"เอชเอสบีซี"ลงจากยอดปิรามิด จับฐานระดับกลางปล่อยสินเชื่อบุคคล
"เอชเอสบีซี"ตื่นจากการหลับไหลในธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล หลังประเมินสถานการณ์พบความเสี่ยงของการเกิดหนี้สูญต่ำลงเพราะเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น คนมีการบริโภคเพิ่มขึ้นเพราะเกิดความเชื่อมั่น อีกทั้งอัตราการตกงานลดน้อยลง ทำให้"เอชเอสบีซี"กล้าที่จะหันมาจับตลาดลูกค้าระดับกลาง หลังจากปีที่ผ่านมาเล่นแต่ลูกค้าระดับไฮเอนด์ ลั่นกลองรบแต่ต้นปี ด้วยการเปิดตัวแคมเปญ "กู้เงินแถมเงิน"
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 มกราคม 2553)
BAY ย้ำแนวคิดซื้อพอร์ตขยายฐาน ตั้งเป้าปีหน้าสินเชื่อโต 6%
แบงก์กรุงศรีเผยตั้งเป้าสินเชื่อรวมปี 53 โตราว 6% ตามจีดีพี ปีหน้าที่คาดว่าจะโต 3% มั่นใจปีนี้ทำงานเข้าเป้าหลังรุกซื้อจีอีมันนี่ไทยแลนด์ ดึงยอดสินเชื่อพุ่ง เผยภายหลังควบรวมสินเชื่อรายย่อยแตะสัดส่วน 42% จากปัจจุบันอยู่ที่ 36% ย้ำเดินหน้าแผนซื้อกิจการต่อยอดทางธุรกิจ ล่าสุดเอาใจแฟนแมนยูในไทย ออกบัตรเดบิต แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ตั้งเป้าสิ้นปีหน้ามียอดบัตร 3 แสนบัตร
(ASTVผู้จัดการรายวัน 4 พฤศจิกายน 2552)
เงาตะวันตกโอบอุ้มกรุงศรีฯ BAYซื้อAIGCFเปิดศึก"รีเทลแบงกิ้ง"
และแล้ว มหามิตรโลกตะวันตก "จีอี" ผู้ถือหุ้นใหญ่ ใน "แบงก์กรุงศรีอยุธยา" มรดกอันล้ำค่าของตระกูล "รัตนรักษ์" ก็ทำสิ่ง "เซอร์ไพรส์" ให้กับสายตาทุกคู่ แบบหักปากกาเซียน ที่เฝ้าจับตามองการเคลื่อนไหวของทุนตะวันตกในประเทศอยู่ทุกฝีก้าว หลังตัดสินใจเข้าซื้อกิจการ ในเครือ AIG หรือ AIGCF ธุรกิจ ในกลุ่มคอนซูเมอร์ ไฟแนนซ์ ที่รวมถึง ธนาคาร เอไอจี เพื่อรายย่อย และ เอไอจี คาร์ด อย่างเงียบกริบ รวมเป็นเงินกว่า 2 พันล้านบาท หลายสำนักจึงคาดคะเนว่า เงาตะวันตกที่โอบอุ้มค้ำชู "แบงก์กรุงศรีฯ" ในชั่วโมงระทึกขวัญ กำลังจะก่อสงครามในตลาดลูกค้ารายย่อย หรือ "รีเทล แบงกิ้ง" อย่างเข้มข้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 กุมภาพันธ์ 2552)
แบงก์กรุงศรีฯไม่สิ้นหวัง ขยายธุรกิจฝ่ามรสุมเศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการขยายธุรกิจนั้นไม่ได้กดดันแบงก์กรุงศรีฯหยุดการขยายธุรกิจ ยังคงรุกทั้งตลาดแบงแอสชัวรันส์ โดยเฉพาะการบุกเข้าตลาดลูกค้ารายย่อยมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องธุรกรรมการเงิน แต่ทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าแบงก์แห่งนี้จะเดินเครื่องลุยแหลกสวนทางภาคธุรกิจการเงินที่ขยายตัวอย่างระมัดระวัง เพราะในท้ายแล้วการโตอย่างมั่นคงยังเป็นเรื่องที่แบงก์กรุงศรีให้ความใส่ใจ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 กุมภาพันธ์ 2552)
รวมเครือญาติธุรกิจสายเลือดจีอีพลิกโชคชะตา“แบงก์กรุงศรีฯ”
