แกรมมี่พาโมเดลแฮปปี้ แวมไพร์บุกไต้หวันจับมือจงหัว เทเลคอม ดูดลูกค้าอาเซียน 4 ประเทศ
ตลาดเพลงในยุคนี้ได้เคลื่อนเข้าสู่โลกของดิจิตอลอย่างเต็มตัว ค่ายเพลงหันไปหารายได้จากการดาวน์โหลดแทนการขายแผ่นซีดี แต่ละค่ายหันไปจับมือกับโอเปอเรเตอร์มือถือ เปิดกลยุทธ์การตลาดบนโลกดิจิตอลกันอย่างดุเดือด แผ่นซีดีที่เคยเสนอขาย 10-12 เพลง ราคา 100-200 บาท วันนี้ ผู้บริโภคจ่ายเพียง 20-30 บาท ต่อเดือน สามารถดาวน์โหลดเพลงยกค่าย ไม่ว่าเก่าหรือใหม่อย่างไม่จำกัด ดูในมุมผู้บริโภคอาจมองว่าคุ้มค่ากว่าก่อนที่การซื้อหาเพลงในยุคนี้ สามารถเลือกเฉพาะเพลงฮิต เพลงดังได้ ไม่ต้องซื้อเหมายกอัลบัมเหมือนก่อน แต่ในมุมของค่ายเพลงเอง ยิ่งคุ้มค่ากว่า เพราะทุกเดือนจะมีลูกค้านับแสนราย จ่ายเงินเดือนจะมีลูกค้านับแสนรายจ่ายเงินรายเดือน 20-30 บาท ให้กับค่าย เปลี่ยนโฉมสินค้าที่เคยขายขาดครั้งเดียว กลายเป็นสินค้าที่ต้องจ่ายรายเดือน สร้างรายได้ให้กับค่ายเพลงอย่างมั่นคง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 ตุลาคม 2552)
ถอดโมเดลสู่ความสำเร็จทีวีดาวเทียมควอลิตี้-ไดนามิก 2 ปัจจัยสร้างความโดดเด่น
* เมื่อทีวีดาวเทียมหอมฟุ้ง ดึงนักลงทุนโดดลงมาคับคั่ง สื่อบลูโอเชียน จึงขุ่นข้นเป็นเรดโอเชียนอย่างรวดเร็ว
* ความสำเร็จในการทำตลาดที่เดือดตั้งแต่วันแรกของการออนแอร์จะสร้างได้อย่างไร
* ตามรอย 2 โอเปอเรเตอร์ จีเอ็มเอ็ม ? โรส มีเดียฯ ชู 2 กลยุทธ์ คุณภาพ และการไม่หยุดนิ่ง สร้างความสำเร็จนำหน้าคู่แข่ง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 เมษายน 2552)
อาร์เอส - แกรมมี่ โชว์ผลงานปีหนูเข้าเป้า ประสานเสียงมั่นใจปีหน้าสดใสแน่
"อาร์เอส" เผยผลงานปีหนู 3 ธุรกิจคลื่นลูกใหม่ โชว์บิซ-ดิจิตอล-อินสโตร์มีเดีย นำทัพโกยรายได้เข้าเป้า ปูทางปีหน้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง ระบุกลยุทธ์ผนวกคอนเทนต์บันเทิงและกีฬารวมกับสื่อทุกประเภทที่มีอยู่ในมือเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ตอกย้ำภาพลักษณ์ในการเป็นเครือข่ายบันเทิงที่ครบวงจร ขณะที่ธุรกิจเพลงยังเป็นต้นน้ำที่สร้างรายได้หลักควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพงานเพลงอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงสร้างใหม่ที่สมบูรณ์แบบ100% ด้านจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มั่นใจเก็บรายได้สูงสุดในรอบ 25 ปี ชี้ความสำเร็จเกิดจากทุกธุรกิจสามารถ Utilize Brand ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เผย 3 ธุรกิจดาวเด่น เพลง โชว์บิซ และดิจิตอล นำสู่ความสำเร็จปีวัว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มกราคม 2552)
แกรมมี่ วาดแผนเจาะเอเชีย ตอ.ขนลูกทุ่ง-ป๊อป-สตริง ลุยญี่ปุ่นยันอินโดฯ
ความสำเร็จของศิลปินนักร้องจากเกาหลี ไม่ว่าจะเป็น เรน ดงบังชินกิ หรือซูเปอร์จูเนียร์ ที่สามารถนำเสียงเพลงที่เป็นภาษาของตน ไปสร้างความโด่งดังในประเทศอื่นๆ ทั่วทั้งภูมิภาค ตั้งแต่ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน ฮ่องกง ลงมาถึงประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ได้ ถือเป็นมิติใหม่ของตลาดเพลง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ที่แสดงให้เห็นว่า วันนี้ตลาดเพลงไม่มีพรหมแดน เพียงแต่ค่ายเพลงสามารถสร้างศิลปินที่มีผลงานโดนใจ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย วางกลยุทธ์การตลาดให้ถูกต้องกับตลาดในแต่ละประเทศ ศิลปินนักร้องจากประเทศหนึ่งก็สามารถครองใจผู้ฟังในอีกประเทศได้ไม่ยาก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 พฤศจิกายน 2551)
