Marketing Insight : จับตา “เสริมสุข” ในวันที่เป๊ปซี่เถลิงอำนาจ
กรณีปัญหาระหว่างเป๊ปซี่-เสริมสุข เดินมาถึงโค้งสุดท้ายแล้ว เชื่อว่าเป๊ปซี่-โค คงต้องทำการบ้านอย่างหนักว่าจะตั้งราคาหุ้นเท่าไร เพื่อให้ได้สิทธิการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในการบริหารเต็มรูปแบบ เพราะขณะนี้ หุ้นเป๊ปซี่-โค เมื่อรวมกับเซเว่นอัพ มีสัดส่วนอยู่ถึง 41.54% หรือราว 108 ล้านหุ้น
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 กันยายน 2554)
Money Game เอส เอสฯ บีบ “บุลสุข” ก่อนเทขายเป๊ปซี่ โค
เปิดแผนกิน 2 ต่อ เอส เอสฯ หลังได้หุ้นเสริมสุข 25% เตรียมเดินหน้าบีบกลุ่ม “บุลสุข” ให้ซื้อหุ้น หวังฟันกำไรเท่าตัว ก่อนขายต่อให้กับเป๊ปซี่ โค จับตาอนาคตเสริมสุข มีสิทธิหลุดจากตลาดฯ หากปล่อยต่างชาติถือหุ้นใหญ่
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤศจิกายน 2553)
มิวสิกมาร์เกตติ้ง อาวุธสู้ศึกน้ำดำกวาดยอดขายโค้งสุดท้ายของปี
ศึกชิงลูกค้าวัยรุ่น 2 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการน้ำอัดลม เป๊ปซี่ กับ โค้ก เปิดเกมสู้ปิดท้ายปีกันด้วยกลยุทธ์มิวสิกมาร์เกตติ้ง Think Global Act Local ต่อยอดจากคอนเซ็ปต์การตลาดระดับโลก ตอกย้ำภาพลักษณ์และเน้นกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้าแต่ลงลึกตามแบบท้องถิ่นในแต่ละประเทศ
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 พฤศจิกายน 2552)
น้ำสี หลังชนฝา 2 แบรนด์ยักษ์ 'รีทาร์เก็ต' ขยายตลาดใหม่
สงครามน้ำสี หรือเครื่องดื่มสปาร์คกลิ้งลิ่นผลไม้ ซึ่งเป็นมวยคู่เอกระหว่าง 'แฟนต้า' และ 'มิรินด้า' คุกรุ่นขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เมื่อคู่แข่งนอกตลาดไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มหลากหลายชนิดที่เข้ามาแบ่งแชร์ หรือคู่แข่งสำคัญอย่าง 'น้ำผลไม้ ' ที่เปิดฉากรุกเข้ามาช่วงชิงฐานลูกค้าเดิมจากกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในวัยเด็ก ผ่านช่องทางการขายในโรงเรียนด้วยเช่นกัน
(ผู้จัดการรายวัน 27 เมษายน 2552)
ชาเขียว"เซกเมนต์ใหม่" กลยุทธ์ฝ่าศึก 2 ด้านของ"ลิปตัน"
"ลิปตัน" แบรนด์นำ "ชาดำ" เจอศึก 2 ด้าน จากคู่แข่งจ้องโค่นเบอร์ 2 ในตลาดรวมชาพร้อมดื่ม มูลค่า 4 พันล้านบาท และชาดำ ที่มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาท้าชิงมากขึ้น เดินหน้าเปิดเซกเมนต์ใหม่ โดยหยิบจุดขาย "เพื่อสุขภาพและความงาม" มาเป็นตัวสร้างโอกาสใหม่ในตลาดชาเขียวพร้อมดื่ม ส่งซับแบรนด์ "ลิปตัน ไนน์" จับตลาดผู้หญิงรักสุขภาพ อายุ 25-35 ปี ซึ่งมีความแตกต่างจากตลาดเดิมที่เน้นจับกลุ่มคนดื่มทั่วไป ด้วยจุดขายและคุณค่าของสินค้า"ทางด้านรสชาติ และความสดชื่น ที่มีแบรนด์ "โออิชิ" ยึดตลาด
(ผู้จัดการรายวัน 25 สิงหาคม 2551)
เสริมสุข ฝ่ากระแสวิกฤติน้ำอัดลมขาลง เปิดกลยุทธ์ "FOCUS" 5 มิติ
