ซีพี-ลอรีอัล-ปริญสิริ กระหน่ำสร้างแบรนด์จัดเต็มการตลาดออนไลน์รับต้นปี
ประเดิมรับต้นปี ในไตรมาสแรกแบบ “จัดเข้ม”สำหรับการตลาดออนไลน์ ( Online Marketing )ในการสื่อสารการตลาด เพื่อสร้างแบรนด์ 3 แบรนด์ดัง “ ซีพี-ลอรีอัล-ปริญสิริ” จากกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภคและอสังหาริมทรัพย์ ตอบโจทย์ไลฟสไตล์ผู้บริโภควัยทีน และคนรุ่นใหม่ชอบแบ่งปันข้อมูล และค้นหาข้อมูลในโลกออนไลน์ด้วยตัวเองมากขึ้น
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 เมษายน 2554)
จัดสรรรายกลางฮึดสร้างแบรนด์ เปิดศึกเบียดแชร์รายใหญ่
- ได้เวลาจัดสรรรายกลางสร้างแบรนด์ ดักชิงกำลังซื้อกลุ่มคนรุ่นใหม่
- ตามรอย “พลัส พร็อพเพอร์ตี้” ที่ปลุกกระแสตลาดคอนโดมิเนียมรุ่ง หลังสร้างแบรนด์ประสบความสำเร็จ
- พฤกษาฯ-ปริญสิริ-ธนาพัฒน์ฯ เร่งสร้างแบรนด์ทำการตลาดคอนโดมิเนียมก่อนตลาดวาย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 ธันวาคม 2550)
“ปริญสิริ”หมดทางล้างหนี้หันเพิ่มทุนหลังแผนร่วมทุนล่ม
ทางรอดสุดท้าย “ปริญสิริ” เร่งระดมทุนกว่า 1,000 ล้านบาท หวังล้างหนี้พุ่งทะลุกว่า 1.5:1 พร้อมเดินหน้าลงทุนโครงการใหม่ 13 แห่ง มูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท ยันรายได้แตะหมื่นล้านภายใน 5 ปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
เปิดยุทธศาสตร์ปริญสิริเตรียมท้าชนยักษ์ใหญ่ทุกเซกเมนต์
แม้จะไม่ติดอันดับ Top Five ของดีเวลลอปเปอร์ที่มีรายได้สูงสุด แต่ปริญสิริอาศัยจุดแกร่งต่างๆ ที่มีจนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นที่น่าจับตามอง และเมื่อปริญสิริเลือกจะทำตลาด Mass เจาะทุกเซกเมนต์ จึงทุ่มงบสื่อสารการตลาดอย่างหนัก เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการจดจำแบรนด์ หลังตัดสินใจนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อต้องการสร้างแบรนด์ และการยอมรับของสาธารณชนเท่านั้น เพราะบริษัทมีความแข็งแกร่งทางการเงินอยู่แล้ว การตัดสินใจครั้งนั้นถือเป็นก้าวย่างสำคัญ เพราะความเป็นเจ้าของจะไม่จำกัดอยู่แค่ภายในครอบครัวอีกต่อไป และยังมีพันธสัญญาที่จะต้องผลักดันบริษัทฯ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นที่พึงพอใจของผู้ถือหุ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 มกราคม 2550)
“ปริญสิริ”- “ธารารมณ์”ชูกลยุทธ์การเงินสู้ศึกครึ่งปีหลัง
ปริญสิริ ประกาศปรับแผนการตลาดรับมือการแข่งขันเดือด จับมือสถาบันการเงินผ่อนปรนเงื่อนไขการกู้ซื้อบ้าน หวังดันยอดขายครึ่งปีหลัง ตั้งเป้าโกยยอดขายปีนี้ 3,000 ล้านบาท ด้านธารารมณ์ฯขยายไลน์ทำโฮม ออฟฟิต เน้นกลุ่ม SME
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 กรกฎาคม 2549)
ปริญสิริฉวยนโยบายรัฐพลิกผัน ลุยซื้อที่ดินราคาถูกเข้าสต็อก
ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของนโยบายการลงทุนโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนของภาครัฐว่าจะยังยืนนโยบายเดิมที่วางไว้ตั้งแต่ก่อนการหาเสียงเลือกตั้ง หรือจะปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนหลังจากที่ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล หรือเฮียเพ้ง
ความสับสนวุ่นวายในช่วงนั้น ทำให้บรรยายกาศการลงทุนของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในช่วงนั้นเสียสูญทันที เพราะเริ่มไม่เชื่อมั่นในนโยบายการบริหารจัดการประเทศของรัฐบาลแล้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 ธันวาคม 2548)
ศุภาลัย/ปริญสิริเดินหาบริหารต้นทุน ลดความเสี่ยงรักษาผลกำไร
"ศุภาลัย"กระจายความเสี่ยงเลี่ยงเปิดขายทีละเฟส เลือกแบบบ้านให้ตรงกลุ่มลูกค้า ชูกลยุทธ์ราคาเป็นหัวหอกในการทำตลาด ปรับเป้ารายได้ปลายปีเพิ่มเป็น 7,000 ล้านบาท ด้าน "ปริญสิริ"บีบคอซัพพลายเออร์ล็อคราคาวัสดุนานกว่า 6 เดือน พร้อมเปิดโครงการใหม่อีก 3 แห่งภายในสิ้นปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2548)
ปริญสิริดึงยูนิเวนเจอร์ร่วมทุน เสริมความแข็งแกร่งทางการเงิน
"ปริญสิริ" ดึงรุ่นพี่ "ยูนิเวนเจอร์" ร่วมทุนป้องกันความเสี่ยง หนุนการเงิน-สร้างภาพลักษณ์เสริมศักยภาพองค์กร เพิ่มมูลค่าราคาหุ้นก่อนเข้าตลาด ด้าน "ยูนิเวนเจอร์" พร้อมกางแขนรับพันธมิตร หวังเพิ่มสัดส่วนรายได้อสังหาฯ กรุยทางย้ายหมวดซื้อขายเข้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 กรกฎาคม 2548)
ตรวจแนวรบจัดสรรยุคน้ำมันแพง หันระดมทุนดอกเบี้ยต่ำ
ในภาวะน้ำมันแพง วัสดุก่อสร้างตบเท้าขึ้นราคา ผู้ประกอบการบ้านจัดสรรจะทำอย่างไร? เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านี้ไปให้ได้
ลดต้นทุน -ระดมทุนดอกเบี้ยต่ำ เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด
ผู้ประกอบการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสจากต้นทุนพุ่ง ด้วยการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพในการก่อสร้าง ผลลัพธ์กำไรทะยาน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 กรกฎาคม 2548)