อิมเมจิน VS มีเดีย เน็ตเวิร์ก แนวรบรอบใหม่ตลาดบันเทิงในบ้าน
ตลาดโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ยังไม่ดับ แม้รายใหญ่ทยอยถอดใจ แต่อิมเมจินสวนทางพร้อมบุก ปรับโพสิชั่นนิ่งให้เป็น วัน สต็อบ เซอร์วิส โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์ จับมือเทสโก้ โลตัส เดินหน้าขยายสาขา ด้านกลุ่มเมเจอร์ผนึกกำลังสร้างความแข็งแกร่งดันแบรนด์ มีเดีย เน็ตเวิร์ก ครองตลาดภายใน 2 ปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 กันยายน 2551)
การตลาดบทใหม่ GMM Grammyจัด 6 ทัพดนตรี วิ่งหาความต้องการผู้บริโภค
การวางกลยุทธทางการตลาดในวันนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า โจทย์สำคัญที่นักการตลาดต้องตอบให้ได้ หาใช่การสร้างสินค้าให้ดีเลิศตามความคิดของผู้ผลิตอีกต่อไป หากแต่ได้กลายเป็นการหาคำตอบจากความต้องการของผู้บริโภคให้พบ เปลี่ยนศูนย์กลางจากผู้ผลิตมาสู่ผู้บริโภค นำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง ซึ่งหนึ่งในองค์กรใหญ่ที่ครองความเป็นหนึ่งในธุรกิจบันเทิงอย่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ก็ยอมรับในความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างชัดเจน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 มีนาคม 2551)
แกรมมี่หวังธุรกิจดิจิตอลเติมพลังตั้งเป้าเป็นสัดส่วนกำไร50%
จากเพลงยุคที่บันทึกบนแถบแม่เหล็กในรูปของเทปคลาสเซต สู่ยุคของการขายแผ่นซีดี และล่าสุดก็มาถึงยุคของไฟล์ดิจิตอลไม่ว่าจะเป็น เอ็มพี3 หรือ ไอพอด ทำให้ผู้ที่อยู่ในธุรกิจนี้ต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อความต้องการของยุคสมัยผู้บริโภค
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 มีนาคม 2551)
วัดฝีมือ "กู๋ - เฮีย"บนเวทีบันเทิงไทย โชว์ผลงาน แกรมมี่ - อาร์เอส หลังปฏิวัติองค์กร
- จับความเคลื่อนไหวคู่แข่งตลอดกาลในวงการบันเทิงไทย "แกรมมี่ - อาร์เอส"
- ผ่านยกที่ 1 ครึ่งปีแรกภายใต้การจัดทัพธุรกิจใหม่ของทั้งสององค์กร หลังผ่านวิกฤตวงการเพลง
- "อากู๋" ยิ้มรื่น กอดธุรกิจเพลงฝ่าวิกฤติสำเร็จ มั่นใจ ยักษ์ใหญ่แกรมมี่ กำลังกลับมา
- "เฮียฮ้อ" เหงื่อหยด "เอนเตอร์เทนเมนต์ เน็ตเวิร์ค" ไม่เวิร์คดังใจ ส่งผลรายได้หด กำไรหาย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 กันยายน 2550)
"ยู สตาร์" ยกเครื่องอัพแบรนด์ จ่อเบอร์ 2 ขายตรงชั้นเดียว
อากู๋ ทุ่ม 50 ล้านบาท รีแบรนด์ "ยู สตาร์" เปลี่ยนโฉมจากสีส้มเป็นสีแดง พร้อมปรับแนวรบชูกลยุทธ์แบบผสมผสาน เสริมภาพลักษณ์เคาเตอร์แบรนด์ ยกระดับสู่พรีเมียม ลบภาพแบรนด์สาวโรงงาน เล็งเพิ่มกำลังไดเร็ก เซลล์ สาว 100% เข้าถึงผู้บริโภค สิ้นปีหวังขึ้นแท่นเบอร์ 2 แทนเอวอน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)