มิถุนายน 2549)
"เจริญ" ผ่าทางตัน ปรับยุทธศาสตร์รับสารพัดมรสุม
“ราชันย์น้ำเมา” โดนสารพัดมรสุมกระหน่ำ จนต้องปรับกระบวนรบครั้งใหญ่ ปรับกรอบแนวคิดด้วยการดึงผู้บริหารภายนอกจากทุกวงการ ขยายรูปแบบธุรกิจ ปรับกรอบความคิด ให้ทันการรูปแบบการแข่งขันใหม่ ล่าสุด เทกฯโออิชิ จับ “ตัน” ลุยธุรกิจเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ควบคู่กับการปรับแนวรบธุรกิจอสังหาฯ จับตาการจัดทัพใหม่ครั้งนี้ จะพาอาณาจักร “เจริญ” เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มกราคม 2549)
ตัน ไม่ทิ้งโออิชิ
15 ธ.ค. 48 เวลา 10.00 น. ตัน โออิชิ ได้แถลงข่าวสำคัญยิ่ง ทั้งต่อตัวเขาเอง ต่อบริษัทโออิชิ และต่อวงการธุรกิจไทย
นั่นคือการซื้อขายหุ้นเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่ ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้ขึ้นป้าย SP กับหุ้น OISHI เนื่องจาก ... บริษัทฯกำลังจะมีสารสนเทศบางประการที่สำคัญจะแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอันจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อราคาซื้อขายหุ้น และต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มกราคม 2549)
การตลาดช่วยชาติ กระแสร้อนที่หลายค่ายไม่ยอมพลาด
*บางจากจับมือฟอร์ด จัดแคมเปญซื้อรถคันละบาท ช่วยชาติด้วยแก๊สโซฮอล์
*ไอ.ซี.ซี. หยิบ ARROW WRINKLE FREE มาสะบัดฝุ่น คราวนี้ภายใต้แคมเปญ เชิ้ตช่วยชาติ...ประหยัดไฟ
*ดี-ไทย น้ำลำไยขวดละ 18 บาท แนวคิดช่วยชาวสวน และช่วยชาติ ของ ตัน โออิชิ
*และอีกหลากหลายแคมเปญ “ช่วยชาติ” ที่แพร่ระบาดไปทั่วทุกอณูของสินค้า-บริการ และขอเข้ามามีส่วนร่วมกับกระแสนี้ด้วยคน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 สิงหาคม 2548)
รายงาน : กลยุทธ์แก้วิกฤตโออิชิ ภาค 2 ตอน...เชื้อราที่ก้นขวด
ปัญหามีสิ่งผิดปกติแปลกปลอมเจือปนในชาเขียวโออิชิ ที่เกิดเป็นข่าวใหญ่และได้เกิดเรื่องร้องเรียนมาแล้ว 2 ครั้ง รายแรกในเดือนกุมภาพันธ์เป็นชายที่ดื่มชาเขียว รสน้ำผึ้งผสมมะนาว เกิดอาการแสบปากและลำคอ เพราะมีกลดเกลือเจือปน ทำให้ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ส่วนวิกฤติการณ์ครั้งที่2 เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อลูกค้าผู้หญิงที่ซื้อชาเขียวโออิชิ รสต้นตำรับ จากร้านค้าใกล้บ้านมาดื่มแล้วมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และพบว่าที่ฝาขวดด้านในมีตะกอนสีดำคล้ายเชื้อรา และมีตะกอนปนอยู่ในน้ำชาด้วย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 สิงหาคม 2548)