เศรษฐกิจซบเซาแต่ภาคการเงินไม่เซื่องซึมสมรภูมิช่วงชิงฐานลูกค้ารายย่อยยังดุเดือด
เศรษฐกิจที่มีกลิ่นอายของความเซื่องซึมมิได้ลดอุณหภูมิการแข่งขันของภาคการเงินให้เย็นลงแต่ประการใด...ความร้อนแรงดุเดือดในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดโดยเฉพาะฐานลูกค้ารายย่อยยังดำเนินต่อไปภายใต้โอกาสที่ไม่เอื้ออำนวยนัก แต่ถึงกระนั้นทุกสถาบันต่างไม่ยอมลดราวาศอกให้คู่แข่งเข้ามาช่วงชิงเค้กของตน....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กุมภาพันธ์ 2550)
"มิตรภาพ"ต่างสายพันธุ์2ขั้วธุรกิจเมืองไทยฯเหมาล็อตลูกค้า"ดีแทค"
ดีลประกันอุบัติเหตุกลุ่มระหว่าง “เมืองไทยประกันชีวิต” และ “ค่ายดีแทค” หรือ "Postpaid Life Care" กลายเป็นบทสรุปที่ลงตัวดีลใหญ่ครั้งหนึ่งในแวดวงธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งต้องอาศัยคอนเน็คชั่นล้วนๆ จากรากฐานการทำธุรกิจที่เชื่อมโยงกันมาตั้งแต่อดีตระหว่างธุรกิจต่างสายพันธุ์ ... “เมืองไทยฯ” มีโอกาสสร้างฐานตลาดแบบเหมาล็อตใหญ่ ในขณะที่ “ดีแทค”ต้องการหลบสงครามราคา หันมาสร้างความรู้สึกจากการให้บริการที่ต่างออกไป จากแคมเปญยั่วยวนใจชั่วครู่ชั่วยาม ที่กำลังสร้างความรู้สึกอึดอัดใจให้กับลูกค้า...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 พฤศจิกายน 2549)
"แบรนด์ไทย"เป็นได้ทั้ง"จุดอ่อนจุดแข็ง"ไทยประกันชีวิตโหมสร้างตลาดจากแรงศรัทธา
ถ้าธุรกิจประกันชีวิตเจ้าอื่น จงใจจะใช้ลูกเล่นที่มีสีสัน ในลักษณะตลก ขบขัน สนุกสนาน เพื่อสร้างการจดจำในแบรนด์ เห็นทีหลักการเดียวกันนี้จะใช้ไม่ได้กับ "ไทยประกันชีวิต" เพราะ"ไชย ไชยวรรณ" แม่ทัพแบรนด์ไทยที่เหลืออยู่ ท่ามกลางวงล้อมคู่อริจากโลกตะวันตก เลือกที่จะมองธุรกิจประกันชีวิตเป็นเรื่อง "ซีเรียส" ภาพยนตร์โฆษณาที่ผ่านมาหลายเรื่องจึงค่อนข้างสร้างความสะเทือนใจ และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าชีวิต เพราะในขณะที่แบรนด์ไทยเป็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง การสร้างตลาดจากความเชื่อและแรงศรัทธา จึงเป็นหนทางและกลยุทธ์หลักที่จะต่อกรกับกองทัพต่างชาติได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 กันยายน 2549)
เมืองไทยฯแตะเซ็กเม้นเทชั่นจับตลาดผู้หญิง-คนวัยเกษียณ
"เมืองไทยประกันชีวิต"หนีสงครามแย่งชิงเงินออม ชะลอปล่อยสินค้าออมทรัพย์ระยะสั้นในช่วงดอกเบี้ยวิ่งฉิว หันมาจับตลาดเฉพาะในกลุ่มสตรีและคนวัยเกษียณ ขณะที่ไตรมาสแรกปีนี้เบี้ยรับปีแรกขยายตัวถึง 43%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 พฤษภาคม 2549)
"เครือแบงก์"ออกไล่ล่าเงินออม "ล่ำซำ"ปล่อยกรมธรรม์"UL"ดัก"เงินฝาก"กระโดดข้ามแบงก์
