Self Management วันที่ “ตัน” ยังมี “โออิชิ”
จริงแล้ว “ตัน” วางแผนมาตั้งแต่วันแรกที่ขายหุ้นแล้วว่าจะต้องหาคนมาแทนที่ในตำแหน่งที่เขานั่งอยู่ เพราะเมื่อบริษัทขายไปแล้วก็เท่ากับความเป็นเจ้าของต้องหายไปด้วย แต่เหตุที่ยังไม่มีใครมารับไม้ต่อ ไม่ใช่เพราะผู้บริหารของกลุ่มเจริญ (สิริวัฒนภักดี) ที่มีอยู่ไม่มีความสามารถเทียบเท่า หรือไม่มีใครมีศักยภาพเหนือกว่าทางด้านการบริหาร และการตลาด แต่ด้วยสัญญาใจที่มีต่อกันต่างหาก ทำให้ยังต้องบริหารมาถึงทุกวันนี้
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 สิงหาคม 2553)
ฤา "ตัน"ขาลง
เส้นทาง "ตัน" เจ้าพ่อชาเขียวพร้อมดื่ม หลังเป็นเพียงมือปืนรับจ้างในอาณาจักร "โออิชิ" ท่ามกลางสถานการณ์ตลาดเครื่องดื่มขาลง การต่อยอดแบรนด์ที่แข็งแกร่ง จากธุรกิจชาเขียวที่เป็นผู้คุมเกม ไปสู่สมรภูมิใหม่ในเซกเมนต์ชาดำ ที่พลิกชะตาเปลี่ยนบทบาทจากผู้นำตลาดเป็นผู้ตาม ติดตามภารกิจสร้างทางรอด! เบนเขมโฟกัสเพิ่มสัดส่วนกลุ่มอาหาร ผลักดันขึ้นเป็นธุรกิจสร้างรายได้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 สิงหาคม 2550)
Big Challenge ธุรกิจปีหมูทองท้าทายนักการตลาดฝ่าสู่ความสำเร็จ
ผ่านพ้นปีแห่งความเหนื่อยล้าของเหล่าธุรกิจ ที่ต้องเดินผ่านเส้นทางแห่งความยากลำบากมาตลอด365 วัน ทั้งปัญหาการเมืองที่อึมครึมข้ามปี จนถึงกับหยุดชะงักจากการรัฐประหาร กระทบต่อความมั่นคงของเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ความผันผวนของเศรษฐกิจ เงินบาทแข็งค่า ราคาน้ำมันพุ่งสูง แม้ทุกคนนำพาธุรกิจฝ่าอุปสรรคมาจนผ่านพ้นปีได้ แต่เวลาหยุดพักคงไม่มีมากนัก Big Challenge ความท้าทายของธุรกิจในปีหมูทอง ยังรออยู่ข้างหน้า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 ธันวาคม 2549)
‘ฟาร์มโชคชัย - โออิชิ’ ไขหลักคิดสร้างคนผูกพันองค์กร
- เปิด 2 โมเดลธุรกิจกับแนวคิดผู้นำแถวหน้า สร้างความผูกพันพนักงาน ความแตกต่างบนความเหมือน
-"ฟาร์มโชคชัย" ปลูกความคิดเน้นคุณค่างาน รักอาชีพ สร้างอุดมการณ์นิยม
- ขณะที่ "โออิชิ" คนชาเขียวสร้างด้วยการให้โอกาส ให้อภัย ให้ความช่วยเหลือ
-นักวิชาการชี้ ความรักองค์กรเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก เชื่อมั่น ยอมรับเป้าหมายร่วมกัน และปรารถนาจะอยู่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 กันยายน 2549)
โออิชิ ฟันธง ชาขียวผลัดใบ Back to the Basic กลับสู่ยุคคุณค่าประโยชน์
จับชีพจรความเคลื่อนไหวในตลาดชาเขียว พร้อมดื่ม หลังมีผู้ท้าชิงแบรนด์ใหม่ ที่เพิ่งเข้ามาทำตลาดคือชาเขียว นะมาชะ จากประเทศญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีการแข่งขันกันระหว่าง 3 -4 แบรนด์หลักคือยูนิฟ ค่ายชาเขียว ซึ่งเป็นผู้ผลิตจากประเทศไต้หวัน และที่เป็นแบรนด์ไทยแท้คือ โออิชิ โมชิ เซนย่า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มิถุนายน 2549)
"เจริญ" ผ่าทางตัน ปรับยุทธศาสตร์รับสารพัดมรสุม
“ราชันย์น้ำเมา” โดนสารพัดมรสุมกระหน่ำ จนต้องปรับกระบวนรบครั้งใหญ่ ปรับกรอบแนวคิดด้วยการดึงผู้บริหารภายนอกจากทุกวงการ ขยายรูปแบบธุรกิจ ปรับกรอบความคิด ให้ทันการรูปแบบการแข่งขันใหม่ ล่าสุด เทกฯโออิชิ จับ “ตัน” ลุยธุรกิจเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ควบคู่กับการปรับแนวรบธุรกิจอสังหาฯ จับตาการจัดทัพใหม่ครั้งนี้ จะพาอาณาจักร “เจริญ” เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มกราคม 2549)
ตัน ไม่ทิ้งโออิชิ
15 ธ.ค. 48 เวลา 10.00 น. ตัน โออิชิ ได้แถลงข่าวสำคัญยิ่ง ทั้งต่อตัวเขาเอง ต่อบริษัทโออิชิ และต่อวงการธุรกิจไทย
นั่นคือการซื้อขายหุ้นเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่ ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้ขึ้นป้าย SP กับหุ้น OISHI เนื่องจาก ... บริษัทฯกำลังจะมีสารสนเทศบางประการที่สำคัญจะแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอันจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อราคาซื้อขายหุ้น และต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มกราคม 2549)
วิบากกรรมชาเขียวพร้อมดื่ม ทำไมต้องเป็นตัน โออิชิ
ธุรกิจชาเขียวกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้ไปศึกษา ข้อมูลตลาดเครื่องดื่มที่ไม่ผสมแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ (non alcoholic drink)
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2548)