"ไทยธนาคาร"ทำสงครามกองโจรคัดตำราซิตี้แบงก์เบียดฐานรายย่อย
"ไทยธนาคาร"แบงก์ไซส์เล็ก ยอมรับอยู่ในทีว่า ขนาดที่เสียเปรียบแบงก์ใหญ่ ทำให้การตัดสินใจลงสนามแข่งขันต้องเลือกเวทีที่มีโอกาสแพ้น้อยที่สุด ดังนั้นการรุกตลาดแต่ละครั้งจึงต้องเน้นทำสงครามกองโจร เลี่ยงการรบในรูปแบบ โดยเฉพาะการทะลุทะลวงเข้าถึงตลาดรายย่อย ที่คัดลอกตำราการตลาด "ซิตี้แบงก์ โมเดล"ซึ่งอาศัยกองทัพนักรบ "ไดเร็คเซลส์"มาเป็นแม่แบบ เพื่อลบจุดบอดที่มีสาขาหรือแขนขาครอบคลุมไม่ทั่วถึง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มกราคม 2549)
ไทยธนาคารหนุนประหยัดพลังงาน ต้นทุนสำคัญที่กัดกินภาคธุรกิจ
การประหยัดและใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น กลายเป็นเรื่องที่ได้ยินค่อนข้างมากในช่วงนี้ ด้วยเหตุผลสำคัญของต้นทุนพลังงานที่แนวโน้มทะยานขึ้นสูงจนคาดเดาได้ยากว่าจะหยุดอยู่ที่ใด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น และบางแห่งที่รับรู้ผลกระทบได้รวดเร็ว ได้เตรียมการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการประหยัดพลังงาน หรือหาวิธีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องลงทุนเพื่อเกิดประโยชน์ในระยะยาว และเป็นที่มาของสินเชื่ออนุรักษ์พลังงาน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 พฤศจิกายน 2548)
จากถนนลูกรังสู่เส้นทางลาดยาง BTเปิดรับทุนนอกเสริมเขี้ยวเล็บ
เส้นทางเดินของไทยธนาคารเมื่อ 5 ปีก่อน ไม่ได้ต่างอะไรไปจากถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อแห่งอุปสรรคของการเดินทาง ทำให้การก้าวไปข้างหน้าแต่ละครั้งต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง แต่ถึงวันนี้ หลุมบ่อแห่งถนนลูกรังกำลังถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นถนนลาดยางหลังจัดการกับCAP หมดสิ้นภายในปีนี้ ซึ่งจะทำให้ธนาคารเดินหน้าได้เต็มสูบ ขณะเดียวกันก็ปรับผังองค์กรรองรับแผนธุรกิจ และเจรจาหาผู้ร่วมทุนใหม่เสริมความแข็งแกร่งไทยธนาคาร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2548)
เลาะสเป็ก MBA 5 บ.ดัง ผ่านสายตาคนในคนนอก HR
แกะสเป็กคน MBA จากผู้บริหารทั้ง HR และ Non-HR 5 องค์กรดัง เผยตลาดแรงงานใน 'CPF'โกอินเตอร์ทั้งภาคผลิต และขาย แต่คุณสมบัติต้องพร้อมทั้ง IQ EQ และ AQ ฟาก 'IBM' ไม่ล็อกเฉพาะวิศวกร เน้นดูฝีมือวิเคราะห์กับการจัดการ ขณะที่ 'เครือปูนฯ' ย้ำ 2 คำชัด "คนเก่งและดี" เท่านั้นที่มีสิทธิ์ ด้าน 'เซ็นทรัล' เฟ้นคนวิเคราะห์เข้าเป้า เอาไว้ผุดโครงการห้าง ปิดท้ายด้วย 'ไทยธนาคาร' เปิด 2 สายพันธุ์ให้เลือกลุย อยู่ทัพหน้าหรือหลังบ้านก็ได้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 กันยายน 2548)