ธุรกิจภายใต้ชายคา"แบงก์" ไม่ว่า ประกันชีวิต หรือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เริ่มหันมาระดมกำลังสกัดลูกค้าฐานบัญชี"เงินฝาก" ไม่ให้ไหลทะลักออกจากแบงก์ในช่วงที่ดอกเบี้ยไต่เพดานบินสูงแทบทุกประตู พร้อมกับใช้กำลังภายในทุกวิถีทางออกไล่ล่าเงินออมทุกรูปแบบ ด้วยดอกเบี้ยล่อใจเจ้าของเงินก้อนโต "เมืองไทยประกันชีวิต" เครือ"ล่ำซำ" ตระกูลเคแบงก์ คือรายล่าสุด ที่ปล่อยกรมธรรม์ "ยูนิเวอร์แซลไลฟ์"(UL) ออปชั่นใหม่ที่มีทั้ง การออม ดอกผลจากการลงทุนและคุ้มครองชีวิต "ขวาง"เงินฝากไม่ให้กระโดดข้ามแบงก์...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 กุมภาพันธ์ 2549)
เมืองไทยฯตั้งฮับ"ศูนย์การเรียนรู้"รีครูต"ทัพตัวแทน"ขยายอาณาจักร
การตั้งเป้าหมายของเบี้ยประกันรับให้สูงเป็นเรื่องธรรมดาของธุรกิจประกันชีวิต แต่หนทางไปสู่เป้าหมายเป็นเรื่องยาก เพราะนั่นหมายถึงต้องเพิ่มจำนวนตัวแทน แม้แผนของเมืองไทยประกันชีวิตปีนี้บอกว่าจะให้ความสำคัญทุกช่องทาง แต่กระนั้นก็ตามความสำคัญก็ยังทุ่มไปที่ตัวแทน ดังนั้นจึงตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้นมา เป้าสำคัญคือการรีครูตตัวแทน ซึ่งเป็นแผนคือสร้างเบี้ยรับรวมให้เหยียบหลักหมื่นเป็นครั้งแรก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 กุมภาพันธ์ 2549)
ย้ำความเป็น"ไทยประกันชีวิต" กลยุทธ์เด็ดตบท้ายก่อนสิ้นปี
การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รับรู้ของสังคมกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของการดำเนินธุรกิจไปแล้วในยุคที่โลกก้าวเข้าสู่กระแสไร้พรมแดน เพราะการหลั่งไหลเข้ามาของทุนต่างชาติทำให้การแข่งขันรุนแรงจนต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด บริษัทหลายแห่งกลายสถานะตนเองเป็นลูกครึ่ง2สายเลือด แต่สำหรับไทยประกันชีวิตยังยืนหยัดยึดมั่นเสมอในสายเลือดเดียว และใช้ภาพลักษณ์ความเป็นไทยแท้100%นี้ เป็นกลยุทธ์ต่อสู่บนสังเวียนการแข่งขันในธุรกิจประกันชีวิต
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 ธันวาคม 2548)
เมืองไทยฯเจาะช่องค้าปลีก
กลุ่มธุรกิจประกันภัยตระกูลลำซ่ำ เพิ่มคู่ใจพันธมิตรทางธุรกิจ ใช้เป็นช่องทางเข้าถึงลูกค้ามากขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการแข่งขัน เปิดมุมมองยุทธศาสตร์กลุ่มเมืองไทย เลือกศูนย์ค้าปลีก "คาร์ฟูร์" เป็นพันธมิตรในการเดินเข้าหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย จุดมุ่งหมายเพื่อตอกย้ำแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ ขณะเดียวกันก็เสนอขายผลิตภัณฑ์เพื่อขยายฐานลูกค้า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 กันยายน 2548)