ช่อง 7 สี จะเกิดอะไร? วันที่ไร้คุณนายแดง
ลือหึ่งอีกแล้ว ปลด “เจ้าแม่วิกหมอชิต” หลังครองบัลลังก์นานเกือบ 3 ทศวรรษ เหตุใด...ทำไม...จริงหรือไม่ที่ “ชาลอต” เข้ามานั่งแทน คนวงการเชื่อความถดถอยของช่อง ไม่ทำการตลาด อาจพาสู่ยุดมืด จับตาการแข่งขันอันร้อนแรงของสื่อใหม่ จะเป็นตัวแปรให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการทีวี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 มีนาคม 2551)
ชงเก็บเพิ่ม สัมปทานฟรีทีวี 3 - 7 แปลงโฉมช่อง 11 เป็นทีวีสาธารณะ
ในขณะที่ข่าวสารบ้านเมืองกำลังให้ความสนใจอยู่กับจุดจบยกแรกของสื่อเสรี ไอทีวี ที่มีจุดกำเนิดภายหลังจากเหตุการณ์ความขัดแย้งในบ้านเมือง พฤษภาทมิฬ 2535 โดยคณะรัฐมนตรีเฉพาะกาลของนายอานันท์ ปัณยารชุน การก่อรัฐประหาร กันยายน 2549 ก็กำลังนำมาซึ่งการกำเนิดของสื่อเสรีอีกสถานี ที่รัฐบาลขิงแก่ของ พล อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นผู้ขับเคลื่อน ภายใต้ชื่อ ทีวีสาธารณะ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
สถานีโทรทัศน์ไทย แก้เกมสู้ศึก 7 สี วิ่งหาเด็ก ไอทีวี พร้อมเป็นสถานีข่าว
หลังจากเอเจนซี่โฆษณาและคนวงการสื่อสารการตลาดบ่นอุบว่ายอดตัวเลขโฆษณาผ่านอะโบฝเดอะไลน์ดิ่งเหว โดยเฉพาะเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์หดตัว เพราะลูกค้าระวังการใช้เงินสูงมาก ทำให้สถานีโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายเตรียมพลิกตำราแก้สถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว และภาวะทางการเมืองที่ไม่แน่นอน ทั้งผุดรายการใหม่เมื่อขยายกลุ่มคนดูให้มากขึ้น หรือร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ในแถบอินโดจีนเพื่อชิงความเป็นหนึ่งและตอกย้ำความเป็นสถานีข่าวให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 กรกฎาคม 2549)