เสริมสุข ยึดกลยุทธ์ FOCUS 5 มิติ ฝ่ากระแสความท้าทายของตลาดน้ำอัดลมที่นับวันจะเริ่มมีการเติบโตแบบคงที่ เทงบกว่า 600 ล้านบาท เดินหน้าต่อยอดธุรกิจในปีที่ 55 รวมพลังกับเป๊ปซี่-โค และพันธมิตรอื่นๆ เพื่อสร้างแต้มต่อทั่วทุกระบบ ขับเคลื่อนสู่การเป็นบริษัทเครื่องดื่มอันดับ 1 ทั้งตลาดน้ำอัดลม และเครื่องดื่มไม่อัดลม (Non carbornat soft Drink)
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มิถุนายน 2551)
น้ำสีแข่งดุ "แฟนต้า vs มิรินด้า" เปิดศึกชิงเค้ก 6.6 พันล้านบาท
ศึกน้ำสี หรือน้ำอัดลมกลิ่นผลไม้เป็นตลาดที่มีการแข่งขันร้อนแรงไม่แพ้ตลาดน้ำดำ แม้ว่าข้อมูลเอซี นีลเส็นจะระบุว่า กลุ่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมกลิ่นผลไม้มีมูลค่าตลาดสูงถึง 6.8 พันล้านบาท จากตลาดรวมน้ำอัดลมปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท มีผู้เล่นในตลาดหลักเพียง 2 ค่าย โดยแฟนต้าเป็นผู้นำตลาด ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 77 เปอร์เซ็นต์ และมิรินด้าตามเป็นเบอร์สองของตลาด ครองส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 20% ก็ตาม ทว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การทำตลาดของน้ำสีต้องเผชิญกับอุปสรรคที่เป็นปัจจัยลบนานาประการ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 พฤษภาคม 2550)
เป็ปซี่ พร้อมติดปีกทรอปิคาน่า ทวิสเตอร์ลุยตลาดน้ำผลไม้อีโคโนมี
หลังจับตามองตลาดน้ำไม้มาเป็นเวลาเกือบปี ในที่สุด เป๊ปซี่ ค่ายน้ำอัดลมยักษ์ใหญ่ ก็ได้ฤกษ์ส่ง ทรอปิคานา ทวิสเตอร์ แบรนด์น้ำผลไม้ระดับพรีเมียมซึ่งเป็นเป็นสินค้าซูเปอร์แบรนด์ ภายใต้บริษัทเป๊ปซี่ อินเตอร์เนชั่นแนล ในสหรัฐฯ ที่สร้างรายได้ให้กับเป๊ปซี่ทั่วโลกมาแล้วถึง 10% เข้ามาผลิตและทำตลาดในไทย แม้จะเป็นการวางตลาดที่ช้ากว่ากำหนดถึง 6 เดือน แต่มาช้า ดีกว่าไม่มาเลย และมาทั้งทีต้องแน่ใจว่ายอดขายต้องเข้าเป้าสูสีกับผู้นำตลาด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 กรกฎาคม 2549)
น้ำดื่ม“คริสตัล” ติดลมบน
แม้ว่าตลาดโดยรวมน้ำดื่มบริสุทธิ์ มูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีตลาดบนในบรรจุภัณฑ์แบบขวดแก้วและขวดพีอีที 60% และตลาดล่างในบรรจุภัณฑ์พลาสติกขาวขุ่น 40% จะมีสินค้าวางจำหน่ายกว่า 600 แบรนด์ แต่การถือครองส่วนแบ่งตลาดในสัดส่วนมากนั้นยังเป็นของค่ายน้ำดื่ม รายใหญ่เพียง 4 -5 แบรนด์ที่ทำตลาดในธุรกิจน้ำดื่มมาเป็นเวลากว่า 10 ปี และเมื่อกระแสสุขภาพที่เข้ามาทำให้ตลาดน้ำดื่ม...ถึงจุดเปลี่ยน และพลิกขั้วให้น้ำดื่มตลาดบนอยู่ในช่วงขาขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมคนไทยการซื้อน้ำดื่มเปลี่ยน โดยคำนึงถึงแบรนด์มากกว่าราคา ส่งผลทำให้ค่ายยักษ์ใหญ่ในธุรกิจน้ำดื่ม แข่งขันกันลงมาชิงชัยในสมรภูมินี้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 พฤศจิกายน 2548)