“แบงก์กรุงศรีฯ” ภายใต้ชายคา “จีอี” รวมเครือญาติ ธุรกิจสายเลือด “จีอี” พลิกโชคชะตาแบงก์กรุงศรีฯ เริ่มต้นที่การนำพอร์ต “จีอี แคปปิตอล ออโตลีส” ธุรกิจเช่าซื้อที่มีพอร์ตรถยนต์มือสอง และรถจักรยานยนต์มหาศาล เข้ามารวมในงบของแบงก์ เป็นการเดินทางลัด ร่นเวลา ขยายอาณาจักรในอนาคต ก่อนจะมองหาโอกาสเติบโตในฐานธุรกิจที่ “จีอี” มีอยู่ในมืออย่างเป็นระบบ...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 พฤศจิกายน 2550)
วัดมาตรฐาน"จีอี"สร้าง"แบงก์กรุงศรีฯ"จุดสตาร์ทสงครามการเงินเพิ่งเริ่มต้น
ถือเป็นช่วงรอยต่อของการผสมผสาน 2 แผ่นดิน ระหว่าง"จีอี แคปปิตอล" และ "แบงก์กรุงศรีฯ" ให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียว ด้วยการกำจัดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งที่นำไปสู่การสร้างฐานรากความมั่นคง ก่อนประกาศความพรั่งพร้อมในแสยานุภาพและกำลังพลที่พร้อมสู้ศึกในสนามรบธุรกิจการเงินอย่างแท้จริง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 สิงหาคม 2550)
“GE Day”วันของ“จีอี อินเตอร์เนชั่นแนล”“ยึด-ครอบครอง-สร้างฐาน”บนโลกใหม่
“จีอี” หรือ “ข่าน” นักรบผู้พิชิตบนโลกธุรกิจ และอีกบทบาทหนึ่งคือ “ร่างทรง” แบงก์กรุงศรีอยุธยา ของตระกูล “รัตนรักษ์” ใช้โอกาสช่วงที่เข้ายึดครองแบงก์ใหญ่ แนะนำอาณาจักรที่คนในท้องถิ่นยังไม่เคยได้สัมผัสลึกซึ้งในงาน “GE Day” ผ่านการบอกเล่าถึงกลยุทธ์และกระบวนการทำงานที่มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเข้ายึดพื้นที่ ครอบครอง และสร้างฐานลูกค้าให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 กุมภาพันธ์ 2550)
ลอกครอบ"GE"คอนเซอร์เวทีฟแบงเกอร์พญาอินทรีผู้กำหนดเส้นทาง"รัตนรักษ์"
ในที่สุด ตระกูลแบงเกอร์เก่าแก่ "รัตนรักษ์" เจ้าของแบงก์สีเหลืองสด"กรุงศรีอยุธยา" ก็เลือก "ที่จะอยู่และไป" ในเวลาเดียวกัน ภายใต้ปีกมหามิตรจากโลกตะวันตก "จีอี" หรือ กองทัพ"ข่าน"แห่งวงการรีเทล แบงกิ้ง" ด้วยความเต็มอกเต็มใจ...ที่อยู่ก็คือ การรักษาธนาคารที่เป็น"มรดกชิ้นสำคัญของตระกูล" เอาไว้ได้สุดชีวิต และที่ไปก็คือ ยอมคายหุ้นที่ถือทั้ง29% เพื่อเปิดทางให้ "พันธมิตร" ที่กลายมาเป็น "เครือญาติสนิท" เข้ามายึดครองอาณาจักรที่เคยเป็นของ "รัตนรักษ์" มานานกว่า 60 ปี ตลอด 2 ชั่วอายุคน อย่างสมบรูณ์แบบ แต่โดยดี...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มกราคม 2550)
กรณีศึกษา"BAY-GE"โมเดลน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
"ชาลอต โทณวณิก"ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ต้องคอยตอบคำถาม สื่อต่างๆที่รุมล้อม ถามไถ่เกี่ยวกับอนาคต และทิศทางที่จะก้าวเดินต่อไป ภายหลังการเข้ามาถือหุ้นในแบงก์กรุงศรีฯ ของกลุ่ม"จีอี แคปปิตอล เอเชีย แปซิฟิค" หรือ "จีอี" ยักษ์ใหญ่ "คอมซูเมอร์ไฟแนนซ์"จากอเมริกา
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)